ปัญหาธรรมในการปฏิบัติ ตอบโดยพระมหาวรพรต กิตติวโร กดอ่านตรงเครื่องหมายบวก
*เดินจิต คือการเจริญสติเข้าถึงสภาวธรรมต่าง ๆ จนหลุดพ้นจากกองทุกข์
โดยเดินตามสติปัฏฐานสี่..ไล่ตั้งแต่ฐานกาย..ฐานเวทนา..ฐานจิต..ส่งเข้าสู่ฐานธรรม
เดินจิตคืออะไร ?
คำว่าเดินจิต ก็คือการเจริญสติ
จนเข้าสู่สภาวธรรมต่างๆ
จนหลุดออกจากทุกข์ทั้งปวงได้
.
.
วิธีของการเดินจิตมาจากพระไตรปิฎก
ก็คือเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอน
ลักษณะที่พระพุทธองค์ทรงสอน
จะเป็นเรื่องของการเดินสภาวธรรมต่างๆ
อย่างที่เรารู้จักพระสูตรหลักๆ
เช่น อานาปานสติ16ขั้น
ก็คือการเดินเข้าสู่สภาวธรรมต่างๆ 16 ระดับ
ที่เกิดขึ้นจนหลุดออกจากทุกข์ทั้งปวง
หรือแม้กระทั่งใน สติปัฏฐานสูตร
ก็เป็นบรรยายสภาวธรรม
หรือแม้กระทั่ง อริยมรรคมีองค์8
สัมมาสติระลึกรู้ที่ถูกต้อง เข้าสู่
สัมมาสมาธิความตั้งมั่นที่ถูกต้อง
สงัดจากกามและอกุศลธรรมเข้าถึงปฐมฌาน
สภาวะของปฐมฌานในพระพุทธศาสนา
ก็คือ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
.
.
ขณะที่เราทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อมได้
เราจะพบว่ากามและอกุศลธรรมไม่ก่อตัวขึ้น
เป็นสภาวะปกติ มีความตั้งมั่นที่ถูกต้องอยู่
และก็จะทรงตรัสต่อไปว่า
เมื่อวิตกวิจารระงับไป
เหลือแต่ปีติ สุข เอกัคคตา
เข้าถึงทุติยฌาน
เป็นฌานภายในที่ผ่องใส
มีธรรมอันเอกปรากฏขึ้น
นั่นคือ...
เมื่อเราทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อมได้ดี
จนเกิดความแผ่ซ่านทั่วทั้งตัว
ความแผ่ซ่านเป็นปีติที่เรียกว่า"ผรณาปีติ"
เกิดจากความรู้สึกทั่วกาย
ปีติจะทำให้รู้สึกได้ทั่วกาย
ส่วนความสุขเบาสบายเกิดจากใจ
จะมีปีติแผ่ซ่านด้วย มีความสุขเบาสบายด้วย
และธรรมอันเอกคือความตื่นรู้จะเริ่มปรากฏขึ้น
ก็จะไล่สเตปไปอย่างนี้
.
.
จากนั้น เข้าถึง"ตติยฌาน"
ก็ทรงตรัสไว้ว่า มีสุขด้วยนามกาย
เป็นฌานที่พระอริยเจ้าสรรเสริญว่า
เป็นผู้มีสติ สัมปชัญญะมีอุเบกขา
สภาวะของฌานที่สาม
เพียงแค่เราอยู่กับความรู้สึกตัวทั่วพร้อมไปเรื่อยๆ
พอสติมีความละเอียดพอ
จะเกิดความสุขเบาสบาย
แล้วก็จะโปร่งโล่งเบาสบายขึ้นเรื่อยๆ
ความคิดปรุงแต่งหายไป
ประดุจสมองหายไป
จะเหลือแต่ความสุขเบาสบายที่ประณีตขึ้นเรื่อยๆ
มีแต่ดื่มด่ำกับความสุขเบาสบาย
แล้วจะรู้สึกถึงนามกายที่มันใสโปร่งเบาอยู่ภายใน
นั่นคือสภาวะของฌานที่สาม
ซึ่งสภาวะตรงนี้สติ สัมปชัญญะ
จะมีกำลังที่สูงมาก
และถ้าเราสามารถเข้าถึงจิตในจิตระดับนี้ได้
เราจะเห็นการเกิดดับของจิตในทุกๆขณะจิตได้
สติระดับนี้มีความละเอียดพอ
ที่จะเห็นการเกิดดับของจิตในทุกๆขณะจิตได้
.
.
ธรรมดาจิตมีความเกิดดับที่รวดเร็วมาก
ไม่สามารถนับได้
แต่ถ้าเราพัฒนาสติได้มีความละเอียดพอ
เราสามารถรู้เท่าทันการทำงานในทุกๆขณะจิตได้
แล้วจะนำไปสู่เรื่องของ "จิตตานุปัสสนา"
รู้การทำงานของจิต ทั้งจิตตนและจิตท่าน
แล้วจะนำไปสู่เรื่องของ "วิชชาญาณ" ต่างๆ
เรื่องของรูปนามที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน
รูปนามใกล้ รูปนามไกล
รูปนามหยาบ รูปนามละเอียด
ก็สามารถรู้ได้...
.
.
อย่างที่ฝึก มีเด็กเล็กๆ
อายุเพียงแค่ 10 ขวบ มาฝึกด้วย
ด้วยความที่เป็นเด็ก ใจใส ฝึกง่าย
ก็ฝึกเข้าถึงสภาวะโปร่ง เบาสบายตรงนี้ได้ดี
สติมีความละเอียด
ฝึกไม่นานก็เข้าถึงสภาวะนี้ได้อย่างรวดเร็ว
เค้าสามารถเห็นการเกิดดับของจิต
ตรงนี้เป็นสิ่งที่เรียกว่า "ธรรมารมณ์"
มันจะผุดมาจากใต้ลิ้นปี่
ถ้าเราเคยเรียนมา ที่เรียกว่า "อภิธรรม"
ที่เรียกว่าจิตเกิดที่หทัยวัตถุ
จริงๆ มันเป็นกระแสธรรมารมณ์
ที่ผุดจากใต้ลิ้นปี่ขึ้นมา
ถ้าสภาวะเรา...
สติมีความโปร่ง โล่ง เบาสบายได้ดี
เราจะเห็นถึงกระแสตรงนี้ ที่มันผุดออกมาได้
มันจะเป็นกระแสพลังงานที่มันผุดขึ้นมาๆๆ
ในทุกๆ ขณะจิตที่เกิดขึ้นมา
.
.
ความโลภ ความโกรธ ความหลง
กิเลสต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นมา
จะผุดมาจากตรงนี้ทั้งสิ้น
ถ้าใครเริ่มปฏิบัติเริ่มละเอียดขึ้น
จะรู้สึกถึงกระแสการทำงานตรงนี้ได้
และตรงนี้มันสามารถในเรื่องของการเรียนรู้
ธาตุขันธ์ต่างๆ ได้ด้วย
อย่างที่สอนเด็กคนนี้ไป ก็คือ
ให้เค้านำไปใช้ในการเรียน
เพราะว่า ฝึกมันสามารถดึงขันธ์ที่เป็นอดีต
อนาคต ปัจจุบันมาได้
เค้าก็นำไปใช้ในการสอบจริง
เวลาเค้าไปสอบจริง เค้าลืมข้อสอบ
เค้าลืมสูตร วิชาคณิตศาสตร์ที่เค้าเรียนมา
แล้วเค้าจำไม่ได้
เค้าก็อยู่ในระดับตรงนี้
เค้าสามารถเรียกขันธ์ที่เป็นอดีต
สัญญาความจำอันนั้นกลับมาใหม่ได้
ทำให้เค้าสอบได้
เพราะฉะนั้นการพัฒนาสติ
เป็นประโยชน์เกื้อกูลกับชีวิตเราในทุกๆเรื่องได้เลย
.
.
ตรงนี้ที่พระพุทธเจ้าตรัสถึง
รูปนามใกล้ รูปนามไกล
รูปนามหยาบ รูปนามละเอียด
รูปนามอดีต รูปนามอนาคต
รูปนามปัจจุบัน
มันสามารถเรียนรู้ได้ทั้งหมด
ผู้ที่พัฒนาสติเข้าถึงความละเอียดระดับนี้
นอกจากจะมีความสุขที่ประณีตมากๆ แล้ว
ก็จะมีขีดความสามารถพิเศษต่างๆ
ในการรับรู้จิตตน
รับรู้จิตผู้อื่น
รับรู้กระแสพลังงานต่างๆ
.
.
มันจะเป็นสิ่งที่ดีไหม?
ถ้าเราสามารถรับรู้กระแสคนได้ว่า
คนนี้เราควรยุ่ง หรือ ควรไม่ยุ่ง
อย่างบางทีเราดูหน้า เราไม่รู้ใจ
ว่าเค้าคิดดี หรือคิดไม่ดีกับเรา
แต่กระแสมันจะฟ้องเลย
กระแสจิตมันจะเป็นคลื่นพลังงาน
ที่ส่งออกมาก่อนเลย
เราจะรู้ได้เลยว่า...
คนนี้เราควรยุ่ง หรือ เราไม่ควรยุ่ง
หรือ เราควรให้ความไว้วางใจอย่างไรบ้าง
.
.
เพราะฉะนั้น "สติ" มันเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง
แล้วมันทำให้เราไปพัฒนาชีวิตเราได้เยอะมาก
ในทุกๆเรื่อง
สติระดับนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่เกินวิสัย
เพียงแค่โยมทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อมไปเรื่อยๆ
จะสามารถเข้าถึงสภาวะโปร่ง เบาสบายได้
ในเวลาไม่นาน...
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
เคยสงสัยไหมว่าทำไม เราต้องรู้สึกตัว ?
.
ที่พวกเราทุกวันนี้ต้องเจอความเครียด ความทุกข์
ความกังวลต่าง ๆ ก็มาจากความคิดปรุงแต่งขึ้นมา
.
การที่เราจะออกจากสิ่งเหล่านี้ได้
ก็ด้วยความมีสติ ด้วยความรู้สึกตัว
เบื้องต้นเราก็ควรที่จะรู้จัก
สัมมาสติ การระลึกรู้ที่ถูกต้อง
สัมปชัญญะ ความรู้สึกตัวขึ้นมา
.
ความรู้สึกตัวก็คือ
ความรู้สึกของร่างกาย
ปรกติความรู้สึกตัวมันมีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ
แต่เวลาเราเพลินอยู่กับความคิด
อยู่กับอารมณ์ต่าง ๆ ความรู้สึกตัวก็หายไป
.
แต่เมื่อใดที่รู้สึกตัวขึ้นมา
ความเพลินในอารมณ์ก็ถูกละออกไป
มันเป็นคู่ปรับกันแบบนี้นะ
.
เมื่อใดที่เราอยู่กับความรู้สึกตัว
จิตที่ไหลไปกับความคิดจะถูก ละออกไป
ผลที่ตามมาก็คือเกิดสัมมาสติ การระลึกรู้ที่ถูกต้อง
สภาวะรู้ จะถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมา
.
สภาวะรู้นี่แหละ ที่ทรงเรียกว่า ธรรมอันเอก
เป็นทางสายเดียวที่จะหลุดออกจากทุกข์ได้
.
เพราะฉะนั้นเราลองขยับมือดู มีความรู้สึกไหม ?
ขณะที่รู้สึก สังเกตไหมมันหลุดจากความคิด
ถ้าเราไม่รู้สึกตัว เราก็จะไหลไปกับความคิด
แต่พอเรารู้สึกตัวขึ้นมา มันจะหลุดจากความคิดขึ้นมา
.
ลองขยับ 2 มือ รู้สึกได้ไหม ?
ความรู้สึกตัวนี้มันมีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ
เป็นสิ่งที่เรียบง่าย แต่ทรงพลังมาก
ความรู้สึกตัวสามารถทำให้เราหลุดจากความทุกข์
ความเร่าร้อนต่าง ๆ ได้
ความรู้สึกตัวสามารถทำให้เร าเข้าถึงความสุข
ที่แท้จริงของชีวิตได้
เดินจิต
-------------------------- ----------------
พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
สำหรับคนใหม่ ก็ทำแบบสบาย ๆ ไว้
ความสบาย ๆ จะทำให้จิตตั้งมั่นได้ดี
ทำให้สบาย ผ่อนคลาย
นั่งก็สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ทำอะไรก็ให้สบายตัว
ผ่อนคลาย คือการปล่อยวาง
เกิดความรู้สึกตัวขึ้นมาได้เองโดยธรรมชาติ
จริงแล้วความรู้สึกตัว มันมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ
แต่เพราะว่า เราอยู่กับโลกของความคิดปรุงแต่ง
เรียกว่าจิตส่งออก ไปอยู่กับอารมณ์
ความรู้สึกตัวมันจึงหายไป
.
ถ้าเราสามารถที่จะปล่อยวาง เรื่องราวต่าง ๆ ภายนอก
ปล่อยวางความคิดกังวลต่าง ๆ ออกไป
วางเรื่องราวต่าง ๆ ภายนอกทางโลกออกไป
ก็จะเกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมขึ้นมาได้เอง
ลองนั่งสบาย ๆ แต่รู้สึกว่า มั่นคงดู
ถ้ามันลงล็อคเมื่อไร มันจะเกิดสภาวะ
ที่เรียกว่ารู้สึกทั้งตัวขึ้นมาได้เอง
มันเป็นธรรมชาติของจิตทุกดวง
.
เพราะฉะนั้น สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ความตั้งมั่นที่ถูกต้อง เกิดจากการปล่อยวาง
ไม่ได้เกิดจากการเพ่งจ้อง จดจ่อ
อาการที่เรียกว่า เพ่งจ้อง จดจ่อ
มันจะบังสภาวธรรมตามความเป็นจริง
แต่ถ้าเราวางเป็น ผ่อนคลายเป็น
จะเกิดความรู้สึกทั้งตัวขึ้นมาเลย
โดย..พระมหาวรพรต กิตติวโร
สัมมาสติ ดำรงสติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้าเป็นอย่างไร ใครรู้บ้าง
ดำรงสติมั่นแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันอีกใช่ไหม เป็นสิ่งที่ยากอยู่
ถ้าเราจะเริ่มต้นให้ถูกต้อง
แต่ลักษณะสำหรับคนที่ทำถูกต้อง สิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร
จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
.
ในสติปัฏฐานที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
มีความเพียร มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีสติ ละความพอใจไม่พอใจในโลก ตรงนี้คือวิธีการปฏิบัติ
.
ตรงนี้ถ้าที่หลวงพ่อ(สุรศักดิ์ เขมรังสี)สอน หลายท่านเป็นศิษย์วัดมเหยงคณ์
หลวงพ่อก็จะสอนว่า หยุดใจไว้นิ่ง ๆ ไม่วิ่งไปจับอารมณ์
หยุดใจไว้นิ่งๆ รู้ทุกสิ่ง เป็นเช่นนั้นเอง
สภาวะคือ สภาวะของการดำรงสติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า
จิตมันจะหยุดนิ่งตั้งมั่นอยู่ ไม่เกิดกระแสที่เรียกว่าวิ่งไปจับอารมณ์
ไม่เกิดอาการที่เรียกว่า ตามดู ตามรู้
จิตนิ่งตั้งมั่นอยู่แต่รู้สภาวธรรมตามความเป็นจริง
จะต่างจากการที่เราไปเพ่งที่จุดใดจุดหนึ่ง
.
ถ้าเราไปเพ่งที่จุดใดจุดหนึ่ง มันนิ่งแต่ไม่รู้ตามความเป็นจริง ไม่รู้ตัวทั่วพร้อม
แต่ถ้าเราหยุดใจโดยไม่ต้องไปเพ่งได้ เรียกว่าวางเป็น
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ จะเกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมขึ้นมา
ถ้าเราวางเป็น ดำรงสติมั่นเป็น ลมหายใจก็จะรู้สึกขึ้นมาได้เอง
ไม่ว่าจะเป็นหายใจเข้า หายใจออก เข้ายาวออกยาว เข้าสั้นออกสั้น
ลมหยาบ ลมละเอียด จะรู้สึกขึ้นมาได้เอง
และก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่ารู้กายทั้งกาย รู้ตัวขึ้นมาได้เอง
เมื่อละเอียดขึ้น ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า รู้ตัวทั่วพร้อมขึ้นมาได้เอง
รู้สึกทั้งตัวรู้พร้อมทั้งกาย ทั้งใจขึ้นมาได้เอง
จากการตั้งกายตรงดำรงสติมั่น
คำนี้คำเดียวนี่รวมการปฏิบัติทั้งหมดในพุทธศาสนาเลย
..............................................
พระมหาวรพรต กิตติวโร
ในสภาวะจิตตั้งมั่น...
มันจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนนะ
ก็คือสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า “จิต หรือวิญญาณขันธ์”
ที่มันเกิดจากอวิชชา กับอีกธรรมชาติหนึ่ง
ก็คือธรรมชาติรู้ที่เป็นอมตธรรม
.
ทุกคนจะมีสองส่วนของธรรมชาตินี้
ก็คือส่วนหนึ่งที่เป็นสังขตธรรม
ที่เป็นกระแสของปฏิจจสมุปบาท
กับอีกส่วนหนึ่งที่เป็นเรื่องของอมตธรรม
เป็นธาตุรู้ที่บริสุทธิ์ ที่ถูกอวิชชาห่อหุ้มอยู่
การเจริญสติปัฏฐาน...
ก็เพื่อปลุกภาวะตรงนี้ให้ตื่นขึ้นมา
จนสภาวะรู้มีกำลังเหนือจิต
ก็จะสามารถเกิดสิ่งที่ว่า"เปลื้องจิต" ออกไป
อาการที่มันยึดติดกันอยู่เนี่ย
มันเป็นแหล่งตัณหาอุปทาน
เมื่อสภาวะรู้มีกำลังพอ
จิตก็ถูกเปลื้องออกไป
จะกลายเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้ขึ้นมา
ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า “ญาณเห็นจิต”
คือการรู้เห็นตามความเป็นจริง
และเมื่อใดที่หลุดจากการยึดมั่น
จิตอวิชชาตรงนี้มันสลายตัวไป
หยั่งเข้าสู่อมตธรรม
มีสิ่งเดียวเท่านั้นที่เข้าถึงอมตธรรมตรงนี้ได้
ก็คืออมตธรรม ก็คือธาตุรู้ที่บริสุทธิ์
ในเนื้อธรรมสุดท้ายที่เรียกว่า"นิพพานธาตุ
“สุญญตา” ว่างจากตัวตนจากการยึดมั่นถือมั่น
.
