สติ สมาธิระดับไหน
จึงเหมาะกับการดำรงชีวิตประจำวัน
ของฆราวาส
ความละเอียดตั้งแต่ซาบซ่าน เบา เฉย เป็นต้นไป
ควรจะฝึกในที่ส่วนตัว
เพราะว่าจักระจะเปิด อายตนะจะเปิด
จะไปรับอารมณ์ภายนอกได้
ควรจะฝึกในที่ส่วนตัว ไม่เหมาะฝึกในที่ชุมชน
เพราะว่าอารมณ์คนรอบข้างส่วนใหญ่
เขาก็จะคิดเรื่องที่มันเป็นกิเลสวุ่นวายใจ
.
ถ้าเราต้องการจะปิดจักระ
หรืออยู่ในที่ชุมชนก็ลดระดับลงมา
จนอยู่ที่ชั้น #ความรู้สึกตัว
ความรู้สึกตัวนี้จักระจะปิดทั้งหมด
เหมือนเราปิดบ้านไม่ไปรับรู้อารมณ์ภายนอก
เป็นสภาวะที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต
.
แต่ถ้าความรู้สึกตัวที่มีกำลังสูง
จิตมันก็จะไม่ค่อยคิดปรุงแต่ง
ถ้าเราต้องทำงานทำการพูดคุยสื่อสาร
ก็ลดระดับความรู้สึกตัวลดมาอีก
.
จนจิตไม่สอดส่ายแต่พอนึกคิดปรุงแต่งได้
นั่นคือระดับที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต
ในเวลาที่เราทำงานพูดคุยสื่อสารปรกติ
.
แต่ถ้าเราลดความรู้สึกตัวลงมาต่ำกว่านั้น
จิตก็จะเริ่มฟุ้งสอดส่ายไป
ถ้าความรู้สึกตัวอ่อนไป จิตไหลไปกับอารมณ์
ก็เพิ่มความรู้สึกตัวขึ้นมา
จนจิตเริ่มนิ่งแต่ยังนึกคิดปรุงแต่งได้
นั่นคือระดับที่เหมาะสมกับการทำงานทำการต่างๆ
.
แต่ถ้าความรู้สึกตัวเพิ่มขึ้นสูงขึ้นไป
จิตเริ่มนิ่งไม่ค่อยนึกคิดปรุงแต่ง
อันนี้จะไม่เหมาะกับการเวลาที่เราต้องพูดคุยสื่อสารละ
กำลังสติสูงไป เราทำงานทำการได้
แต่ว่าลักษณะงานที่ต้องพูดคุยสื่อสารจะเริ่มไม่ค่อยเหมาะ
ก็ลดระดับความรู้สึกตัวลงมา จนสามารถนึกคิดปรุงแต่งได้
นั่นคือระดับที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต
.
เพราะฉะนั้นประโยชน์ของการฝึก #วสี นี้
จะทำให้เราปรับระดับความละเอียดของสติ
ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตได้
แต่ถ้าความรู้สึกตัวอ่อนไป
จิตก็จะเริ่มไหลไปกับอารมณ์
ก็เพิ่มความรู้สึกตัวขึ้นมา
ในระดับที่นิ่งพูดคุยสื่อสารได้
แต่เวลาเราอยู่ในที่ส่วนตัว ก็เร่งกำลังขึ้นไปได้
ความรู้สึกตัวที่มีกำลังสูง
จนเกิดความซาบซ่านทั่วทั้งตัว
.
ถ้าต้องการเรื่องสุขภาพพลังชีวิต
ก็อยู่กับความซาบซ่านเป็นหลัก
ความซาบซ่านจะปรับความสมดุลพลังงานในร่างกาย
ถ้าเราหลับไปกับความซาบซ่าน
.
ช่วงเราพักผ่อนร่างกายมันจะฟื้นฟูซ่อมแซมตัวเองได้
ถ้าละเอียดกว่านั้นก็จะเข้าถึงความสุขเบาสบาย
ถ้าเข้าถึงความสุขมันก็จะยิ้มมีความสุข
ควรจะเหมาะในที่ส่วนตัว มันประณีตกว่าชั้นความรู้สึกตัว
.
เพราะฉะนั้นการปรับความละเอียด
ให้เหมาะสมก็จะทำให้
#โลกไม่ช้ำ #ธรรมไม่ขุ่น
ถ้าละเอียดกว่านั้นมันก็จะเข้าสู่ความเฉยตั้งมั่น
อารมณ์ของ #อุเบกขา ตามชื่อเลย มันก็จะเฉย
อุเบกขานี้มันเป็นอารมณ์ที่วิเวก
ถ้าอยู่กับความเฉยตั้งมั่นมากๆมันจะเริ่มขี้เกียจ
ไม่อยากทำอะไร
มันเป็นอารมณ์วิเวก ปลีกวิเวก เฉยตามชื่อเลย
.
เพราะฉะนั้นถ้ารู้สึกมันวิเวก มันนิ่ง มันขี้เกียจ
ก็ถอยกลับมาอยู่ที่ความสุขเบาสบาย
ถ้าอยู่กับความสุขเบาสบายมันจะร่าเริงเบิกบาน
ใครว่าก็ไม่โกรธ ยิ้มได้ ร่าเริงเบิกบาน
เพราะฉะนั้นความละเอียดของสติในแต่ละระดับ
มันก็จะมีอารมณ์แตกต่างกันไป
เราสามารถปรับได้ที่ความละเอียดของสติ
#เดินจิต
------------------------------------------
พระมหาวรพรต กิตฺติวโร