เมื่อไรจะหมดเวร หมดกรรม

พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงของธรรมชาติ
และก็ทรงรู้เรื่องกฎของธรรมชาติและก็กฎแห่งกรรม
.
ถ้าเราพัฒนาสติปัฏฐาน
จนเข้าถึงความละเอียดถึงขีดสุด
ในระดับที่สามารถเห็นเหตุ
ที่ทำให้อวิชชชาก่อกำเนิดขึ้นมาได้
ในระดับที่ความละเอียดเดียวกันนั้น
เราก็สามารถเห็นกระแสแห่งวิบากกรรมได้
.
กระแสแห่งวิบากกรรม
จะเป็นกระแสพลังงานที่อยู่ในมิติอวกาศ
.
พระพุทธเจ้าตรัสว่า
เจตนาเป็นตัวกรรม
จิตเกิดขึ้นแล้วดับลง
แต่สิ่งที่คงอยู่ก็คือ..
สิ่งที่เรียกว่าวิบากกรรม
.
บางครั้งเจตนาเป็นตัวกรรมเกิดขึ้นครั้งเดียว
แต่วิบากกรรมที่เกิดขึ้นกลับส่งผลสืบต่อยาวนานมาก
.
กระแสวิบากกรรมเหมือน DNA
ตราบใดที่เรายังวนเวียนอยู่ในวัฏสงสาร
สิ่งนี้จะให้ผลกับรูปนามขันธ์ 5 ของเราอยู่เสมอ
เพราะฉะนั้นคำกล่าวที่ว่า
.
"สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม"
"ร่างกายนี้คือกรรมเก่า"
คือสิ่งที่เราต้องเสวย
ซึ่งไม่ใช่ใครเลยที่สร้างขึ้น
ก็คือตัวของเรานี้เอง
.
พระพุทธเจ้าทรงรู้กลไกของธรรมชาติตรงนี้
ตราบใดที่เราอยู่ในวัฏสงสาร
วิบากกรรมต่างๆก็จะให้ผลสืบต่อมาอยู่ร่ำไป
.
มีเนื้อธรรมเดียวเท่านั้นที่วิบากกรรมให้ผลไม่ได้
นั่นคือเนื้อของธาตุที่บริสุทธิ์
ที่เรียกว่า #นิพพาน
.
เนื้อธรรมนี้..
รูปนามขันธ์ 5 ไม่สามารถก่อตัวขึ้นได้เลย
วิบากกรรมก็ไม่สามารถเข้าถึงได้
นั่นคือเนื้อสภาวธรรมที่บริสุทธิ์
ที่เรียกว่า ธรรมที่ลอยบุญลอยบาป พ้นดีพ้นชั่ว
.
การฝึกพัฒนาสติ
จนเข้าถึงสภาวะธรรมที่บริสุทธิ์
จะทำให้เราหลุดพ้นจากกระแสของวิบากกรรมได้
.
แต่ว่าตราบใดที่เรายังมีธาตุขันธ์อยู่
วิบากกรรมก็ยังให้ผลกับธาตุขันธ์
ที่เรียกว่าเศษกรรม
.
เมื่อใดที่เราดับวางขันธ์ไปแล้ว
เข้าถึงเนื้อธรรมสุดท้ายที่บริสุทธิ์
นั่นแหละถึงจะจบ
พ้นจากวงจรกรรมอย่างแท้จริง
.
ไม่อย่างนั้น..ตราบใดที่ยังเกิดต่อ
ก็จะสร้างกรรมขึ้นไปเรื่อยๆ
และวิบากกรรมไม่สูญสลายไปไหน
ค้างอยู่ในวัฏฏะ
เป็นระบบของธรรมชาติ
เป็นเรื่องของพลังงาน
.
ใครสนใจเรียนรู้ระดับตรงนี้ ต้องพัฒนาสติระดับสูง
อนาคตจะมีการจัดคลาสฝึกตามระดับของสติ
เรื่องที่พูดนี่สามารถเรียนรู้ได้จากภาคปฏิบัติจริง
แต่ว่าเราต้องพัฒนาสติได้มีความละเอียดพอ


-------------------------------

พระมหาวรพรต กิตฺติวโร

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้