สภาวะสุญญตาไม่ใช่ว่า
เข้าถึงความว่างแล้วไม่รู้อะไรเลย...ไม่ใช่
สามารถรู้ได้ทั้งสองฝั่งเลย
ภายนอกก็รับรู้ สังขตธรรมสิ่งที่ปรุงแต่งได้ปกติ
แต่ภายในเข้าถึงความบริสุทธิ์เป็นวิสังขาร
แม้กระทั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงตรัสไว้ว่า...
“ในขณะที่พระองค์ทรงแสดงธรรม
ภายนอกพระองค์ก็แสดงธรรมไป
แต่พระองค์อยู่ด้วยสุญญตาวิหาร”
ข้างในนี่เข้าถึงนิพพานเลย ความบริสุทธิ์เลย
ถามว่าทำได้อย่างไร?
ต้องพิสูจน์ด้วยตัวเอง
ข้างในมันเข้าถึงวิสังขารที่มันไม่ปรุงแต่ง
แต่ข้างนอกก็พูดคุยได้ปกติ
ทำได้อย่างไร? ถ้าเราคิด...
ไม่มีทางเข้าใจหรอก มันเป็นเรื่องอจินไตยละ
แล้วสำหรับคนที่ยังปฏิบัติไม่ถึง
คิดไปก็ฟุ้งเปล่าๆ
พิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติ
โดยเฉพาะเวลานำฝึกเนี่ย
โยมจะเข้าถึงสภาวะตรงนี้โดยธรรมชาติเลย
ข้างนอกก็พูดคุยได้ปกติ
แต่ข้างในมันว่างไม่มีอะไรเลย
เข้าถึงความสงบของธรรมชาติ
พิสูจน์ด้วยตัวเองเลย
แล้วพอเห็นทั้งสองฝั่ง
โยมจะรู้ได้ตัวเองเลยว่าฝั่งไหนมันสบายกว่ากัน
ฝั่งที่ปรุง หรือไม่ปรุง?
ไม่ปรุงสบายกว่า...
ต่อให้สิ่งที่ปรุงแต่งมันจะละเอียดแค่ไหน
มันก็เทียบกับของจริงที่มันไม่ปรุงแต่ง
เนื้อแท้ของธรรมชาติคือ
พ้นจากการปรุงแต่งทั้งหมด
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
ทรงฌาน 4 สามารถใช้ชีวิตปรกติได้ไหม?
ถ้าเป็นสัมมาสมาธิทำได้...
ข้างในมันจะนิ่งสงบมาก
แต่ข้างนอกก็สามารถรับรู้สภาวะได้ปรกติ
อันนี้คือคุณสมบัติของ "มหาสติ"
หรือว่า วิชา"สติปัฏฐาน"
ข้างในมีความนิ่ง ตั้งมั่นมาก
จริงๆถ้ามีความชำนาญนะโยม
จริงๆแล้วสภาวะแต่ละสภาวะ มันเป็นมิติ
โยมสามารถเข้าออกมิติได้เลย
มิติของปีติ ~ มิติของสุข ~ มิติของอุเบกขา
มันเร็วยิ่งกว่าช่วงลัดนิ้วมือ..
ปุ๊บ! เข้าได้เลย ความนิ่งสงบ
และในความนิ่งสงบก็จะมีความละเอียดของมัน
ไม่ใช่ว่าเราเข้าเฉยปุ๊บ! มันจะเป็นฌาน 4 นะโยม
มันจะมีความเฉยที่มีกำลังขึ้น กำลังขึ้นเรื่อยๆ
จนทรงตัวเต็มกำลัง ถึงจะเป็นฌาน 4
ในความสุขก็จะมี...
อย่างหยาบ อย่างกลาง แล้วก็ละเอียด
ในอุเบกขาก็เช่นกัน
เพราะฉะนั้นเมื่อมีความชำนาญปุ๊บ เวลาเข้าปุ๊บ
เวลาที่พาปฏิบัติ คือการพาเข้ามิติๆๆๆ
สำหรับคนที่ละเอียดเนี่ย...
พาเดินสภาวะสมาบัติ 8ได้เลย เข้ามิติปุ๊บๆ
อากาสานัญจา ~ วิญญาณัญจา ~ อากิญจัญญา
เดินเข้า เดินออก ได้เลย
.
ทดลองดูนะ...
อยู่ที่ฐานกาย รู้กายที่นั่งอยู่
เข้าสู่ฐานเวทนา รู้สึกตัวทั่วพร้อม
เพิ่มความรู้สึกตัวจนเต็มกำลัง
จนเกิดความแผ่ซ่านทั่วทั้งตัว
เพิ่มความแผ่ซ่านจนเต็มกำลัง
เข้าสู่ความเบาสบาย...
เพิ่มความเบาสบายจนเต็มกำลัง
เข้าสู่ความสงบตั้งมั่น
เพิ่มความสงบตั้งมั่นจนเต็มกำลัง
อุเบกขาจะนิ่งสงบ...
ถอยกลับมาสู่ที่มิติเบาสบาย
โล่ง โปร่ง เบา สบาย
ถอยกลับมาที่ซาบซ่านทั่วทั้งตัว
ถอยกลับมาที่รู้สึกตัวทั่วพร้อม
ถอยกลับมาที่ฐานกาย
รู้สึกได้ไหม? ถ้ากำลังดีๆ จะตามได้
พอชำนาญเข้าปุ๊บ! เข้าอุเบกขาปุ๊บ
รู้สึกสงบตั้งมั่น มันเข้าได้เลย
ถ้าชำนาญเนี่ยมันเข้าออกได้เลย
.
ก่อนที่โยมจะไปอรูปเนี่ย...
รูปฌานต้องคล่องก่อน อย่างนี้เป็นต้น
.
เพราะฉะนั้น... มันจะมีเรื่องของสิ่งที่เรียกว่า
กีฬาสมาธิ ความชำนาญ
เหมือนโยมมีรถแรงและเร็ว
ถ้าโยมขับไม่ชำนาญเป็นไง?
เกิดอุบัติเหตุ เสียของ
ในบรรดาคนที่ฝึกสติปัฏฐาน
จนเกิดสัมมาสมาธิสติตั้งมั่น
ส่วนใหญ่แล้วก็จะตกเป็นทาสของสมาธิ
คนที่ไม่ได้ฝึก ตกเป็นทาสของนิวรณ์
แต่คนที่มีสมาธิ กลับตกเป็นทาสของสมาธิ
มันก็ยังเป็นธาตุทั้งคู่เลย
แต่ถ้าเราฝึกความชำนาญปุ๊บ เราเป็นนายสมาธิ คนปรกติ... ถูกความคิดใช้
คนที่มีสมาธิ... ถูกสมาธิใช้
ควบคุมมันไม่ได้
แต่ถ้าเราฝึกปุ๊บ! เราปรับวิหารธรรมได้ดั่งใจ
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ...
โลกไม่ช้ำ ธรรมไม่ขุ่น ใช้ชีวิตได้ปกติเลย
มันจะสามารถ...
ภายนอกเราก็ใช้ชีวิตได้ปรกติ
แต่ข้างในเราสามารถพัฒนาการปฏิบัติ
ให้มีความลึกซึ้งขึ้นไปได้โดยลำดับ
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
พระพุทธองค์ก็ตรัสถึง..จิตที่ฝึกดีแล้ว
แล้วก็ จิต ที่เรียกว่าจิตอ่อน
ควรแก่การงาน เป็นเช่นไร ?
ก็ทรงตรัสว่า...
สงัดจากกาม และบาปอกุศลธรรม
เข้าถึง...
ปฐมฌาน~ทุติยฌาน~ตติยฌาน~จตุตถฌาน
"สติ" เป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่ ได้ชื่อว่าเป็นสภาวะ
ที่จิตอ่อน ควรแก่การงาน
ทั้งในด้านของการน้อมไปเพื่อญาณต่างๆ
แล้วก็วิธีที่จะเข้าสู่วิปัสสนาญาณ
ก็คือสภาวะที่จิตตั้งมั่น
ปกติจิตที่ยังไม่ได้รับการฝึกฝน
ก็จะหลงเพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์ต่างๆ
การที่เราจะละความเพลิดเพลินในอารมณ์
ที่เรียกว่าละ "นันทิ"
ก็ต้องอาศัยการอบรมสติปัฏฐาน 4
รู้เนื้อรู้ตัวขึ้นมา... โดยเฉพาะฐานกายเนี่ย
ทำให้มากเจริญให้มาก รู้สึกตัวเนืองๆ
พอเราฝึกทำความรู้สึกตัวอยู่เสมอ
ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งหลับไป
ก็หมั่นรู้เนื้อรู้ตัวขึ้นมา
สติก็จะมีกำลังขึ้น
เมื่อสติมีกำลังขึ้น ก็สงัดจากกามและอกุศลธรรม
จิตไม่ส่งออก เกิดความตั้งมั่นขึ้นมา
เมื่อดำรงอยู่ในสภาวะที่สติตั้งมั่นเนี่ย
สติก็จะมีความละเอียดขึ้นไป
เกิดปิติ เกิดสุข เบาสบาย เกิดอุเบกขา
ความเฉย สงบตั้งมั่นอยู่
พอฝึกไปมากๆ...
ความสงบตั้งมั่นก็จะมีกำลังขึ้นไปเรื่อยๆ
จนรู้สึกถึงความสงบตั้งมั่นอยู่ภายใน
ตื่นรู้อยู่ภายใน
ตรงนี้ สภาวะนี้ ทรงเรียกว่า...
จิตอ่อน ควรแก่การงาน
คือพร้อมที่จะใช้งานทั้งในเรื่องของการฝึก
ความเป็นทิพย์ต่างๆ แล้วก็เพื่อการเปลื้องจิต
คือยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาญาน
เพื่อทำ "อาสวักขยญาณ" ให้เกิดขึ้นได้
สภาวะจิตตั้งมั่น...
จิตตั้งมั่น ไม่มีอะไรมาก
แค่สภาวะที่ใจมันนิ่งอยู่ รู้อยู่
แยกออกมั๊ยเวลาปกติที่ใจมันไม่นิ่ง
ใจมันสอดส่าย...
กับใจที่มันนิ่ง
"ใจที่มันนิ่ง"
คือสภาวะที่จิตตั้งมั่น เป็นจิตที่ฝึกดีแล้ว
แล้วก็เป็นสภาวะที่ควรแก่การงาน
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
ช่วงนั่งสมาธิ รู้สึกเหมือนเราหายไปช่วงหน ึ่ง
แล้วเราจะทำอย่างไรให้กลับม าฐานกาย ?
ช่วงที่หายไป
มันยังมีความรู้สึกอยู่ไหม
เช่น ยังมีความรู้สึกเบา รู้สึกโล่ง รู้สึกสงบ
ถ้ายังมีความรู้สึกอยู่
คือ เรายังมีสติอยู่
เพียงแต่ว่า มันวางฐานกาย
ไปสัมผัสสภาวะที่ประณีตกว่า
ฐานกาย เป็นของหยาบ เป็นเบสิค
แต่พอเราปฏิบัติไป มันวางฐานกาย
ไปสัมผัสสภาวะที่ประณีตกว่า
รู้สึกเบา
รู้สึกโล่ง
รู้สึกสงบ
รู้สึกนิ่ง
อันนี้เป็น สภาวะที่ประณีต
ถ้าเรายังมีความรู้สึกอยู่
แสดงว่าเรายังมีสติอยู่
แต่ถ้าไม่มีความรู้สึก มันตัดไปเลย
ไม่รู้สึกอะไรเลย
อันนี้... มันหลับ ขาดสติ
แต่ถ้ามีความรู้สึก โยมยังมีสติอยู่
หลักสำคัญ คือ รับรู้สิ่งที่ปรากฎ
ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกเบา
ความรู้สึกสงบ
ความรู้สึกว่าง
ความรู้สึกนิ่ง ก็ตาม
พวกนี้ ก็เป็นสภาวธรรมทั้งนั้น
รับรู้สภาวธรรมที่ปรากฏ
อันนั้น คือ ปัจจุบันธรรม
รู้ธรรมเฉพาะหน้า
โดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
ธรรมะบรรยายประกอบเสริม
จิตว่างจากตัวตน
คนที่วางเป็นไม่ใช่ไม่ทำอะไ รเลย
ใช้ชีวิตได้ตามปกติ ตามหน้าที่
ด้วยความไม่ยึดติด ไม่เหนื่อย ไม่ท้อ
เพราะไร้ในท่ามกลาง
เมื่อ"วางเป็น" ก็อยู่เย็นเป็นสุข
ทีนี้เราอยู่ที่ไหน เราก็มีชีวิตที่มีความสุข
เพราะเราวางเป็น !
คนที่เขาวางเป็น
ไม่ใช่เขาไม่ทำอะไรเลย
อันนั้น เรียกว่า ปล่อยปละละเลย
ไม่ใช่เขาทิ้งโลก
ไม่ใช่ว่าเขาทอดธุระ
เขาใช้ชีวิตได้ตามปกติ
ตามภาระหน้าที่ แต่วางที่ใจ !!
คนที่ใจวางได้
กลับมีพลังที่จะต่อสู้กับชี วิตมากกว่าเดิม
เพราะทำด้วยความไม่ยึดติด
ไม่รู้สึกเหนื่อย ไม่รู้สึกท้อ
ตราบใดที่ยังมีหน้าที่ มีร่างกายอยู่
ก็ทำไปตามสมควร
แต่ใจ จะเรียกว่า "ไร้ในท่ามกลาง"
คือไร้ตัวตนเลย จิตว่างจากตัวตน
ภายนอกจะวุ่นวายอย่างไรก็วุ ่นไป
ข้างในไม่วุ่นด้วย !
จะเป็นแค่ตื่นรู้ ไม่อะไรกับอะไรเลย
นั่นแหละ สภาวะของการปฏิบัติธรรม
แล้วเราก็สามารถใช้ชีวิตได้ เป็นปกติ
แต่ทำโดยไม่ยึดติด ทำได้เป็นปกติ
ทำด้วยใจที่ปล่อยที่วาง
ในทางกลับกันคนที่เขาแบกไว้
วางไม่เป็น!
แบกไว้ ไม่ใช่ว่าจะแก้ปัญหาได้นะ
กลับทุกข์หนักเข้าไปอีก
เพราะแบกทั้งหมด อดีต อนาคต ปัจจุบัน
เดี๋ยวก็คิดก็วนไปเรื่อยไม่ จบ
บางทีผ่านมาแล้วตั้งนานก็เก ็บมาคิดอยู่นั่น
บางทีเรื่องยังไม่มาก็คิดกั งวลไปก่อน
แบกทุกสิ่งทุกอย่าง
เพราะฉะนั้น ถ้าวางไม่เป็นอยู่ที่ไหนก็ท ุกข์
ทุกข์เพราะการแบก ถ้าวางได้ก็หลุด
#เดินจิต #จิตว่าง #สุญญตา
-------------------------- -----
พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
ปกติธรรมชาติของจิต...
ที่ยังไม่ได้รับการฝึกฝน ก็จะเป็นจิตที่ส่งออก
ต่างคนต่างส่ง ต่างคนต่างปรุง
แต่พอเราฝึกฝนจนมีสติตั้งมั่นขึ้นมา
อายตนะมันจะเปิดออก
การรับรู้มันกว้างขึ้นมา
โดยเฉพาะคนที่รับรู้ถึงบรรยากาศกว้างๆออกไปมันเบาสบาย มันโล่ง มันโปร่ง
ตรงนี้อายตนะมันจะเปิดออก
ผลที่ตามมามันเป็นไงรู้มั๊ย?
มันก็ไปรับอารมณ์คนอื่นขึ้นมา
เวลาข่ายญาณมันกางออก
มันเหมือนเรดาร์เลยโยม
ถ้าโยมไปอยู่ใกล้คนที่เป็นโรคซึมเศร้า
โยมจะไปรับกระแสพลังงานซึมเศร้ามา
โยมจะเศร้าซะเอง
ถ้าโยมไปอยู่ใกล้คนที่กำลังโกรธ
อารมณ์โกรธมันจะผุดขึ้นมาเอง
โยมไปรับอารมณ์โกรธเข้ามา เริ่มอยู่ยากไหม? อันนี้แหละคือเหตุผลว่า...
ทำไมพอปฏิบัติได้ดี ทำไมถึงไม่ชอบอยู่กับผู้คน
แล้วคิดดูสิ วันๆคนมันคิดเรื่องอะไรกัน?
มันมีแต่อารมณ์ที่วุ่นวายใจ
เพราะฉะนั้น...
คนที่ปฏิบัติจนจิตเริ่มละเอียดเนี่ย
จะไม่ค่อยชอบอยู่กับผู้คน
มันไปรับกระแส รับอารมณ์ได้ง่าย
บางทีก็ไปรับกระแสพลังงานที่ไม่ดีบ้าง
เหมือนคอมพิวเตอร์ที่มันติดไวรัส
เครื่องรวนไหม?... รวน
บางทีเอาออกไม่เป็น ทีนี้ก็รวนไปหลายวันเลย
ผลที่ตามมาคือ เป็นคนชอบเก็บตัว
เนี่ยโลกกับธรรมไม่บาลานซ์ละ
หรือเวลามันโล่งมากๆ มันสบายดี
แต่มันไม่ค่อยคิดไม่ค่อยปรุงแต่ง
แล้วเวลาโยมต้องคิดงาน ทำงาน ทำไงน่ะ?
เริ่มเป็นอุปสรรคมั๊ย?... อุปสรรค
มันเป็นทางสองแพร่งละ
เอ๊ะ.. จะเอาดียังไงแน่? ถ้าจะใช้ชีวิตได้ปกติ
ก็จะไม่พัฒนาให้สูงขึ้นไปกว่านั้น
แต่ถ้าจะพัฒนาให้สูงขึ้นไป
ก็จะเริ่มไม่บาลานซ์ทางโลกได้
แล้วจะบาลานซ์กันได้อย่างไร?
จะดีกว่าไหม?... ถ้าเราจะใช้ชีวิตได้ตามปกติ
โลกไม่ช้ำธรรมไม่ขุ่น มันฝึกได้โยม...
“วสี” คือคำตอบ ความชำนาญในสมาธิ
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
พระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสไว้ว่า...
“บุคคลสามารถเจริญสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ได้
ถ้าเขา ละ ธรรม 6 ประการ”
ถ้าโยมละธรรม 6 ประการนี้ได้
โยมสามารถเจริญสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ได้
ธรรม 6 ประการอะไรบ้าง?
1) ละความเป็นผู้ยินดีในกิจการงานก่อสร้าง
กิจธุระมาก ก็ตั้งสติได้ยาก ถ้าเราสามารถลดละ
กิจธุระต่างๆให้เบาบางลง
มันจะทำให้เราเจริญสติได้ง่ายขึ้น
2) ละการเห็นแก่การนอนหลับมาก
ถ้านอนมากมันก็เผลอหลับใหล
ก็หลับพักผ่อนแต่พอดี
3) ละการเป็นผู้พูดคุยมาก
สังเกตถ้าเราพูดคุยมาก มันจะตั้งสติได้ยาก
ถ้าลดการพูดคุยลง
ก็จะช่วยให้เราเจริญสติได้ง่ายขึ้น
4) ละการเป็นผู้คลุกคลีด้วยหมู่คณะ
เวลาเราไปคลุกคลีเพื่อนฝูง เฮฮาปาร์ตี้ สังคมมาก มันก็จะเผลอได้ง่าย ตั้งสติได้ยาก
ถ้าลดการคลุกคลีด้วยหมู่คณะลง
ก็จะทำให้เจริญสติได้ง่ายขึ้น
5) ละความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในการบริโภค
สังเกตถ้าทานมากจะง่วง มึนซึม
ทานแต่พอดี ก็จะทำให้เราเจริญสติได้ง่ายขึ้น
6) ละความเป็นผู้ไม่สำรวมอินทรีย์
เราใช้เวลาไปกับการดูหนัง ฟังเพลง
เพลิดเพลินอยู่กับการละเล่นต่างๆ
มันก็จะทำให้เผลอได้ง่าย ตั้งสติได้ยาก
ถ้าเราค่อยๆลด ละ สิ่งเหล่านี้
มันจะทำให้เราตั้งสติได้ง่าย
.
จำได้ไหม.?
ถ้ากิจธุระน้อยลง พูดคุยน้อยลง
คลุกคลีด้วยหมู่คณะน้อยลง
พักผ่อนแต่พอดี บริโภคแต่พอดี
แล้วก็รู้จักในการสำรวมกาย วาจา ใจ
ถ้าทำสิ่งนี้ได้ดีขึ้น...
จะเห็นพัฒนาการของการเจริญสติได้ดีขึ้น
จะทำได้ง่ายขึ้น
เปรียบเหมือน... น้ำที่ถูกคลื่นพัดแรง
อยู่ๆเราเอาไม้ไปปัก... เป็นไง?
มันตั้งได้ยาก มันก็จะไหลไปง่ายๆ
แต่ถ้าเราเริ่มจากที่น้ำนิ่งๆก่อน
ไม่มีคลื่น ไม่มีลมแรงพัด... เป็นไง?
ตั้งสติได้ง่าย มันก็ปักได้ง่าย
ค่อยๆฝึก...
การสำรวมจะช่วยได้มากนะ
ถ้าเราอยากจะพัฒนาสติได้ดี
การสำรวมอินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
จะทำให้เราพัฒนาสติได้ดีขึ้น
กิจภาระต่างๆก็ทำไป
แต่ถ้าค่อยๆลดละ สิ่งที่มันไม่จำเป็น
ออกไปจากชีวิตของเรา
สิ่งที่มันทำให้เกาะเกี่ยว ให้วุ่นวายต่างๆ
ค่อยๆลด ละ เลิกออกไป แล้วเราจะพบว่า
การปลดวางภาระของหนัก
มันทำให้เราสบายใจขึ้นเยอะ
ความวุ่นวายใจ ความเร่าร้อน
มันจะหายไปจากชีวิตของเรามาก
แล้วเราจะเริ่มมีชีวิตที่มันร่มเย็น
จริงๆแล้วคนเราเนี่ย...
ไม่ได้ต้องการอะไรมากหรอก
มีอาหารรับประทาน มีการพักผ่อน มีปัจจัย 4
ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค
แต่ที่เราต้องดิ้นรนทุกอย่าง... เพราะอะไร ?
ความทะยานอยากต่างๆที่มันชักนำเราไป
ให้หลงติด หลงข้องอยู่กับสิ่งต่างๆ
สุดท้ายมันก็เป็นพันธนาการที่รัดดึงเราไว้
ทำให้จิตใจเราฟุ้งซ่านเร่าร้อน ทุกข์ทรมาน
แต่ถ้าเราสามารถค่อยๆปลดๆๆ
ปลดสิ่งที่มันไม่จำเป็นออกไปจากชีวิตของเรา
ลองทบทวนดูว่าสิ่งใดที่มันจำเป็นกับชีวิตกันแน่
สิ่งใดไม่จำเป็นก็ค่อยๆปลดออกๆๆ
ยิ่งปลดมันจะยิ่งเบา ยิ่งสบาย
พอมีสติตั้งมั่น ทีนี้มันจะสงบ ระงับเลย
แล้วเราจะพบว่าชีวิตที่มันร่มเย็นเป็นสุข
มันไม่ต้องไปดิ้นรนอะไรเลย
อยู่ที่ไหนก็ร่มเย็นเป็นสุขได้
เพราะว่าความร่มเย็นเป็นสุข
มันอยู่ภายในใจของเรานี้เอง
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
ปุจฉา : จะทำอย่างไร?
กับตัวเองที่ชอบอยู่สงบๆคนเดียว
ยิ่งปฏิบัติบ่อย ยิ่งไม่อยากพบปะพูดคุยกับใคร
มีความสุขสบายใจเมื่ออยู่ที่สงบเงียบ
เบื่อความวุ่นวาย
บางครั้งรู้สึกเป็นทุกข์
หนักใจ ฝืนใจ ถ้าต้องเข้าสังคม
รู้สึกทางโลกนี้เหนื่อย หนัก วุ่นวาย
เป็นคนชอบเก็บตัว ชอบหลบเลี่ยงการพบเจอผู้คน..
.
วิสัชนา : ก็ถ้าโยมไม่ได้มีภาระอะไร
ไม่ได้มีภาระหน้าที่การงานอะไร
สามารถอยู่เก็บตัววิเวก
แล้วมันไม่ได้เกิดปัญหากับการมีชีวิต
โยมก็สามารถทำได้
แต่ถ้าโยมมีภาระหน้าที่อยู่
เช่น ยังเป็นวัยทำงาน มีภาระครอบครัว
มีสิ่งที่ต้องทำ กิจการงานต่างๆ
.
จะดีกว่าไหม?..
ถ้าเราบาลานซ์โลกกับธรรมให้เหมาะสม
อยู่กับความวุ่นวาย.. ก็อยู่ได้
อยู่กับความสงบ.. ก็อยู่ได้
.
จะดีกว่าไหม?...อยู่ที่ไหนก็อยู่ได้
ไม่ใช่ว่าจะต้องอยู่ในที่สงบเท่านั้น
อยู่ในที่วุ่นวายก็สงบได้
อันนี้บาลานซ์ โลกกับธรรม
ปัญหาของคนใหม่ก็คือจิตฟุ้งซ่าน
ความลังเลสงสัย ความขี้เกียจต่างๆ
แต่เมื่อฝึกฝนพัฒนาสติอยู่เนืองๆ
จนเกิดความตั้งมั่น อารมณ์หยาบๆหลุดออกไป
เมื่อฝึกไปมากๆจนเกิดความแผ่ซ่าน
เกิดความโปร่งโล่งเบาสบายขึ้นมา
สัมผัสความสุขที่มันประณีตลึกซึ้งขึ้นไปเรื่อยๆ
.
เวลาอยู่กับความโปร่งโล่งเบาสบายดีไหม?.. ดีสบาย แต่พอเมื่อปฏิบัติไป มันโล่งโปร่งมากๆนี่
เวลาโยมไปอยู่ท่ามกลางผู้คน
อยู่ดีๆมันก็มีอารมณ์ผุดขึ้นมา ไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย
บางทีมันจะผุดอยู่ใต้ลิ้นปี่ ผุดขึ้นมา
บางทีก็ฟุ้งขึ้นมาบ้าง บางทีก็หงุดหงิดขึ้นมาบ้าง บางทีก็เกิดอารมณ์โกรธขึ้นมาบ้าง
ทั้งๆที่ เอ๊ะ! ทำไมเราปฏิบัติมันโล่งสบายดี
แต่ทำไมอารมณ์พวกนี้มันผุดขึ้นมา
แบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย บางคนเครื่องรวนไปเลย
มันเกิดอย่างนี้ขึ้นมาได้อย่างไร?
.
ปกติธรรมชาติของจิตที่ยังไม่ได้รับการฝึกฝน
ก็จะเป็นจิตที่ส่งออก..
ต่างคนต่างส่ง ต่างคนต่างปรุง
แต่พอเราฝึกฝนจนมีสติตั้งมั่นขึ้นมา
อายตนะมันจะเปิดออก
การรับรู้มันกว้างขึ้นไป
โดยเฉพาะคนที่รับรู้ถึงบรรยากาศกว้างๆ ออกไป
มันเบาสบาย มันโล่ง มันโปร่ง
ตรงนี้อายตนะมันจะเปิดออก
.
ผลที่ตามมาเป็นไงรู้มั๊ย?...
มันก็ไปรับอารมณ์คนอื่นขึ้นมา
เวลาข่ายญาณมันกางออกมันเหมือนเรดาร์เลยโยม..
ถ้าโยมไปอยู่ใกล้คนที่เป็นโรคซึมเศร้า
โยมจะไปรับกระแสพลังงานซึมเศร้ามา
โยมจะเศร้าเอง..
ถ้าโยมไปอยู่ใกล้คนที่กำลังโกรธ
อารมณ์โกรธมันจะผุดขึ้นมาเอง
โยมไปรับอารมณ์โกรธเข้ามา
เริ่มอยู่ยากไหม?
อันนี้แหละคือเหตุผลว่า
ทำไมพอปฏิบัติได้ดีไม่ชอบอยู่กับผู้คน..
แล้วคิดดู.. วันๆนึงคนมันคิดเรื่องอะไรกัน
มันมีแต่อารมณ์ที่วุ่นวายใจ
.
เพราะฉะนั้น..
คนที่ปฏิบัติจนจิตเริ่มละเอียด
จะไม่ค่อยชอบอยู่กับผู้คน
มันไปรับกระแส รับอารมณ์ได้ง่าย
บางทีก็ไปรับกระแสพลังงานที่ไม่ดีบ้าง
เหมือนคอมพิวเตอร์ที่มันติดไวรัส
เครื่องรวนไหม?.. รวน
บางทีเอาออกไม่เป็น ทีนี้ก็รวนไปหลายวัน
ผลที่ตามมา คือ.. เป็นคนชอบเก็บตัว
เนี่ยโลกกับธรรม ไม่บาลานซ์ละ
หรือเวลามันโล่งมากๆ มันสบายดี
แต่มันไม่ค่อยคิด ไม่ค่อยปรุงแต่ง
แล้วเวลาโยมต้องคิดงาน ทำงาน ทำไง?
เริ่มเป็นอุปสรรคไหม?.. อุปสรรค
มันเป็นทางสองแพร่งละ
เอ๊ะ!.. จะเอาดียังไงแน่?
ถ้าจะใช้ชีวิตได้ปกติ..
ก็จะไม่พัฒนาให้สูงขึ้นไปกว่านั้น
แต่ถ้าจะพัฒนาให้สูงขึ้นไป
ก็จะเริ่มไม่บาลานซ์ทางโลกได้
แล้วจะบาลานซ์กันได้อย่างไร?
.
จะดีกว่าไหม?
ถ้าเราจะใช้ชีวิตได้ตามปกติ
โลกไม่ช้ำธรรมไม่ขุ่น.. มันฝึกได้โยม
#วสีคือคำตอบ ความชำนาญในสมาธิ
.
พระพุทธเจ้าตรัสว่า...
“ผู้ที่มีความชำนาญในสมาธิ จะไม่ตกเป็นทาสของสมาธิ ไม่ติดสุขในสมาธิ ไม่ติดกับดักทางจิต
เป็นผู้ฉลาดในการรู้เท่าทันจิตใจ”
วิธีการฝึกที่ง่ายๆที่สุดเลย
เหมือนที่พาฝึกในรูปแบบนี่.. สังเกตไหม?
จะเริ่มไล่ฝึกทีละส่วนก่อน
จนรู้สึกได้ทั้งตัว
จากนั้นจะเข้าสู่สภาวะความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
เป็นฐานพลังงาน
จากนั้นเข้าสู่ความเบา..
ความนิ่งสงบ ความเบิกบาน
แล้วการสลัดคืนเข้าสู่อมตธรรม
.
เพียงแค่โยมฝึกตามเป็นสเต็ปๆ
แล้วฝึกถอยกลับมาได้
ถอยกลับมาฐานกายได้
วิธีที่กลับสู่สภาวะปกติ
ที่จะไม่ไปรับกระแสอารมณ์คนอื่น
คือกลับมาฐานกาย..
พอถอยกลับมาฐานกายปุ๊ป!
อายตนะมันจะปิด
มันจะไม่ไปรับอารมณ์คนอื่น
แล้วโยมจะคิดอ่านพูดคุยได้ปกติ
แล้วก็ไม่ไปรับกระแสหรืออารมณ์คนอื่น
เพราะฉะนั้น..
ฐานกายเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากๆ
.
ใหม่ๆเราอาจจะฝึกจนมันไม่เต็มส่วน
ที่มือบ้าง.. ที่เท้าบ้าง..
แต่พอฝึกไป มันรู้สึกได้ทั้งตัว
เรียกว่า #สติเต็มฐาน
แล้วฝึกรู้ทั้งตัวให้ชำนาญ
ทำฐานกายให้มาก
แม้กระทั่งโยมฝึกสภาวะที่ละเอียดระดับไหนก็ตาม
ก็สามารถถอยมาที่ระดับฐานกายได้
พระพุทธเจ้าถึงตรัสไว้ว่า..
“ชนเหล่าใดประมาทในกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าประมาทในอมตธรรม”
เหมือนโยมมีรถ..
รถที่แรงและเร็วดีไหม?..ชอบไหมความเร็ว?
แต่ในชีวิตจริง.. โยมขับแรงขับเร็ว
ใช้เกียร์ 5 ตลอดเวลาทำได้ไหม?.. ไม่ได้
ยิ่งในกรุงเทพไม่ต้องคุยกันเลยใช่ไหม?
แล้วทำยังไงอ่ะ?..
ก็ต้องขับให้ชำนาญ
ปรับความเร็วให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิต
เวลาโยมมีสติตั้งมั่น มีสภาวธรรมที่ละเอียด
โยมสามารถปรับความละเอียดของกำลังสติ
ให้เหมาะสม กับการดำรงชีวิตได้
.
แล้วสภาวะของสมาธิเนี่ย
สภาวธรรมในแต่ละระดับ
ก็มีคุณประโยชน์แตกต่างกันไป
เมื่อใดที่โยมพัฒนาสติจนเกิดความตั้งมั่น
รู้สึกตัวทั่วพร้อมขึ้นมา
มันจะเกิดสภาวะของปีติก่อน..
ปีติมันมีหลายตัว
ถ้าโยมฝึกไปเรื่อยๆจนมันเกิดความแผ่ซ่าน
ซาบซ่านทั่วกาย
ภาษาพระท่านเรียกว่า “ผรณาปีติ”
ถ้าโยมฝึกจนมันแผ่ซ่าน ซาบซ่านทั่วกายอยู่เนืองๆ โยมจะรู้สึกถึงความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า
เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังของชีวิต
มันเหมือนอยู่ไปเรื่อยๆ มันเหมือนพลังมันเต็ม
มันเหมือนเราชาร์จแบตเตอรี่เต็มเปี่ยม
แล้วมันเพลินสบายเหมือนเราแช่อยู่ในสปา
ชอบไหมสปา?
มันเหมือนนอนแช่อยู่ในสปา ไม่ต้องเสียเงินด้วย
ฝึกจนสติตั้งมั่น เกิดปีติ
มันเพลินสบายอยู่อย่างนั้น
แล้วมันเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังงานของชีวิต
ปีติมันจะเกี่ยวกับเรื่องของพลังงานของชีวิต
มันดียังไง?..
มันจะทำให้โยมมีสุขภาพจิตที่ดีมีสุขภาพกายที่ดี
มันช่วยเรื่องสุขภาพของกายของจิตได้ด้วย
ถ้าโยมเดินพลังงานเป็น
มันใช้ในเรื่องของธรรมโอสถได้ด้วย
รักษาสุขภาพกายสุขภาพจิตได้ด้วย
แล้วมันเป็นเรื่องของพลังงานชีวิต
มันเหมาะในการที่เราทำงานในแต่ละวัน
บางทีเราหมดแรงหมดพลัง
แต่ถ้าเรามีผรณาปีติ
มีความซาบซ่านทั่วกาย
โยมจะรู้สึกถึงกระชุ่มกระชวย มีชีวิตชีวา
เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังงานชีวิต
แล้วเวลาหลับ..
มันก็หลับสบายหลับสนิท หลับลึก
ตื่นขึ้นมาก็สดชื่น กระปรี้กระเปร่า
ชีวิตมันจะกระชุ่มกระชวย มีพลังงาน
นี่คือคุณสมบัติของปีติ มันทำให้มีชีวิตชีวา
มีพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ
.
แต่เมื่อโยมพัฒนาสติ
จนเข้าถึงความโปร่งโล่ง เบาสบาย
ความสุขเกิดขึ้น ทีนี้มันประณีตกว่า
สุขมันจะประณีต เบาสบายขึ้นไปเรื่อยๆ
ถ้ามันสุขมากๆ..
จิตมันจะยิ้มเลย จิตยิ้ม ร่าเริงเบิกบาน
อันนี้โลกสดใสเลย อยู่ที่ไหนมันก็ยิ้มมีความสุข
ใครมาว่าก็ไม่โกรธ ยิ้มได้
ถ้าโยมอยู่กับโปร่งโล่งมากๆ
บางทีพวกจะหาว่าติงต๊องนะ มันยิ้ม
ก็มันมีความสุขจากข้างใน จิตมันยิ้ม
อันนี้มันจะมีความร่าเริงเบิกบาน ปีติสุข สบาย
แต่เมื่อโยมเข้าถึงอุเบกขาความนิ่งสงบ
มันจะรู้สึกถึงความสงบวิเวก ความตั้งมั่นอยู่
อุเบกขามันจะประณีตกว่าสุข
มันรู้สึกถึงความสงบ ความวิเวก
แต่ถ้าโยมอยู่กับอุเบกขามากๆ มันจะเริ่มขี้เกียจ
มันจะไม่ค่อยชอบไปทำกิจกรรม ความวุ่นวาย
มันจะชอบสงบนิ่ง
.
เพราะฉะนั้น..
ถ้าโยมเดินสภาวะเป็น
โยมจะเลือกวิหารธรรม
ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตได้
ปีติ สุข อุเบกขา มันมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน
เหมือนพ่อครัวที่มีความฉลาดในการปรุงอาหาร สมาธิมันก็เป็นสังขารการปรุงแต่งอยู่แล้ว
ผู้ที่มีความชำนาญในสมาธิ
เขาสามารถปรับวิหารธรรมให้เหมาะสม
ในการดำรงชีวิตได้
.
ไปลองฝึกดู ลองทดสอบด้วยตัวเอง
จะรู้แจ้งด้วยตัวเองเลย เริ่มจากรู้สึกตัว
จนรู้สึกทั้งตัว เกิดปีติแผ่ซ่าน เกิดความสุข
เบาสบาย เกิดความนิ่ง สงบ ตั้งมั่นอยู่
แล้วเดินสภาวะกลับไปกลับมา
โยมจะสามารถเลือกวิหารธรรมให้เหมาะสม
กับการดำรงชีวิตได้
พออยู่กับสุข...มันก็ร่าเริงเบิกบาน
พออยู่กับอุเบกขา...มันก็นิ่งสงบ
พออยู่กับปีติ...มันก็รู้สึกมีพลังชีวิตขึ้นมา
อันนี้เป็นคุณประโยชน์.. ฝึกได้นะ
แล้วมันจะเป็นพื้นฐานที่เข้าสู่ระดับโลกุตระ
หลุดจากการยึดมั่นถือมั่นทั้งปวงได้
.
เพราะฉะนั้น..
แนะนำว่าควรจะฝึกสติปัฏฐาน 4
ให้ชำนาญ แล้วปรับวิหารธรรมให้เหมาะสม
ถ้าโยมรู้สึกว่ามันทำให้โยมใช้ชีวิตในโลกยาก
โยมก็ถอยกลับมาฐานกาย หรือความรู้สึกตัวให้เป็น
แล้วโยมจะรู้ว่า..
โยมจะใช้ชีวิตได้ตามปกติ
ส่วนเวลาที่เราว่างจากกิจการงาน จากภาระ
โยมก็สามารถเข้าสภาวะที่ประณีตขึ้นไปเรื่อยๆได้
.
ไม่ใช่คนใหม่ก็จะมีปัญหาเรื่องนิวรณ์ความฟุ้ง
แต่พอคนที่มีสติตั้งมั่นมากๆ
ก็คือจะไปติดสุขในสมาธิ ถอยกลับมาไม่เป็น
ตกเป็นทาสของสมาธิ
คนทั่วไปเป็นทาสของนิวรณ์
คนที่มีสมาธิตั้งมั่นเป็นทาสของสมาธิ
มันก็ยังเป็นทาสทั้งคู่ แต่ถ้าโยมมีสติตั้งมั่น
โยมสามารถปรับวิหารธรรมให้เหมาะสมได้
ไม่ตกเป็นทาสของนิวรณ์
ไม่ตกเป็นทาสของสมาธิ เป็นผู้ที่ใช้ทั้งความคิด
ใช้ทั้งกำลังสติ กำลังสมาธิ กำลังปัญญา
ได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ
แล้วโยมจะใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งทางโลกและทางธรรม
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
บางคนเวลาเกิดความตั้งมั่น..
ฐานของจิตชอบไปอยู่ข้างบน
ผลเมื่อฐานของจิต หรือตัวรู้ มันอยู่ข้างบน
มันจะทำให้แน่น..ปวดหัว
พลังงานมันไปอั้นอยู่ข้างบน
สังเกตเวลาพาฝึก..
จะปรับฐานจิตทุกคนมาอยู่ที่กลางอกทั้งหมดเลย
ฐานจิตเบื้องต้นมันจะปรากฏที่กลางศรีษะ
โยมจะรู้สึกได้ไหม?..
สำนึกรู้ที่มันอยู่ที่กลางศรีษะ
แต่พอโยมฝึกไปมากๆ..
สติละเอียดมันจะมาอยู่ที่กลางอก
เพราะฉะนั้นฐานจิตมันเคลื่อนได้
จริงๆมันไม่ได้อยู่ในกายหรอก มันซ้อนมิติกันอยู่
.
จะทดลองพาปรับฐานให้นะ
เพราะฉะนั้นแก้ง่ายๆเลย
สำหรับคนที่ปวดหัว หรือว่ามันอั้นอยู่ข้างใน
ปรับฐานจิตลงมาแล้วกว้างๆออก
บางคนฝึกเพ่งมากๆปุ๊ป! เนี่ย.. ปวดหัวเลย
เพราะฉะนั้นให้คลายออก
.
ทดสอบ...
ปลุกการตื่นรู้ขึ้นมา
ปรับฐานจิตอยู่ช่วงบนกลางศรีษะ..
รู้สึกได้ไหม? มันรู้อยู่ช่วงบน ลอยๆอยู่ข้างบน
ปรับฐานจิตลงมาที่กลางอก..
รู้สึกได้ไหม? มันมารู้อยู่ที่กลางอก
มันเลื่อนได้โยม
ปรับฐานจิตอยู่ช่วงบนกลางศีรษะ..
รู้สึกได้ไหม? ที่มันลอยๆ
ปรับฐานจิตลงมาที่กลางอก..
ขยายการรับรู้ให้กว้างขึ้น สบายๆ
เวลาขยายมันสบายกว่าไหม?
รู้กว้างๆ สบายกว่านะ
.
ฉะนั้นมันมีอะไรให้เราเรียนรู้
สำหรับคนที่เริ่มมีความตั้งมั่น
เวลาพาฝึกจะปรับลงมาโดยธรรมชาติอยู่แล้ว
ผลที่ตามมาคือ..เราจะไม่ไปอั้นปวดที่หัว
.
ตรงฐานจิต ตัวรู้ข้างบน มันจะเกี่ยวข้องกับ..
ถ้าพวกฝรั่งเขาจะเรียกว่า Pineal หรือตาที่ 3
มันจะมีเรื่องของจิต กับเรื่องของสภาพรู้อยู่
แต่วิธีแก้ง่ายๆ คือ..
ปรับลงมา แล้วก็กว้างสบายๆ
รู้กว้างๆ สบายกว่าไหม? สบายกว่า...
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
ปุจฉา : ปฏิบัติแล้วร่างกายกับลมหายใจหายไป อายตนะก็หายไป เหลือแต่เบาว่าง
หาที่กำหนดไม่ได้ ไปต่ออย่างไรครับ?
ขอมรรคปฏิบัติวิปัสสนาด้วย
.
.
วิสัชนา : ความเบาสบายก็เป็นสภาวธรรม
มันเป็นสภาวะที่ประณีต ก็แค่รับรู้ความเบาสบาย
แล้วเมื่อสลัดคืนเข้าสู่ความว่าง
มันจะมีสภาวะรู้อยู่ ว่างอยู่ รู้อยู่
ก็แค่อยู่กับสภาวะรู้ที่ไร้การยึดติดไปเรื่อยๆ
จะค่อยๆละเอียดขึ้น
.
สภาวะรู้เนี่ย.. มันมีทั้งระดับโลกียธรรม
และก็ระดับของโลกุตตรธรรม
โลกียธรรม..
ก็คือสสภาวะของจิตตั้งมั่น
ที่ครูบาอาจารย์ท่านเรียกว่า“จิตผู้รู้” เคยได้ยินไหม?
อย่างปกติจิตมันฟุ้งสอดส่าย
พอโยมฝึกเจริญสติปัฏฐาน
รู้กายจนมีสติตั้งมั่นขึ้นมา
เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมขึ้นมา
เกิดความเบาสบายขึ้นมา
มันจะเกิดความตื่นรู้ขึ้นมา
.
เวลาเกิดความตื่นรู้เนี่ย..
กายกับจิตมันจะเริ่มแยกส่วนกัน
เกิดการแยกขันธ์เบื้องต้น กายกับจิต..
.
แยกออกไหม? กายที่นั่งอยู่ กับใจที่รู้อยู่
อันนี้คือสภาวะจิตตั้งมั่น รู้จิตที่ตั้งมั่น
เวลาจิตตั้งมั่น เข้าสู่จิตที่ตั้งมั่น มันยังมีตัวรู้อยู่
เพราะว่ามันยังมีอาการยึดวิญญาณขันธ์อยู่
ตัวผู้รู้เนี่ย..
มันยังเป็นเรารู้ เราคิด เราพูด เราคุย
มันยังมีความเป็นตัวเราอยู่
เพราะว่ามันยังมีอาการยึดวิญญาณขันธ์อยู่
แต่เมื่อใดสามารถ..
พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อสติตั้งมั่น
สิ่งที่ทรงสอนต่อไปก็คือ #เปลื้องจิต
หรือ น้อมเข้าสู่อมตธาตุ
นั่นสงบ นั่นระงับ นั่นประณีต
ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
นั่นคือวิธีพลิกจากโลกียธรรมเป็นโลกุตตรธรรม
วิธีพลิกตรงนี้ บางคนเวลาปฏิบัติไปแล้วกำลังมันมาก มันจะเกิดเหมือนเราถอยออกมา
แล้วมันจะเกิดการเห็นตามความเป็นจริง
บางคนจิตผู้รู้มันก็กระเด็นหลุดออกไป
กลายเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้
เพราะฉะนั้นเครื่องมือในการรับรู้เนี่ยมันมีทั้ง..
ระดับโลกียธรรมและระดับของโลกุตตรธรรม
โลกียธรรมก็คือวิญญาณขันธ์
จิตเกิดที่ตา... เกิดการเห็น
เกิดที่หู... เกิดการได้ยิน
เกิดที่จมูก... เกิดการได้กลิ่น
เกิดที่ลิ้น... เกิดการลิ้มรส
เกิดทางกาย... เกิดการรับรู้ทางกายขึ้นมา
ในสภาวะของสมาธิ..
ก็จะเกิดจิตตั้งมั่นขึ้นมา รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น
แต่เมื่อจะพลิกเข้าสู่โลกุตตระเนี่ย
ต้องทำจิตผู้รู้ตัวนี้ให้ถูกรู้
วิธีง่ายๆก็คือเกิดสภาวะที่เรียกว่า..
รู้ ตื่น แล้วก็เบิกบานออกมา
ฝึกจนเกิดความตั้งมั่น
และเมื่อความตั้งมั่นมีกำลังพอ
เกิดสภาวะรู้ ตื่น เบิกบานออกมา
นั่นคือวิธีการพลิกระหว่างสมาธิเป็นวิปัสสนาญาณ
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
ปุจฉา :
เวลานั่งโยมเคยปฏิบัติแนวพองยุบมา
แต่พองยุบไม่ค่อยมาให้เห็นค่ะ
ก็จะนั่งดูความชา การเต้นภายในกาย
กำหนดไม่ค่อยได้ เพราะไม่รู้ว่าเรียกว่าอะไร
วิสัชนา :
จริงๆเริ่มรู้สภาวะแล้วนะ...
โยมสังเกตโยมจะพบว่าใจเริ่มนิ่งขึ้น
ความชาหรืออาการเต้นต่างๆ ภายในกาย
มันก็คือสภาวธรรม
.
ปุจฉา :
มาปฏิบัติครั้งนี้ การรับรู้การเต้น
การสั่นภายในกายน้อยมาก
เห็นแบบบางๆ น้อยๆ เบาๆ
ดูลมหายใจก็รู้สึกสั้นและยาว
บางครั้งเหมือนกลั้นลมหายใจ
ก่อนหน้าการปฏิบัติครั้งนี้โยมจะมีความรู้สึกว่า..
เวลานั่งเราไม่มีกำลังพลังที่จะดูการเปลี่ยนแปลง
ในกายของเรา
รู้สึกว่ามันมีสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่
แต่เป็นแบบเบาบาง
เราบอกลักษณะมันไม่ได้
แต่ความรู้สึกของเรารับรู้ได้ว่ามันมีอะไรเกิดขึ้นอยู่
วิสัชนา :
นี่ถูกต้องนะโยม...
การรับรู้ไม่ได้หมายความว่ามันต้องชัด
การรับรู้ถึงแม้กระทั่งกระแสที่มันเบาบาง
แสดงว่าโยมมีสติอยู่...
แต่โยมสังเกต...
โยมจะพบว่าใจโยมมีความนิ่งอยู่
แล้วเห็นการเปลี่ยนแปลงของสภาวธรรมต่างๆ
อย่าไปยึดติดว่าต้องเห็นชัด
แค่รู้สึกได้ก็พอนะ
โดยเฉพาะถ้าฝึกจนรับรู้ได้ทั่วกาย
จะเข้าสู่การปฏิบัติที่มีความมั่นคงขึ้น
ไม่ต้องเน้นว่ารู้ชัด แค่รู้สึก...
รู้สึกจนรู้สึกได้ทั่วทั้งตัว
มันจะเหลือแค่รู้ สักแต่ว่ารู้
อาการที่เราจะพยายามรู้ชัดนี่แหละ
ส่วนใหญ่มันจะคอยจ้องจดจ่อเข้าไป
มันจะเป็นกระแสของจิตส่งออก
แต่ถ้าอาการแค่รู้สึก...
มันจะไม่เกิดกระบวนการที่จิตส่งออกขึ้นมา
แล้วมันจะเกิดสภาวะที่เรียกว่า...
เห็นตามความเป็นจริง
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
ปุจฉา :
ถ้าคนเราหมดลมหายใจ รูปกานก็จะแตกดับ
แล้วใจของคนเราจะแตกดับ หรือหายไปที่ใด?
วิสัชนา :
จิตยึดถึงสิ่งใดมันก็ไปเป็นสิ่งนั้นแหละโยม
ถึงจะรูปกายมันแตกดับ แต่จิตวิญญาณยังอยู่
มันเป็นสันตติที่สืบต่อกันตลอดเวลา
ที่เรียกว่า “กระแสปฏิจจสมุปบาท”
.
ตราบใดโยมยังไม่ดับรอบ
สันตติตรงนี้มันก็จะเกิดการสืบต่ออยู่ตลอดเวลา
แม้กระทั่งเวลาที่โยมไม่มีกายหยาบ
คือละจากโลกนี้ไป จิตมันข้องอยู่กับสิ่งใด
มันก็ไปยึดติดอยู่กับสิ่งนั้น
โยมเคยได้ยินปู่โสมเฝ้าทรัพย์ไหม?
นั่นแหละ ข้องอยู่กับสมบัติ
มันก็ไปติดอยู่ตรงนั้น
จิตมันข้องอยู่กับอะไร
ยึดอยู่กับอะไร มันก็ติดอยู่อย่างนั้น
อาการที่ติดมันติดค้างเนี่ย
มันเป็นอะไรที่น่าเวทนายิ่งนัก
เรานึกว่าเราติดแค่ในช่วงชีวิตมนุษย์นะ
แต่จริงๆแล้วอาการที่จิตมันจมอยู่กับอารมณ์
แล้วมันยึดติด ยึดมั่น ถือมั่น เป็นพันธนาการ
ต่อให้ตายจากโลกนี้ไป มันก็ยึดอยู่อย่างนั้น
แล้วการยึดติดอย่างนั้นมันยาวนาน
กว่าช่วงชีวิตที่เป็นมนุษย์มาก
บางทีมันไม่ไปผุดไปเกิดในวัฏฏะ
มันติดอยู่กับสิ่งนั้น
.
ฉะนั้นโดยสภาวธรรม...
คือจิตยึดกับอะไร มันก็ติดอยู่กับสิ่งนั้น
แล้วมันจะเกิดการเกิดดับ
เป็นสันตติสืบต่อแบบนั้นเรื่อยไป
เพราะฉะนั้นมนุษย์เนี่ย โชคดี...
มันจะมีกายหยาบคอยดึงรั้งนะ
ถ้าไม่มีกายหยาบปุ๊บเนี่ย
มันอยู่กับอะไร มันก็ไปแบบนั้นหล่ะโยม
โยมสังเกตไหมมนุษย์นี่มีครบทุกภพเลย
บางทีเป็นสัตว์นรกเคยเป็นไหม
โห!.. มันเป็นฟืนเป็นไฟ เจ้าคิดเจ้าแค้น
โอ้โห! มันอาฆาต เนี่ยจิตมันไปแล้ว
ตรงนั้นแหละเป็นอบายภูมิแล้ว
บางทีเป็นนางฟ้ามีไหม? โอ้โห...
อารมณ์ดี มีเมตตา
บางทีจิตเป็นพรหม มีไหม?...มีเป็นสมาธิ
โดยมีปฏิจจสมุปบาท
จิตมันมีการสืบต่ออย่างนี้
แต่เพราะว่ามันมีกายหยาบ มันถึงมีตัวดึง
ฉะนั้นวันหนึ่งเราเป็นสารพัดสัตว์เลยใช่ไหม
บางวันนี่ครบทั้ง 31 ภพภูมิเลย
มันเป็นอยู่อย่างนั้น
แต่มันมีกายหยาบคอยดึงไง
แต่ถ้าไม่มีกายหยาบเนี่ย มันไปตามนั้นเลย
ให้สังเกตง่ายๆโยม...
ถ้าโยมไม่ได้ฝึกสติเนี่ย เวลาโยมฝัน เป็นไง?
ฝันเลื่อนลอย สเปะสปะอะไรก็ไม่รู้ ไม่รู้เนื้อรู้ตัว
ถ้าตายโยมก็เป็นแบบนั้น หลงภพหลงภูมิ
ถ้าจิตเป็นกุศลก็ไปสุคติ ถ้าจิตเป็นอกุศลก็ตกอบาย
แล้วมันก็หลงอยู่อย่างนั้น ไม่มีกายหยาบดึง
ก็อยู่อย่างนั้นเลย จนกว่าจะหลุดจากวงจรตรงนั้น
แต่ถ้ามีกายหยาบมันดึงกลับมาไง
เพราะฉะนั้นเวลาฝัน
บางทีมันวัดคุณภาพของสติได้
ถ้าคนสติไม่มีกำลัง
ก็ฝันไม่รู้ตัวใช่ไหม ฟุ้งไปเลย
แต่ถ้าพอฝึก เริ่มมีสติปุ๊บ...
มันเหมือนเริ่มเห็นความฝันล่ะ
แต่ถ้าฝึกจนเริ่มทรงตัว
แม้ในขณะฝันมันก็รู้ตัว
เคยรู้ตัวในความฝันไหม? มันรู้ตัวได้โยม
ฝรั่งเขาเรียก Lucid Dream อันนี้สติมีกำลัง
อันนี้เป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพสติเลยนะ
ถ้าในขณะฝันโยมยังรู้ตัว
ถ้าโยมตายแบบนั้นโยมก็มีสติ
แล้วโยมจะพบว่า
ไม่มีกายก็เจริญสติปัฏฐานต่อได้
แต่กว่าจะถึงตรงนั้น...
โยมจะต้องผ่านการฝึกฐานกายมาดีพอไหม
อยู่ๆไปรู้จิต รู้ใจเลยทำได้ไหม?.. ทำไม่ได้
ฉะนั้นฐานกายมันเป็นโอกาสที่เราจะเพาะบ่มไว้
แต่พอเราฝึกชำนาญจนจิตตั้งมั่น รู้เท่าทันจิตใจได้ ต่อให้โยมต้องละจากโลกนี้ไป
โยมก็ฝึกสติปัฏฐาน 4 ต่อได้
มันต้องมีพื้นฐานตรงนี้ก่อน
เพราะฉะนั้นกายหยาบมันเป็นโอกาสที่...
...ที่จะได้ฝึกสติปัฏฐาน
.
สรุป...จิตมันแตกดับ
แต่จิตมันเกิดสันตติสืบต่อไป
จนกว่าเราจะถอดถอนอุปาทาน
จึงจะหลุดจากวงจรตรงนี้ทั้งหมด
แล้วถอดถอน มันหลุดได้แค่ชั่วคราว
ต้องดับรอบ ชำระสิ่งดึงรั้งทั้งหมด
ถึงจะถอดถอนได้
ยากไหม? ....ยาก
แต่มันเป็นทางเดียวที่จะหลุดพ้นจากตรงนี้
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
ปุจฉา : หลังจากนั่งสำรวจร่างกาย รับรู้อวัยวะต่างๆ แล้วตามลมหายใจ กลับรู้สึกตัวอีกทีว่า เรายังอยู่ในตัวเรา แต่ไม่รู้สึกถึงอวัยวะต่างๆ ทำอะไรผิดหรือเปล่า???
วิสัชนา: ตอบปัญหาธรรมโดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
ถูกต้องแล้วโยม
ก็คือ มันรู้
ความตั้งมั่น นั่นแหล่ะ
บางทีเราปฏิบัติ ที่ครูบาอาจารย์ท่านบอก ปฏิบัติไปเหมือนไม่ได้ปฏิบัติ
ถ้าโยมถึงสภาวะนี้ โยมจะเข้าใจ มันเหมือนเรานั่งอยู่เฉยๆ ใช่ไหม
ไม่ได้กำหนดอะไรเลย มันเหมือนนิ่งๆ อยู่ข้างในน่ะ
อันนี้ รู้ตัวตน รู้ตัวเองนะ
มันเป็นสภาวะของจิตที่ตั้งมั่น
ถูกแล้วโยม
โยมเริ่มต้นจากจับความรู้สึก จนมันตั้งมั่น แล้วมันเหมือนนิ่ง ๆ อยู่ข้างในน่ะ
เหมือนเรานั่งอยู่เฉยๆ อยู่ข้างใน
อันนี้คือสภาวะจิตตั้งมั่น หรือ จิตผู้รู้ นั่นแหล่ะ มันเป็นอย่างนั้นแหล่ะ
เพราะฉะนั้น บางทีเค้าเรียกว่า อยู่กับตัวเองไง
ถ้าจิตโยมฟุ้ง โยมจะอยู่กับตัวเองได้ไหม?
มันไปไหนก็ไม่รู้ ใช่ไหม
แต่พอมีสติตั้งมั่น อยู่ได้ไหม? อยู่ได้
เหมือนไม่ต้องภาวนาไหม
ไม่เห็นต้องกำหนดอะไรเลย มันก็อยู่ได้ถูกไหม
นี่คือ ผู้ที่มีสติตั้งมั่น แล้วผู้ที่มีสภาวะตรงนี้ ตัวจริงแล้วนี่
จะให้ไปกำหนด พุทโธ พองหนอ ยุบหนอ เริ่มขี้เกียจแล้ว ถูกไหม
เพราะ อันนี้ มันเป็นของหยาบไปแล้ว ตัวสภาวะจริงๆ มันวางทั้งหมดเลย
มันวางการกำหนด วางการบริกรรม
มันอยู่กับความตั้งมั่นได้เอง
มันจะสบายกว่า
เพราะฉะนั้นบางคนเข้าสภาวะเบาไปแล้ว
เข้าสภาวะตั้งมั่นไปแล้วนี่
พอมานั่งฝึกเบสิค ที่เรียกว่า มานั่งกำหนดหนอต่างๆ จะไม่ถนัดแล้ว
มันเหมือนเราจับนกไปอยู่ในกรงน่ะ มันอึดอัดแล้ว
เพราะว่าเค้าเป็นอิสระแล้วไง
เค้าวางจากการกำหนดพวกนี้แล้ว
เค้าอยู่กับสภาวะตัวจริงแล้ว
ซึ่งจริงๆ แล้ว วิธีการกำหนดต่างๆ มันก็เหมือนเวลาเราเป็นเด็ก
เคยหัดถีบจักรยานไหม
ที่พ่อแม่ให้ใส่ล้อ 3 ขา ก่อน
มีตัวช่วยก่อน
เพราะว่า การกำหนดบริกรรม หรือต่างๆ มันเหมือนทำให้เรามีจิตที่เกาะง่ายขึ้น
แต่พอเราขับรถ ถีบจักรยานเป็นแล้ว เราต้องใช้ไหม???
ปลดออก
หรือ เหมือนโยมหัดว่ายน้ำ
ตอนยังไม่เป็น ก็ต้องเกาะโฟม เป็นตัวช่วย ให้โยมประคองตัวได้
แต่พอโยมว่ายเป็นแล้ว โยมต้องใช้ไหม??
ไม่
เหมือนกัน การกำหนด บริกรรม วิธีต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็น พุทโธ พองหนอ ยุบหนอ ขวาย่างหนอ
หรือ นับตัวเลขต่างๆ
มันเป็นเหมือนอุปกรณ์เบื้องต้น
เพื่อช่วยให้โยมสามารถอยู่กับตัวเองได้
แต่พอเราเริ่มอยู่ได้แล้ว เป็นแล้ว โยมไม่ได้ใช้สิ่งเหล่านี้หรอก
โยมอยู่กับสภาวะตรงๆ เลย
อยู่กับความรู้สึกตัว
อยู่กับความเบาสบาย
อยู่กับความตั้งมั่นได้เลย
แล้วมันสบายกว่าวิธีการกำหนดมาก
เพราะฉะนั้น จริงๆ จึงเริ่มพาฝึกด้วย รู้เนื้อรู้ตัวไปเลย
มันจะได้ไม่ต้องไปปลดทีหลัง
แม้กระทั่งทุกอย่างเราฝึกเพื่ออะไร???
ละ ออก
ทุกอย่างเป็นแค่ไกด์ เพื่อสุดท้ายมันเป็นเรื่องของการปลดออก ๆ ๆ ทั้งหมดเลย
แม้กระทั่งลมหายใจก็ต้องปลดออก
ฐานกายพอฝึกแล้ว เดี๋ยวมันก็ละออกไป
ฐานเวทนา ละออกไป
ฐานจิต เปลื้องออกไป
สุดท้ายมันหลุดทั้งหมดเลยจากการยึดมั่นถือมั่น
เข้าสู่อมตธรรม
เพราะฉะนั้น เราฝึกเพื่ออะไร???
สละ ละวาง หลุดจากการยึดมั่นถือมั่น
ทุกอย่างมันเป็นแค่อุปกรณ์เบื้องต้นเท่านั้นเอง
สุดท้ายแล้ว มันสลัดหมดเลย
พระพุทธองค์ทรงอุปมา เหมือน ธรรมมะที่ทรงแสดง
เหมือนเรือแพ ใช้ข้ามฝั่ง
เมื่อโยมถึงฝั่งแล้ว โยมต้องแบกเรือขึ้นไปไหม
ไม่
สลัดออก ทั้งหมดเลย
สุดท้ายแล้ว มันปลดออกไปหมดเลย
ไม่มีอะไร
คืนสู่บริสุทธิ์
แต่อยู่ดีๆ เราจะไปถึงสภาวะนั้นเลยได้ไหม?
ไม่ได้ จิตฟุ้ง จึงต้องมีฐานก่อนไง
ฐานกายให้ดี
จากนั้นมันจะปลดโดยธรรมชาติ
รู้ธรรมเฉพาะหน้า
.....................................................................
ตอบปัญหาธรรม โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
20 พฤศจิกายน 2562
#ปุจฉา: อยากทราบว่า การที่เราจะวัดได้ถึงความรู้สึกตัว
จะวัดได้จากอะไร?
เพราะตอนนี้ยังไม่แน่ใจว่าตอนปฏิบัติ
โยมรู้สึกตัวจริงหรือไม่?
#วิสัชนา: ตอบปัญหาธรรมโดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
ความรู้สึกตัว ก็คือ ความรู้สึกของร่างกาย
และจิตใจปกติ
ความรู้สึกตัว มันมีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ
แต่ทำไมความรู้สึกตัว มันหายไป?
ใครโขมยความรู้สึกโยมไป? รู้ไหม
ความคิด
ปกติโยมอยู่กับอะไร?
ความคิด
มันไหลไปกับอารมณ์
ภาษาพระเรียก นันทิ ความเพลิดเพลินในอารมณ์
พระพุทธเจ้าตรัสว่า
"ละ นันทิ จิตหลุดพ้น"
จะละนันทิ ได้ด้วยอย่างไร?
ก็รู้สึกตัวขึ้นมา
สังเกตไหม เวลาที่รู้สึกตัวปุ๊บ มันหลุดจากความคิดเลย
แต่ใหม่ๆ สติมีกำลังน้อย มันรู้สึกตัวแป๊บนึง เป็นไง
จิตไหลไปอีกไหม
ไหล
ใหม่ๆ มันหายไปไหนก็ไม่รู้
ทั้งวี่ทั้งวัน
แต่เมื่อโยมฝึกไปเรื่อย เริ่มรู้สึกตัวได้บ่อยขึ้น ๆ เรื่อย ๆ
เครื่องชี้วัดอย่างหนึ่ง คือ โยมรู้สึกตัวได้บ่อยขึ้น
ใหม่ๆ มันหายไปครั้งนาน
ที่นี้มันเริ่มไวขึ้น ๆ ๆ เรื่อย ๆ
พอชำนาญ พอจิตแว่บไป รู้สึกได้เลยไหม
ได้เลย
เนี่ย เริ่มมีกำลัง เริ่มใช้ได้
แล้วจะเริ่มเห็นการทำงานของกาย ของใจ
ทีนี้มันจะละเอียดขึ้นไปเรื่อย ๆ
ปกติมันไม่รู้สึกตัว เพราะว่า มันเพลินอยู่กับความคิด
แต่เมื่อโยมมีสติรู้สึกตัว ปุ๊บ มันหลุดจากความคิดเลย
จากนั้น เมื่อจิตมันแว้บ ออกไปปุ๊บ รู้สึกตัวได้
แยกออกไหม เวลาเราไหลไปกับความคิด
กับเห็นความคิดน่ะ
เวลาไหลไปปุ๊บ มันลืมตัวเลย ใช่ไหม
มันเพลินอยู่กับความคิด
แต่พอเห็นมัน เป็นไง
มันมีสติอยู่
ความคิด มันก็ทำงานของมัน แต่รู้สึกตัวยังอยู่
ค่อยๆ ฝึกไป
...................................................................
ตอบปัญหาธรรมโดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
ณ ยุวพุทธ o๔ / ๒o พ.ย. ๒๕๖๒
เวลานั่งปฏิบัติ เหมือนเห็นอะไรแปลก ๆ
จิตเราคิดไปเองไหม ?
ก็ให้อยู่กับตัวเอง ๆ ไปเรื่อย ๆ นะ
ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อมไปเรื่อยๆ
เราจะรู้สึกว่ามีคนอยู่กับเรา หรือเปล่า
ก็ให้เป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู ้ขึ้นมา
มันก็เป็นไปได้
ทั้งจิตที่เราปรุงขึ้นมา
เวลาจิตเราเริ่มเปิด
เราก็จะรับรู้ถึงมิติ ภพภูมิต่าง ๆ
ที่ซ้อนกันอยู่ได้เช่นกัน
แต่อะไรก็ตาม
หลักสำคัญให้กลับมารู้กาย
รู้ใจของตัวเอง
ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อมขึ้นมา
รักษาใจที่ตั้งมั่นของตัวเองไว้
ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม
โดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
..............................................
ปุจฉา : เราควรมีคำบริกรรมในใจ
เพื่อมิให้ความคิดนำจิต
หรือ ใช้ลมหายใจ
ในการเจริญสติอยู่กับปัจจุบ ัน ?
วิสัชนา:
ก็แนะนำให้ฝึกเจริญสติ
หรือ รู้สึกตัวไปเลย
ไม่ต้องไปใช้คำบริกรรมหรอก
เพราะว่าจริงๆแล้ว
ถ้าเราฝึกรู้เนื้อรู้ตัวไปเ ลย
มันจะไวกว่าการบริกรรมมาก จะเร็วกว่า
แล้วจะเข้าสู่สภาวธรรมได้เล ย
ให้รู้เนื้อรู้ตัว รู้สึกกาย รู้สึกใจไปเรื่อยๆ
ในยุคสมัยโบราณ
คำบริกรรมอาจจะเหมาะกับยุคส มัยนั้น
แต่เดี๋ยวนี้ มันเป็นสิ่งที่ล้าสมัยไปแล้ ว
ให้อยู่กับสภาวธรรมตรงๆไปเล ย
แล้วมันตรงกับสิ่งที่พระพุท ธเจ้าทรงสอน
พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้เรา บริกรรม
แต่สอนให้เรามีสติ มีความรู้สึกตัวขึ้นมา
นั่ง ก็รู้สึกตัว
ยืน ก็รู้สึกตัว
ทำความรู้สึกตัวในขณะ คู้ เหยียด เคลื่อนไหวต่างๆ
ให้เจริญสติสัมปชัญญะ
ใช้ ลมหายใจก็ได้
รู้สึกถึงการหายใจ ใช้การเคลื่อนของกายก็ได้
กายเป็นอุปกรณ์ของการเจริญส ติ
รู้เนื้อรู้ตัว
ขยับมือ รู้สึกตัว
ปลุกการรับรู้ให้ตื่นขึ้นมา เนืองๆ
การเห็นความคิด
เป็นเรื่องธรรมชาติของจิตอย ู่แล้ว
ก็ให้ฝึก เพื่อปลุกการรับรู้ขึ้นมา
นั่นคือ หัวใจของการเจริญสติปัฏฐาน
ที่เรียกว่า รู้ธรรมเฉพาะหน้า
โดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
เวลาหลับเพราะว่าเริ่มเบาสบ ายใช่ไหม
เวลาเบาสบายจะเริ่มเคลิ้มหล ับ
ตอนนั้นเขาเรียกว่าหลับในสม าธิ
.
ถ้ากำลังสติไม่พอ
จะเคลิ้มหลับช่วงเบาสบาย
แต่ตื่นมาก็สดชื่นอยู่
หลับในสมาธิ
.
แต่ถ้าสติมีกำลัง
จะผ่านตรงนี้ได้
จะตื่นขึ้นมาเลย
.
วิธีช่วยก็คือทำความรู้สึกต ัวให้มากๆ
เวลาฝึกถึงพาเคลื่อนไหวกาย
เริ่มจากเดินก่อน
เพื่อปลุกความรู้สึกตัวให้ด ีก่อน
.
ถ้ากำลังสติสัมปชัญญะมีกำลั งนี่
เราจะผ่านตรงนี้ได้
จะไม่เคลิ้มตัดหลับ
ก็จะตื่นขึ้นมา
.
ช่วงเริ่มเบาสบาย จะเริ่มเคลิ้ม
ถ้ากำลังสติอ่อน จะหลับ
แต่จะเป็นหลับในสมาธิ
#เดินจิต #สติปัฏฐาน4
#อานาปานสติ16ขั้น #mindfulness
-------------------------- -----
พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
ธรรมชาติของจิตเนี่ย
ก็จะหลงเพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์ต่างๆ
พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า...
เกิดนันทิ ความเพลิดเพลินในอารมณ์
นันทิ หรือ ความเพลิดเพลินในอารมณ์
ไม่ใช่เฉพาะช่วงเวลาที่เราเป็นมนุษย์เท่านั้น
เป็นธรรมชาติของทุกดวงจิตในวัฏสงสารเลย
หลงเพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์ต่างๆ
เสวยวิหารธรรมที่ดีบ้างไม่ดีบ้างก็ตาม
แล้วก็หลงยึดมั่นถือมั่นอยู่ เกิดอุปทาน
การที่จะหลุดจากวงจรตรงนี้
เครื่องมือที่พระพุทธเจ้าทรงสอน
ก็คือสิ่งที่เรียกว่า...สติปัฏฐาน 4
ต้องมีฐานที่ตั้งก่อน
เพื่อเป็นเครื่องอยู่ ไม่ให้หลงหลุดลอยไป
.
ฐานแรกก็คือฐานที่เรียกว่า... ฐานของกาย
ฐานกายเป็นฐานที่หยาบที่สุด ฝึกได้ง่ายที่สุด
แล้วก็เป็นพื้นฐานของทุกฐานต่อมา
อยู่ๆเราไปรู้จิตรู้ใจเลย ทำได้มั๊ย?
ที่เราคิดว่าเราดูจิตเนี่ย
เราดูหรือไหลเข้าไปในอามณ์
จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นเนี่ย
ดูอะไรมันก็จะไหลไปกับสิ่งนั้น
ดูปวด... ก็จะไหลไปกับความปวด
ดูความคิด... ก็จะไหลไปกับความคิด
ดูอารมณ์... ก็จะไหลไปกับอารมณ์
อันนี้ไม่ใช่ลักษณะของสติสัมปชัญญะ
ยังเป็นนันทิอยู่ ดูอะไรมันก็จะไหลไปกับสิ่งนั้น
แต่คุณลักษณะของสติสัมปชัญญะ
คือตื่นขึ้นมา ไม่ได้ไหลไปกับอารมณ์
เกิดสภาวะที่เรียกว่า....
รู้ธรรมเฉพาะหน้า รับรู้สภาวะที่ปรากฏ
การที่จะปลุกให้ตื่นเนี่ย
เบื้องต้น... ฐานกายจะฝึกได้ง่ายที่สุด
แต่ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า...“ กายคตาสติที่บุคคลเจริญแล้ว ชื่อว่าเจริญอมตธรรม”
นั้นเป็นอย่างไร?
.
การที่เราระลึกรู้ตัวขึ้นมา รู้เนื้อรู้ตัวขึ้นมา
ใหม่ๆสติมีกำลังน้อย มันก็รู้สึกเท่าที่รู้สึกได้ เช่น.. ขยับมือ...มันก็รู้สึกเท่าที่ความรู้สึกตรงที่เราขยับมือ
ขยับแขน... มันก็รู้สึกเท่าที่เรารู้สึกถึงการขยับแขน
ขยับขา... ก็รู้สึกเท่าที่เรารู้สึกถึงการขยับขา
เขาเรียกว่า... รับรู้ความรู้สึกได้เป็นส่วนๆ
แล้วมันก็ไม่ได้รู้สึกตลอดด้วยนะ
รู้สึกแว๊บนึง เดี๋ยวก็ไปอีกละ แว๊บนึง แล้วก็ไป
ใหม่ๆ เป็นอย่างนี้ เป็นธรรมชาติเลย
แต่ถ้าเราเพียรฝึกฝนอยู่เนืองๆ
ทำให้มาก เจริญให้มาก สติก็จะมีกำลังขึ้น
พอสติมีกำลังขึ้น การรับรู้มันจะ กว้างขึ้นๆเรื่อยๆ
ให้สังเกต... แม้ขณะที่เราขยับทั้งสองข้าง
รู้สึกได้ทั้งสองข้างมั๊ย?... รู้สึกได้ทั้งสอง
มันไม่ได้แค่ข้างเดียว หรือเป็นส่วนๆ
มันรู้สึกได้ทั้งสองข้าง
แล้วในขณะที่รู้สึกมือทั้งสองข้าง
ความรู้สึกส่วนอื่นของกายปรากฏมั๊ย?
ก้นสัมผัสพื้น... รู้สึกได้มั๊ย?
กายที่นั่งอยู่... รู้สึกได้มั๊ย?
มันจะรู้สึกได้มากขึ้นๆ จนมันรู้สึกได้ทั้งตัว
เรียกว่า... "สติเต็มฐาน"
ฐานกายก็รู้กายทั้งกาย
แต่เบื้องต้นยังทำไม่ได้หรอก
พระพุทธเจ้าตรัสว่า...
“อานาปานสติ ลมหายใจก็เป็นกายอันหนึ่ง”
ใหม่ๆบางคนอาจจะเริ่มจากการหายใจ
แต่พอฝึกไปมากๆ
รู้สึกถึงการหายใจ แล้วก็รู้สึกได้ทั้งตัว
รู้กายทั้งกาย เรียกว่า "สติสัมปชัญญะเต็มฐาน"
.
ฐานที่เล็กกับฐานที่ใหญ่อันไหนมั่นคงกว่ากัน?...
... ฐานที่ใหญ่ มันรองรับได้
แล้วพอเราฝึกไปจนสติเต็มฐาน
รู้กายทั้งกาย มันจะเห็นการทำงานของจิต
ขึ้นมาได้เองโดยธรรมชาติเลย
เวลามีความคิดผุดขึ้น รู้สึกได้มั๊ย?... รู้สึกได้
เวลาเผลอไป จิตแว๊บออกไป รู้สึกได้มั๊ย?...
มันรู้สึกได้เองโดยธรรมชาติ
เพราะฉะนั้นเพียงแค่เจริญกายคตาสติ
ระลึกรู้ตัวเนี่ย พอไปมากๆ
สติมีกำลัง สติเต็มฐาน...
มันจะเริ่มรู้สึกถึงการทำงานทั้งกาย
และใจ ขึ้นมาได้เองโดยธรรมชาติเลย
ทดสอบได้ด้วยตัวเองใช่มั๊ย?.. มันรู้สึกได้
ต้องคอยจ้องมองมั๊ย?... ไม่จำเป็น มันรู้สึกได้เลย
เวลามีความคิดผุดขึ้น หรือเวลาจิตมันแว๊บไป
หรือเวลาจิตที่มันนิ่งอยู่ มันรู้สึกได้ มันรับรู้ได้
นั่นคือสภาวะที่เรียกว่า... สติมันเริ่มตั้งมั่น
.
สติต้องมีฐาน
ฐานกาย... อันนี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญเลย
การที่จะรู้เท่าทันจิตใจเนี่ย
ทีนี้เราจะเริ่มแยกออกแล้ว ระหว่าง...
เวลามันไหลไปกับความคิด กับ เห็นความคิด
ต่างกันไหม?... ต่างกัน
เวลาไหลกับความคิดเนี่ย มันลืมตัว
อาการที่เรียกว่า... เกิดนันทิ
ไหลไปกับอารมณ์ ไหลไปกับความคิด
แต่ว่าเห็นล่ะ?
มันก็เห็น... การปรุงแต่ง
เห็น... ความคิด
เห็น... ความรู้สึก
เห็น... ภาวะที่ผุดขึ้นแล้วก็จางคลายไป
มันเห็น... มันไม่ได้ไหลเข้าไป
นี่คือ อาการของสติสัมปชัญญะ
เวลาสติอยู่ที่ฐานของกาย
มันก็จะรับรู้ระบบการทำงานต่างๆของร่างกาย
การหายใจ
การกระเพื่อม หน้าอกหน้าท้อง
ความรู้สึกของกาย
อย่างนั่งอยู่ ก็รู้สึกถึงกายที่นั่งอยู่
จนรู้กายทั้งกายที่นั่งอยู่
เมื่อสติละเอียดขึ้นไปอีกเนี่ย
จะรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ ของชีพจร
รู้สึกได้มั๊ย?.. เนี่ยแสดงว่าสติเริ่มมีคุณภาพแล้ว
จริงๆหัวใจมันก็เต้นอยู่เป็นปกติมั๊ย?
แต่สติไม่มีความละเอียดพอ
ที่จะรู้สึกถึงการทำงานได้
แต่พอฝึกไปมากๆ สติมีกำลัง มันรู้สึกได้
ถ้าละเอียดกว่านั้นนี่ มันไม่ใช่แค่เสียงหัวใจเต้น
ชีพจรเนี่ยที่มันเต้นทั้งตัว มันจะรู้สึกบุ๊บบั๊บทั้งตัวเลย
อันนี้คือละเอียดขึ้นไปอีก
แล้วจะพบว่า...จังหวะการเต้นของหัวใจ
กับชีพจรมันเป็นจังหวะเดียวกัน
เพราะฉะนั้นถ้าเราฝึกไปเรื่อยๆ
แล้วเราอยู่ฐานกายเนี่ย สภาวะมันจะเยอะ
บางทีมันก็เหนื่อยนะ
เคยมั๊ย?... บางทีมันนอนอยู่ฐานกายเนี่ย
เสียงหายใจ เสียงระบบสมอง ระบบประสาท
มันดังเปรี้ยงปร้างเต็มไปหมด
บางทีมันก็เหนื่อยเหมือนกันนะ
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าสอน 4 ฐาน
ไม่ใช่ว่าเราต้องอยู่ฐานเดียว
แต่นี่คือคุณลักษณะของฐานกาย
เพราะฉะนั้นฐานกายมันเป็นฐานที่หยาบ
มันจะทำให้เรารู้สึกถึงความมั่นคง
ถ้ามันละเอียดกว่านี้ มันจะเริ่มลอยๆแล้ว
มันเริ่มเบา เริ่มลอยแล้ว
แต่ฐานกายจะรู้สึก...
เหมือนเราเหยียบพื้นน่ะ เคยสัมผัสพื้นเนี่ย
แล้วรู้สึกมันสัมผัสพื้นแบบเต็มฐานไหม?
เท้าก็สัมผัสเต็ม
ที่นั่งเราก็สัมผัสเต็มพื้น ที่สัมผัส
ความรู้สึกมันเต็มตัวเต็มฐาน
นี่คือ... ฐานกาย
กระแสต่างๆมันจะกลับมาอยู่ที่ตัวเอง
.
แต่ถ้าละเอียดกว่านั้นอีกเนี่ย
เรียกว่ามันหยั่งเข้าไปสู่กายในกาย
เกิดวิปัสสนาญาณ
อันนี้จะรู้สึกถึงการแตกดับของรูปกาย
ที่มันแตกดับยุบยับทั่วทั้งตัวเลย
ที่มันยุบยับทั่วทั้งตัวเลย
อันนี้เป็น... วิปัสสนาญาณ
เป็นการหยั่งเข้าสู่กายในกาย
เป็น... ปรมัตถธรรม
อันนี้คือว่าเรื่องของฐานกาย
คำว่า.. “พรากจากฐานกาย”
นี่เอามาตามพระไตรปิฎกเลย
พระพุทธเจ้าตรัสว่า...
“ พรากจากฐานกายเข้าสู่ฐานเวทนา
พรากจากฐานเวทนาเข้าสู่ฐานจิต
พรากจากฐานจิตเข้าสู่ฐานธรรมานุปัสสนา”
เป็นอย่างไร?...
.
พอเราฝึกรู้กายทั้งกายไปเรื่อยๆ
สัมปชัญญะที่ฐานกาย
ก็คือรับรู้ความรู้สึกของกายทั้งกาย
ก็จะเกี่ยวกับระบบทำงานของร่างกาย
แต่เวลาพราก ก็คือหลุดจากฐานกาย
ไปอยู่ฐานของเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ฐานเวทนามันจะอยู่ซ้อนฐานกายอีกชั้นหนึ่ง
เหมือนความรู้สึกเรา..
เหมือนมันเข้าไปข้างในอีกชั้นหนึ่ง
เหมือนกายหยาบมันเป็นเปลือกหุ้มข้างนอก
บางคนปฏิบัติไป...
จะรู้สึกเหมือนเป็นพลังงานแน่นทั้งตัว
แล้วมีเหมือนฟิล์มหุ้มข้างนอก
กายหยาบเป็นปลือกหุ้มข้างนอก
เพราะว่าฐานเวทนาหรือฐานพลังงาน
มันจะซ้อนใต้ผิวหนังอีกชั้นหนึ่งทั้งตัว
ความรู้สึกตัวในฐานของเวทนาก็เกิดสภาวะได้ต่างๆ
ความรู้สึก... ชาๆ ซ่านๆ คล้ายสนามพลัง
เคยรู้สึกได้ไหม? อันนี้คือความรู้สึกตัว
ในชั้นของพลังงานหรือเวทนา
ไม่ใช่เหน็บกินนะ เหน็บกิน นั่งปุ๊ปมันก็กินอยู่แล้วนะ
แต่ความรู้สึกชาๆเนี่ย
มันเกิดเฉพาะตอนที่เรานั่ง
หรือว่าส่วนอื่นก็เกิดได้... ถูกไหม?
ซ่านๆ... ชาๆ... บางคนไม่เข้าใจสภาวธรรม
นึกว่า เอ๊ะ! เราขาดสารอาหารหรือเปล่า?
ขาดวิตามินหรือเปล่า?
อ้าว! จริงนะโยม บางคนมีโยมมาเล่านะ
มันซ่าน มันชาอยู่นั่นแหละ
ไปหาหมอ หมอให้ฉีดยาหรือกินยา เป็นสิบปีเลย
หลงกินยาฟรีๆ เนี่ย! ความไม่รู้
.
เพราะฉะนั้นเวลาเกิดสภาวะของสมาธิ
มันมีอาการต่างๆ
บางคน... ก็เกิดกระแสความร้อนขึ้นมา
บางคน... ก็รู้สึกเหมือนตัวมันแข็ง
อันนี้คือความรู้สึกตัวในชั้นของสมาธิ
ภาษาพระท่านเรียกว่า "ปีติ"
อาการของปีติมีหลายสภาวธรรม
มันเป็นความรู้สึกตัวในชั้นของเวทนา
หรือฐานพลังงาน
ถ้าละเอียด มันจะเกี่ยวกับสนามพลัง
จนมันเกิดสนามพลังทั่วกาย
มันเกิดการแผ่ซ่านทั่วกาย เป็นชั้นพลังงาน
ตรงนี้จะเกี่ยวกับเรื่อง เกี่ยวกับพวกจักระด้วย
แต่จะไม่ลงอธิบาย มันเป็นเรื่องของศาสตร์บนโลกนะ
พลังจักระ...
จริงๆแล้วจักระมันไม่มีอะไรมาก
มันคือฐานพลังงานของร่างกาย
ร่างกายเราเนี่ยมันขับเคลื่อนด้วยพลังงานของชีวิต
เหมือนรถมันต้องมีน้ำมันใช่ไหม?
หรือแม้กระทั่งปัจจุบันมีรถไฟฟ้า
ก็ต้องใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน
ร่างกายเราก็เช่นกัน
ทุกเซลล์ในร่างกายมันต้องมีพลังชีวิตหล่อเลี้ยง
อาหารที่เรากินเข้าไปเนี่ย
กว่าจะเป็นอาหารของเซลล คืออะไร?
ออกซิเจน แร่ธาตุ และก็พลังงานชีวิต
ที่มันหล่อเลี้ยงทุกส่วน ทุกเซลล์ทั่วร่างกาย
ถ้าว่าโดยศาสตร์ของการแพทย์ก็คือ...
ระบบจักระมันก็คือระบบฮอร์โมน ต่อมไร้ท่อต่างๆ
ตามแกนสันหลังของร่างกายมันมีออกมา
มันคือการระบบพลังงานของร่างกาย
จริงๆ ร่างกายมันก็มีประจุไฟฟ้า
โดยเฉพาะถ้าใครปฏิบัติ
จนมันเกิดความแผ่ซ่านทั่วกายเนืองๆเนี่ย
ถ้าอยู่กับสภาวะนี้เนืองๆ
จะรู้สึกถึงการสดชื่นกระปรี้กระเปร่า
เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังของชีวิต พลังงานสูงมาก
เหมือนเราเป็นแบตเตอรี่ที่มันชาร์จแบตเตอรี่เต็มเลย
พลังมาก มันเป็นพลังงานไง
บางคนเนี่ยรู้ถึงสนามพลังไฟฟ้าเลย
อันนี้คือเวทนาในชั้นของสมาธิ
.
จริงๆ ฐานนี้ก็มีอะไรให้เรียนรู้เยอะ
นำไปใช้ประโยชน์ทั้งสุขภาพจิต สุขภาพกาย
เรื่องประสิทธิภาพการทำงาน
จะอยู่ในชั้นนี้ซะมาก
ถ้าสนใจมันต้องเรียนรู้เฉพาะเลย
ในแต่ละฐานจะมีคุณสมบัติเด่น
อย่างฐานกายมันเป็นเบสิค
แล้วมันเวลามันแก้ปัญหาต่างๆ
ต้องถอยกลับมาฐานกาย แก้ปัญหาสารพัดเลย
ข้อเสียของฐานกายมีอย่างเดียว...
เวลาเราป่วย ถ้าเราสภาวะละเอียดมาก
แล้วเราอยู่ฐานกายนะ
เราจะรับรู้อาการปวดชัดมากเลย
ผลที่ตามมามันทรมานกว่าเดิมอีกหลายเท่าเลย
เพราะฉะนั้นถามว่า...
เวลาปวดควรอยู่ฐานกายไหม?..
ไม่ควร...เวลาป่วยไม่ควรอยู่ฐานกาย
ถ้าเข้ามาอยู่ฐานเวทนาปุ๊ป
อาการปวดอย่างนี้จะเบาลง
เพราะมันเป็นเกี่ยวกับพลังงาน
แต่ถ้าจะสบายกว่านั้น ต้องอยู่ฐานจิตเป็นต้นไป
มันจะเข้าไปอยู่ข้างใน มันก็จะวางกายไง
กายมันก็ปวด แต่ว่าไม่ได้ไปรับรู้อาการปวด
มันอยู่กับใจที่ตั้งมั่นข้างใน
เพราะฉะนั้นสติปัฏฐาน...
พระพุทธเจ้าสอน 4 ฐาน
ผู้มีปัญญาต้องรู้จักใช้ทั้ง 4 ฐาน
มีความฉลาดในการเดินสภาวธรรม
เพราะแต่ละฐานก็มีจุดเด่นในแต่ละฐานแตกต่างกัน
อย่างฐานของเวทนาเกี่ยวกับปีติ
มันจะเกี่ยวกับเรื่องของพลังงานชีวิต
ถ้าเราทำกิจกรรม ทำกิจการงานต่างๆ
มันจะทำให้รู้สึกมีพลัง
มีชีวิตชีวา กระชุ่มกระชวย
มีพลังจิต มีพลังกาย ในการทำกิจการงานต่างๆ
อย่างไปออกกำลังกาย...
ถ้าเราอยู่ฐานเวทนา
เราจะรู้สึกว่ามัน แรงมันดีมากเลย
มันมีพลัง อย่างนี้
เพราะฉะนั้นคนที่มีความชำนาญเนี่ย
เขาสามารถปรับวิหารธรรมให้เหมาะสมได้
ฐานเวทนาจะอยู่ข้างในซ้อนกายหยาบ
กายเวทนาซ้อนอยู่
แล้วเมื่อละเอียดไปอีก วางจากฐานเวทนา
พรากก็คือวางออก เข้าไปสู่ฐานของจิต
ฐานของจิตมันจะนิ่งตั้งมั่นอยู่ข้างใน
หรือจิตผู้รู้เนี่ย จะตั้งมั่นอยู่ข้างใน
ทีนี้จะเริ่มแยกขันธ์เบื้องต้นละ
คือแยกกายกับจิตแล้ว
กายก็ส่วนกาย จิตก็ส่วนจิต
เมื่อมาอยู่ฐานของจิต
มันวางฐานกาย ฐานเวทนา
.
บางมีแม้ในขณะเดิน...
เราจะรู้สึกว่าร่างกายมันเหมือนหุ่นยนต์
ที่มันเคลื่อนไป มันไม่ใช่ตัวเรา
แต่เรามีจิตที่รู้อยู่ มันยังยึดวิญญาณขันธ์อยู่
ใจยังมีความเป็นตัวเราอยู่
แต่กายเนี่ย มันวางแล้ว
มันรู้สึกเหมือนกาย มันเคลื่อนไปเหมือนหุ่นยนต์
เพราะฉะนั้นจิตยึดอยู่กับอะไร
มันก็มีความเป็นตัวตนกับสิ่งนั้นแหละ
จิตที่ไม่มีสติ มันก็จะหลงยึดอารมณ์เลย
เป็นตัวเราทั้งหมดเลย
แต่พอเริ่มมีสติอยู่ฐานกาย
มันก็จะมาวางกาย มาอยู่ฐานกายก่อน
พอวางกายเข้าฐานเวทนา
.
โดยเฉพาะคนที่สภาวะละเอียด
แล้วนามกายมันเคลื่อนออกมาได้
จะพบเลยว่ากายหยาบมันเป็นเพียงแค่ภาชนะ
ความรู้สึกของกายข้างใน
มันสามารถเคลื่อนออกมาได้
พระพุทธเจ้าเรียกว่า...นามกายหรือกายภายใน
จะมีเรื่องของนามกายอยู่
จริงๆสภาวะระดับสมาธิเป็นต้นไป
จะปรากฏสิ่งที่เรียกว่า...นามกาย
ก็คือกายที่มันเป็นนามธรรม
มันเป็นสภาวะของพลังงาน
กายหยาบ... นามกาย...
นามกายก็จะมีระดับของพลังงานคือชั้นเวทนา
แล้วก็ระดับของกายจิต
ที่มันเป็นเรื่องของสภาวะละเอียดแล้ว เบา สงบ
มันจะเกี่ยวกับเรื่องกายของจิตทั้งหมด
สภาวะพวกนี้...
มันจะมีความละเอียดที่ซ้อนอยู่
ท่านเรียกว่า.. รูปนามอย่างหยาบ
แล้วก็รูปนามอย่างละเอียด
.
ฐานจิตมันก็จะมีความตั้งมั่น
พอฝึกไปมากๆ ทีนี้การรับรู้กาย
ความรู้สึกกายเบาลงไปเรื่อยๆละ
แต่ความรู้สึกของจิตมันจะเป็นลักษณะเด่นขึ้นมา ตั้งแต่ความสุข เบาสบาย
หรืออุเบกขา ความสงบตั้งมั่นเนี่ย
มันเป็นอารมณ์ของจิตทั้งนั้นเลย
วางกาย มันวางความรู้สึกของกายแล้ว
แต่ฐานจิตมันจะเด่นขึ้นมา
ก็จะเข้าสู่ฐานของจิตตานุปัสสนา
รู้จิตแทน อยู่ฐานของจิต
.
พอถึงตรงนี้...
การนั่งปฏิบัติเนี่ย จะเริ่มนั่งไปได้เรื่อยๆแล้ว
มันไม่ค่อยปวด ไม่ค่อยเมื่อยแล้ว
ถ้าถึงตรงนี้ขึ้นไป จะนั่งกี่ชั่วโมงมันก็เริ่มนั่งได้ละ
ยิ่งสมาธิละเอียดเนี่นยิ่งนั่งได้นานเลย
.
แล้วมิติข้างในกับมิติข้างนอก
เวลามันจะเริ่มต่างกันแล้ว
อย่างถ้าเราเข้าสมาธิละเอียด ระดับฌานที่ 4
มีความสงบนิ่งข้างใน
บางทีเรารู้สึกว่าเหมือนอยู่ข้างในไม่นานนะ
แต่เวลาข้างนอกมันผ่านไปเร็วมากเลย
เคยเป็นไหม?...เนี่ยคนละมิติเวลาแล้ว
มิติกายภาพข้างนอก กับมิติข้างใน
เนี่ยมันเริ่มรู้ได้ทั้งสองฝั่งมิติแล้ว
เพราะฉะนั้นถามว่า...
ฌาน 4 สามารถใช้ชีวิตปรกติได้ไหม?
ถ้าเป็นมิจฉาสมาธิ... ทำไม่ได้
มันเหมือนคลุมโปง.. นิ่ง อยู่ข้างใน
มันไม่มารับรู้โลกภายนอก
.
แต่ถ้าเป็น สัมมาสมาธิแบบพระพุทธเจ้าทำได้
เพราะว่าข้างในก็นิ่งสงบมาก เป็นอุเบกขา
เป็นมิติที่สงบมาก แต่ข้างนอกก็ยังรับรู้ได้ปกติเลย อันนี้ต้องพิสูจน์ด้วยตัวเอง
เป็นคุณลักษณะเฉพาะของพระพุทธศาสนา
มิติข้างในกับมิติข้างนอกเนี่ย... รับรู้
เพราะฉะนั้นมันถึงมีเรื่องของกายภายใน
แล้วก็กายภายนอก
สติปัฏฐาน 4 พระพุทธเจ้าจะพูดถึง...
กายที่เป็นภายในบ้าง
กายที่เป็นภายนอกบ้าง
มันมีความละเอียดเป็นชั้นๆไป
หรือรูปนามอย่างหยาบ
และก็ รูปนามอย่างละเอียด
มีสุขด้วยนามกาย มีนามกาย
เป็นฌานที่พระพุทธเจ้าสรรเสริญว่า...
เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ มีอุเบกขา
.
เวลาสภาวะละเอียด
ก็จะมีอารมณ์สุขคือโล่งโปร่งเป็นลักษณะเด่น
หรืออุเบกขา มีความเฉยตั้งมั่นเป็นลักษณะเด่น
ถามว่าสุข เบา โล่ง.. .
หรืออุเบกขา เฉย ตั้งมั่น เป็นสภาวธรรมไหม?... เป็น ก็รับรู้สภาวะที่ปรากฏ มีความตื่นรู้ มีความตั้งมั่น
.
ทีนี้พอฝึกไปมากๆ.. .
จากจิตที่มันตั้งมั่น มันนิ่งอยู่ข้างใน
มันจะเริ่มขยายจางคลายตัวออกมา
การรับรู้มันจะกว้างขึ้น.. กว้างขึ้นๆๆ
เราจะรับรู้บรรยากาศรอบทิศทางได้
สภาวะจิตตั้งมั่นเนี่ย มันเหมือนเรานิ่งอยู่ข้างใน
คือรับรู้ข้างในเป็นหลัก
แต่พอสภาวะจิตที่มันจางคลายตัวออกมาเนี่ย
มันจะรับรู้แบบกว้างๆ
เป็นบรรยากาศโดยรอบ รอบทิศทางเลย
อันนี้มันจะเข้าสู่ระดับของวิปัสสนาญาณ
แม้กระทั่งจิตผู้รู้ตรงนี้ ก็จะกลายเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้ เกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริง
.
เพราะฉะนั้นถามว่า...
จะยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาญาณทำอย่างไร?...
หนึ่ง... เจริญกายคตาสติจนมีจิตที่ตั้งมั่นตื่นรู้เนืองๆ
จนจิตมันขยายจางคลายตัวออกมา
เกิดการรับรู้ที่กว้างขึ้นกว้างขึ้นๆๆ
จนรับรู้ได้รอบทิศทางเลย
ภาษาพระเรียกว่า... รู้ ตื่น แล้วก็เบิกบาน
เหมือนดอกบัวโยม เมล็ดพันธ์แห่งพุทธะ
ดอกบัวจากอยู่ใต้โคลนตม
ค่อยๆโตมาอยู่ใต้เปลือกตม
ค่อยๆผุดขึ้นมาจนเหนือผิวน้ำ เป็นดอกบัวตูม
ของโยมผุดมารึยัง?...
หรือจะอยู่ใต้เปลือกตมอยู่ ผุดขึ้นมาหรือยังโยม? พุทธะสภาวะของโยมเนี่ย ผุดหน่อยน่ะโยม
อุตสาห์เข้าคอร์สตั้งเจ็ดวัน ใส่ปุ๋ยเพิ่มๆๆ
ผุดขึ้นมาเหนือผิวน้ำเป็นดอกบัวตูม
พอมันเติบโตเต็มที่เป็นไงโยม?
เบิกบาน... การรับรู้ก็จะกว้างขึ้น
ธรรมทั้งหลายก็จะปรากฏตามความเป็นจริง
.
เพราะฉะนั้นคำว่า... พุทธะสภาวะ
หรือ รู้ ตื่น เบิกบาน เนี่ย
มีทั้งระดับโลกียธรรม และระดับโลกุตตรธรรม
เกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริง
พระพุทธเจ้าตรัสว่า...
เจริญวิปัสสนาญาณแล้วดีอย่างไร?
เจริญวิปัสสนาญาณแล้ว ปัญญาจะเจริญ
ปัญญาคือรู้แจ้งแห่งความเข้าใจ
พอเห็นสภาวะปรากฏตามความเป็นจริง
มันเกิดความเข้าใจ รู้รอบตามความเป็นจริง
เมื่อปัญญาเจริญจะละอวิชชาได้
สามารถถอดถอนอุปทาน
หลุดจากการยึดมั่นในธาตุในขันธ์
ตรงจิตตั้งมั่นเนี่ย ยังยึดตัวรู้ ยึดวิญญาณขันธ์อยู่
แต่พอเกิดเบิกบานปุ๊ป!
ตัวรู้ก็กลายเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้
แล้วก็สลัดคืนจนสลายไป
.
เมื่ออวิชชาสลายไป ปฏิจจสมุปบาทสลายไป
ก็จะเข้าสู่อมตธรรม
สภาวะที่จะเจอก่อนคือสิ่งที่เรียกว่านิโรธ
“นิโรธ” ก็คืออะไร?... อวิชชามันดับ
พออวิชชาดับ จะเข้าถึงเนื้อธรรมชาติดั้งเดิม
ว่างอยู่ รู้อยู่ ไม่ใช่ไม่รับรู้นะ รับรู้
แต่การรับรู้... ระดับโลกุตตระ
เพราะฉะนั้นเครื่องมือในการรับรู้เนี่ย
มีทั้งระดับโลกียธรรม และโลกุตตรธรรม
โลกียธรรมก็คือ... วิญญาณขันธ์ใช้ในการรับรู้
• ตาเกิดเห็น
• จิตเกิดที่หูเกิดการได้ยิน
• เกิดที่จมูกเกิดการได้กลิ่น
• เกิดที่ลิ้นเกิดการลิ้มรส
• เกิดที่กายเกิดสัมผัสทางกาย
วิญญาณขันธ์เป็นเครื่องมือในการรับรู้
แต่ระดับโลกุตตระเนี่ย ภาษาพระท่านเรียกว่า
"ญาณ หรือ ธรรมจักษุ"
.
เวลาวงรอบปฏิจจสมุปบาทหลักดับ
สิ่งที่เหลืออยู่ พระพุทธเจ้าตรัสว่า...
วิมุตติ ญาณทัสสนะ การรู้เห็นอันหมดจด
เป็นเรื่องของอมตธรรม หรือ ธรรมจักษุ
ธรรมจักษุเนี่ยจะไม่ยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งใดๆ
เพราะฉะนั้น...
เมื่อเข้าถึงสภาวะนี้แล้วสามารถสลัดคืนได้
จะเข้าถึงเนื้อธรรมที่บริสุทธิ์กว่านั้น
ที่เรียกว่า "นิพพานธาตุ"
พระพุทธเจ้าตรัสว่า...
อายตนะนั้นมีอยู่ ที่ดิน น้ำ ลม ไฟ
อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ
อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์ พระอาทิตย์ไม่ปรากฏ ปราศจากรูปนามขันธ์ห้า
นั่นคือเนื้อธรรมชาติที่บริสุทธิ์ที่เรียกว่า...
... "นิพพานธาตุ"
.
นิโรธเนี่ยยังไม่ใช่เนื้อบริสุทธิ์
เป็นเนื้อของอวกาศดั้งเดิม
แต่เนื้อที่บริสุทธิ์ที่เรียกว่านิพพานธาตุเนี่ย
จะมีความสงบ เป็นปึกแผ่น เป็นภราดรภาพ
ตรงนี้จริงๆมันเป็นเรื่องละเอียดที่ต้องลง Detail
ในธรรมชาติฟากที่มันเป็นเรื่องของอสังขตธรรม
เพราะฉะนั้น...
เนื้อธรรมที่รูปนามขันธ์ 5 ไม่ปรากฏ
วิญญาณขันธ์ก็ไม่ปรากฏ
แล้วเราจะนิพพานได้อย่างไร?
นิพพานได้อย่างไร?... ถามกลับ!
คำว่า...”จิตมีนิพพานเป็นอารมณ์” คืออะไร?
ก็ในเมื่อสภาวะนิพพานจิตก็ไม่เกิด
อารมณ์ก็ไม่มี สิ่งนั้นอารัมมณะ ไม่มีอารมณ์
จิตมีนิพพานเป็นอารมณ์
ก็ในเมื่อสภาวะนิพพาน ไม่มีอารมณ์
ไม่มีรูปนามขันธ์ 5
จิต วิญญาณขันธ์ก็ปรากฏไม่ได้
จะเข้าถึงได้ต้องเข้าถึงสภาวะที่เรียกว่า
สลายวิญญาณขันธ์ก่อน
วิญญาณขันธ์ก็ตั้งอยู่ไม่ได้
พระพุทธเจ้าอุปมาเหมือน...
เปลวเทียน..ดับวุ๊บ!
นั่นแหละสภาวะวิญญาณขันธ์หรือ ปฎิจจะ
ถึงจะเข้าถึงเนื้อธรรมที่บริสุทธิ์
.
เพราะฉะนั้นทุกคนมีส่วนหนึ่งของอมตธรรมอยู่
ที่เรียกว่า... พุทธะสภาวะ
แต่มันถูกอวิชชาห่อหุ้มอยู่
แล้วก็วิบากกรรมที่รายล้อมอยู่
วงปฏิจจะที่ขับเคลื่อนไป เป็นวังวล
การที่จะสลัดคืนแล้วสลายอวิชชาอออกไป
ส่วนของอมตธรรมตรงนี้แหละ
ที่จะเข้าถึงเนื้อนิพพานธาตุได้
เพราะว่ามันคือสิ่งเดียวกัน
.
แต่ถามกลับว่า... แล้วอมตธรรมที่ทุกคนมี
ส่วนหนึ่งใช่นิพพานไหม?.. ไม่ใช่
เป็นความบริสุทธิ์ก็จริง แต่ว่าไม่ใช่นิพพาน
เพราะว่ายังถูกอวิชชาห่อหุ้ม
มีวิบากกรรมที่รายล้อมอยู่
แต่เราฝึกสติปัฏฐานเนี่ย
เราสามารถถอดถอนอุปทาน
เพื่อเข้าถึงความบริสุทธิ์ชั่วคราวได้
จะเข้าถึงความบริสุทธิ์แบบถาวรเนี่ย
ต้องเคลียร์ทุกอย่างก่อน วิบากกรรมทั้งหมด
ชำระล้างบาปและอกุศลธรรมทำให้หมดสิ้นไป
เพราะฉะนั้นมีแต่พระอรหันต์เท่านั้น
ที่เป็นผู้มีสติสมบูรณ์ เป็นผู้ตื่นอย่างแท้จริง
และบริสุทธิ์ตลอดกาล
อย่างพวกเราก็อาจจะตื่นบ้าง หลับบ้าง
มันจะหนักเรื่องของหลับมากกว่า
แต่วันนึงมันตื่นสักแป๊บนึงก็ยังดีน่ะโยม..
นะ! ให้มันตื่นบ่อยๆนะ อย่าไปคาดหวัง
ว่าโยมจะตื่นตลอดเวลา
มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่เป็นผู้มีสติสมบูรณ์
เพราะว่าไม่มีสิ่งดึงรั้งเลยโยม
อย่างเราบางทีมันหลับใหล
เพราะว่าวิบากมันดึง พันธนาการมันดึง
ทุกเรื่องที่เกิดในชีวิตเราเนี่ย
ไม่มีอะไรบังเอิญหรอก วิบากมันชักนำไป
ก็ต้องชำระกันไป
.
แล้วเราชำระด้วยอะไร?...
พระพุทธเจ้าตรัสว่า... สติปัฏฐาน 4
สามารถชำระล้างบาปและอกุศลธรรมให้หมดสิ้นไป
ฝึกสติปัฏฐาน 4 เพื่อเข้าถึงความบริสุทธิ์เนืองๆ
ความบริสุทธิ์ตรงนี้แหละ
เติมตัวเองให้มากในทุกๆวัน
มันจะไปชำระล้างบาปและอกุศลธรรม
จนมันหมดสิ้นไปโยม
เมื่อใดที่โยมชำระจนมันหมดสิ้น.. ถึงจะดับรอบ
ที่เรียกว่าพระอรหันต์ เป็นผู้ที่มีสติสมบูรณ์
จึงจะเข้าสู่นิพพานโดยสมบูรณ์ได้
อย่างเราๆก็สามารถหลุดพ้นได้ชั่วคราว
เอ๊ะ! ทำไมเวลานำเข้าสภาวะ
เออ! มันบริสุทธิ์นะ! แต่เวลาปรกติ
กิเลสมันก็เกิดขึ้นได้ไหม?... ได้ หลุดพ้นชั่วคราว
ก็ชิมลางไปก่อน ค่อยๆปฏิบัติไป
ทำให้มากเจริญให้มาก
เพื่อสะสมบารมีธรรมให้แก่ตนเอง
แล้วเมื่อใดก็ตามที่เราสะสมจนมันเต็มรอบ
เราก็มีโอกาสที่จะหลุดพ้นเป็นสมุจเฉทประหานได้
.
ตอบตรงคำถามหรือเปล่าไม่รู้...
ก็พอสมควรแก่เวลาไว้แต่เพียงเท่านี้
ขอความผาสุกความเจริญในธรรม
จงมีแก่ทุกท่านเทอญ
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
.
สมาธิ หรือที่เรียกว่าฌาน
มีอยู่ 2 ลักษณะ ที่พระพุทธเจ้าแบ่งไว้
คือสิ่งที่เรียกว่า...มิจฉาสมาธิ กับ สัมมาสมาธิ
สัมมาสมาธิ ก็คือ ความตั้งมั่นที่ถูกต้อง
ส่วนมิจฉาสมาธิ ก็คือ ความตั้งมั่นที่ยังไม่ถูกต้อง
ถูกต้องอย่างไร?..
คือตรงต่อการหลุดพ้นจากทุกข์
ถ้าว่าโดยฌาน องค์ฌานเหมือนกันเลย
มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ถามว่า... แล้วอะไร คือความแตกต่าง?
.
ตอนที่พระพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก็ทรงได้ไปเรียนฌานสมาบัติ
กับอาฬารดาบสและอุทกดาบส
ทรงสำเร็จทั้งรูปฌาน และอรูปฌาน
สมาบัติทั้ง 8 เลย
แต่ทรงพบด้วยพระองค์เองว่า...
ยังไม่ใช่หนทางหลุดพ้น จากนั้นจึงทรงทิ้ง
แล้วไปแสวงหาโมกขธรรมต่อ
จนสามารถเจริญอานาปานสติ
จนรู้แจ้งอริยสัจ 4
ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แล้วก็ทรงวางแนวทาง
ที่จะให้สรรพสัตว์ได้เดินตาม
ทรงเรียกว่าหนทางนี้...เป็นหนทางอันประเสริฐ
ที่จะทำให้หลุดพ้นจากทุกข์ได้
ที่เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ 8
ในข้อที่ 7 คือสัมมาสติ การระลึกรู้ที่ถูกต้อง
ในข้อที่ 8 คือสัมมาสมาธิ ความตั้งมั่นที่ถูกต้อง
.
พระพุทธเจ้าตรัสว่า...
สงัดจากกาม และ อกุศลธรรม
เข้าถึงปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
ทรงตรัสว่า...ทำให้มาก เจริญให้มาก
น้อมไปเพื่อพระนิพพาน
องค์ฌานเหมือนกันเลย
อะไร?... คือความแตกต่าง นี่คือคำถาม?
เป็นสิ่งที่ชาวพุทธควรทำความเข้าใจให้ชัดเจน เพราะว่ามันไปคนละทาง
เหมือนโยมจะไปเชียงใหม่ขึ้นเหนือ
แต่โยมลงใต้มันจะถึงไหม? มันไปคนละทาง
ต่อให้โยมมุ่งมั่นตั้งใจฝึกมากเท่าไร
แต่ถ้าโยมฝึกผิดทาง.. มันไปคนละทาง
บางทีมันไกลกว่าเดิมอีก
.
เพราะฉะนั้นสมัยนี้ ที่เขาใช้คำว่า “สมถะ”
“สมถะ” แปลว่า ความสงบ
ส่วนใหญ่แล้วครูบาอาจารย์ท่านพูดถึงสมถะ
ที่มันเป็นมิจฉาสมาธิ
แต่ว่าคำว่า “สมถะ” หรือ “สมาธิ”
ในความหมายพระพุทธเจ้าสอน
เวลาพระพุทธเจ้าสอนเนี่ย
พระพุทธเจ้าจะสอน สิ่งที่เรียกว่า “สัมมาสมาธิ”
ซึ่งตรงนี้จะตรงกับครูบาอาจารย์สมัยนี้
ที่ใช้คำว่า “สมาธิในสายวิปัสสนา”
.
เพราะฉะนั้น...
ถ้าเราจะทำความเข้าใจให้ตรง
ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าวางไว้
เราต้องแยกออกมาระหว่าง
มิจฉาสมาธิ กับ สัมมาสมาธิ
มิจฉาสมาธิ เป็นสิ่งที่เขาฝึกกันมาอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าไม่ได้อุบัติขึ้น
เขาก็สอนกันมาอยู่แล้ว
แล้วเขาก็ได้ฌานสมาบัติ ได้อภิญญา
แต่เขาไม่มีขีดความสามารถที่จะพ้นจากทุกข์ได้
แต่สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเนี่ย
“ หลุดพ้นจากทุกข์ได้ ”
แล้วเราจะแยกแยะได้อย่างไรว่า
เราฝึกวิชาที่แท้จริงที่พระพุทธเจ้าทรงสอน
ไม่ฝึกผิดทางแล้วเสียโอกาส
เพราะว่าสมาธิแบบมิจฉาเนี่ย
ไม่พบพระพุทธศาสนาก็ฝึกได้อยู่แล้ว
สัมมาสมาธิ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร?
สัมมาสมาธิเกิดขึ้นมาได้
ก็เกิดจากการเจริญสติปัฏฐาน หรือ สัมมาสติ
จนสงัดจากกาม และ อกุศลธรรม
เข้าถึงปฐมฌาน
สภาวะของปฐมฌานไม่ได้มีอะไรมาก
ก็คือ “ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม”
.
เพราะฉะนั้นข้อแตกต่าง
ระหว่างมิจฉาสมาธิ กับ สัมมาสมาธิ
ก็คือ สัมมาสมาธิ จะประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง
แยกง่ายๆ เลย...
มิจฉาสมาธิส่วนใหญ่อยู่กับนิมิต... ของปลอม
แต่สัมมาสมาธิ เป็นของจริง
เป็นสภาวะจริง เป็นปรมัตถธรรม
ปีติเป็นสภาวธรรมไหม?
สุขเป็นสภาวธรรมไหม?
อุเบกขาเป็นสภาวธรรมไหม?
เป็นสภาวธรรม...ไม่ได้อยู่กับนิมิต
แต่ไม่มิจฉาสมาธิจะอยู่กับนิมิตเป็นอารมณ์
มีปีติ สุข เช่นกัน แต่ว่าอยู่กับนิมิตเป็นอารมณ์
แต่สัมมาสมาธิไม่ได้อยู่กับนิมิต
อยู่กับของจริง อยู่กับสภาวธรรม
ซึ่งสภาวธรรมในระดับสมาธิก็คือ
ปีติ สุข และก็อุเบกขา อันนี้เป็นสภาวธรรม
ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ชุ่มไปด้วยปีติและสุข
เอิบอาบซาบซ่านทั่วทั้งกาย
ไม่มีส่วนใดของกายที่ปีติไม่ถูกต้อง
ประดุจว่าแช่อยู่ในน้ำ จะเกี่ยวกับสรรพางค์กาย
คือรู้กายทั้งกายหมดเลยโยม
อาการแผ่ซ่าน ทั้งกายต่างๆ
อันเนี่ยสัมมาสมาธิ อยู่กับความเป็นจริง
อยู่กับสภาวธรรม
.
เพราะฉะนั้น ฝึกสติปัฏฐานเนี่ย
มันจะเกิดจนสติตั้งมั่น
ก็คือสิ่งที่เรียกว่าสัมมาสมาธิ แล้วก็ไต่ระดับไป
ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า...
สมาธิทุกขั้นตอน เป็นบาทฐานของวิปัสสนา
สามารถทำอาสวักขยญาณให้เกิดขึ้นได้
เวลาพูดถึงสมาธิเนี่ย...
พระพุทธเจ้าจะเริ่มตั้งแต่ปฐมฌานเป็นต้นไป
พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัส ขณิกสมาธิ
หรืออุปจารสมาธิ โยม
โยมไปศึกษาในพระไตรปิฎก
ชั้นพระพุทธพจน์ได้เลย
พอพูดถึงสมาธิ.. พระพุทธเจ้าจะเริ่มต้นตั้งแต่
สงัดจากกามและอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน
แล้วการเข้าถึงปฐมฌาน ไม่ใช่สิ่งที่ยาก
อย่างที่พวกเราเข้าใจกัน
พระพุทธเจ้าตรัสว่า...
มีสติรู้ลมหายใจเข้าออกแม้เพียงชั่วขณะหนึ่ง
ไม่ว่างจากฌาน
ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
ไม่ฉันข้าวของชาวแว่นแคว้นเสียเปล่า
จะกล่าวไปใยถึงผู้มากด้วยอานาปานสติเล่า
ขณะมีสติเจริญอานาปานสติแม้ชั่วขณะหนึ่ง
พระพุทธเจ้าตรัสว่าไม่ว่างจากฌาน โยม...
เพราะว่าขณะนั้นน่ะจิตเข้าถึง...
สงัดจากกาม และอกุศลธรรม
เพียงแต่ว่ามันยังไม่ทรงตัวไง
แต่ถ้าพูดถึงความทรงตัวจริงๆ
คือต้องระดับตั้งมั่นใช่ไหม
ฝึกไปเรื่อยๆทำให้มากจนมีสติตั้งมั่น
ในขณะที่สงัดจากกามและอกุศลธรรม
ขณะนั้นเป็นปฐมฌานโดยธรรมชาติเลย
โยมลองฝึกทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
สังเกตไหม? จิตตั้งมั่น...
มันสงัดจากกามและอกุศลธรรม
มันเกิดปีติ มันเกิดสุขขึ้นมา
เพราะฉะนั้นคำว่าฌานนี่...
ไม่ใช่อะไรที่ยุ่งยากซับซ้อนเลย
ถ้าเราศึกษาตามที่พระพุทธเจ้าสอนนะ
.
เพราะฉะนั้นเนี่ย
ฝึกสติปัฏฐาน จะมีทั้งสัมมาสมาธิ
แล้วก็เมื่อเข้าถึงสัมมาสมาธิ สามารถพลิกไปมา
ระหว่างสมาธิ และวิปัสสนาญาณได้
ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า...
สมาธิทุกขั้นตอน เป็นบาทฐานของวิปัสสนา
สามารถทำอาสวักขยญาณให้เกิดขึ้นได้
ทรงไต่ลำดับตั้งแต่ปฐมฌานเป็นต้นไป
ทรงตรัสว่า...
ในปฐมฌานมีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ภายในสภาวะของปฐมฌานเนี่ย
เธอพิจารณาเป็นดุจโรค...เป็นดุจหัวฝี
ทรงสอนไว้ 11 ประการ
จากนั้นน้อมจิตเข้าสู่อมตธาตุ
นั่นสงบ...นั่นระงับ...นั่นประณีต
ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
วิธีการพลิกโยม...
น้อมจิตเข้าสู่อมตธาตุ จะทำได้ตั้งแต่ปฐมฌาน
คือต้องมีสติตั้งมั่นก่อน
พอมีสติตั้งมั่นสามารถพลิกเป็นวิปัสสนาญาณได้
เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณ
สามารถทำอาสวักขยญาณให้เกิดขึ้นได้
แล้วก็ไต่ลำดับไป ชั้นที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ
อากิจจัญญายตนะ พลิกไปมาได้เช่นกัน
ตรงนี้สอนธรรมได้ด้วย
คือเรียนตามพระสูตรแล้ว
สอนฝึกให้เห็นแจ้งตามนี้ได้ด้วย
พอทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อมปุ๊บ มันเป็นแก่นโยม
มันพลิกไปมาระหว่างสมถะ...กับ...วิปัสสนาได้
แต่เราต้องเข้าใจสมถะ ตรงนี้มันเป็นสัมมาสมาธิ
เราอาจจะเคยได้ยินว่า...
สมถะ ถ้าจะพลิกเป็นวิปัสสนา
ต้องถอยกลับมาอุปจารสมาธิ...จึงจะพลิก
อันนั้นไม่ใช่สมาธิแบบพระพุทธเจ้าโยม
เป็นมิจฉาสมาธิ มิจฉาสมาธิพลิกไม่ได้
ต้องกลับมาเป็นสัมมาสมาธิก่อน
แต่สมาธิที่พระพุทธเจ้าสอนพลิกได้โยม
แล้วระหว่างฌานกับญาณ
พลิกไปมาได้ตลอดเวลาเลย
เราเคยได้ยินว่าฌานที่ 4
จะเจริญวิปัสสนาต้องถอยมาอุปจารสมาธิก่อน
นั้นไม่ใช่สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน
แต่ถ้าเป็นสมาธิที่พระพุทธเจ้าสอน
ฌานที่ 4 พลิกเป็นวิปัสสนาได้เลยโยม
แล้ววิปัสสนาของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ขณิกสมาธิ
แต่เป็นเห็นการแตกดับของจิต
ในระดับของวาระจิต
ถ้าเราศึกษาตาม...
ให้ตรงตามพระพุทธเจ้านะ
อันนี้ถึงจะเป็นข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง
แล้วไม่ออกนอกทาง
มีพระสูตรรับรองในทุกๆขั้นตอนที่ทรงสอน
แล้วสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนไว้
พระองค์ตรัสไว้เลยว่า...
ตั้งแต่ที่พระองค์ทรงแสดงธรรมครั้งแรก
จนจะเสด็จดับขันธเข้าสู่ปรินิพพาน
ทุกอย่างไม่มีอะไรขัดกันเลย
สอดรับเป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด
เนี่ยระดับพระพุทธเจ้าสอนโยม
ลึกซื้งมากนะ
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
.................................................
ลักษณะการฝึกมิจฉาสมาธิ
เกิดจาก... การฝึกมิจฉาสติ
รูปแบบก็มักจะฝึกเพ่งจดจ่ออยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง
ที่เรียกว่าการฝึกโฟกัส
ส่วนใหญ่ก็จะอยู่กับนิมิตเป็นอารมณ์
เช่น ฝึกเป็นนิมิตกสิณขึ้นมา
ถ้าฝึกลมก็จะเพ่งลม จนมันเป็นนิมิตลม
จนเป็นลมหายใจอานาปาขึ้นมา
อยู่กับนิมิตจุดเดียว จนมันเป็นสมาธิ
ไต่ระดับไปรูปฌาน แล้วก็ขึ้นสู่อรูปฌาน
อยู่กับสมมุติบัญญัติทั้งหมด
มันขาดสัมปชัญญะ
คือมันขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
.
แต่แนวทางของพุทธศาสนาที่พระองค์ทรงสอน
เกิดจากสัมมาสติ การระลึกรู้ที่ถูกต้อง
ก็คือ การรู้สึกกาย รู้สึกใจขึ้นมา
รู้ธรรมเฉพาะหน้า รับรู้สภาวะที่ปรากฏ
รับรู้ของจริง อยู่กับความเป็นจริง
จนเกิดสัมมาสมาธิ ความตั้งมั่นที่ถูกต้อง
สภาวะของความตั้งมั่นที่ถูกต้อง
จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า การรู้สึกทั้งตัว
หรือรู้สึกตัวทั่วพร้อมขึ้นมา
เมื่อเกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
จะสงัดจากกาม และอกุศลธรรม
เข้าถึงปฐมฌานโดยธรรมชาติ
จะเกิดสภาวะของปีติสุขขึ้นมา
ปีติสุขมันเป็นสภาวธรรม
เช่น ขนลุกทั้งตัว แผ่ซ่านทั้งตัว
กระแสพลังงานต่างๆที่ไหลเวียน
มันเป็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้น
รับรู้สภาวะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง
แต่ถ้าเป็นมิจฉาสมาธิปุ๊บ
เขาจะอยู่กับนิมิตที่เป็นตัวสมมุติ
เขาไม่ได้อยู่กับสภาวธรรม
จะขาดสัมปชัญญะ
แต่พอเป็นแนวทางที่ถูกต้องปุ๊บ
สัมปชัญญะ สติสัมปชัญญะจะเป็นตัวชี้วัด
รู้สภาวธรรมตามความเป็นจริง
แล้วจะไต่ระดับนี้ขึ้นไปเรื่อยๆ
จะเป็นเรื่องของอารมณ์ปลด
เป็นสมาธิที่เกิดจากการปล่อยวาง
ก็คือนิวรณ์ เครื่องกั้นจิตต่างๆละออกไป
ก็จะเข้าถึงปฐมฌาน
เหลือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมขึ้นมา
วิตก วิจาร ละออกไป
ก็จะเข้าถึงทุติยฌาน
มีความปีติแผ่ซ่าน มีความสุขเบาสบาย
มีธรรมอันเอกปรากฏขึ้น
เกิดความตั้งมั่นที่ถูกต้อง
แล้วก็ปีติละออกไป...เข้าถึงสุข
ที่เรียกว่า...มีสุขด้วยนามกาย
เป็นฌานที่พระอริยเจ้าเจ้าสรรเสริญ ว่า..
เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ มีอุเบกขา เข้าถึงฌานที่ 3
จากนั้นสุขก็ละออกไป เข้าถึงอุเบกขา
ความสงบตั้งมั่น
สติเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่
เพราะฉะนั้น สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ
มิจฉาสมาธิจะอยู่กับของปลอมที่เป็นนิมิต
เป็นสมมติบัญญัติ
ส่วนสัมมาสมาธิ
จะอยู่กับสภาวะตามความเป็นจริง
อยู่กับสภาวะธรรมชาติของกายของใจ
ตามความเป็นจริง
จนหลุดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่น
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
ในสติปัฏฐานเนี่ย พระพุทธองค์ทรงพูดถึง
• พิจารณากายในกาย
• พิจารณาเวทนาในเวทนา
• พิจารณาจิตในจิต
• พิจารณาธรรมในธรรม
ทำไม? พระองค์ไม่ใช้คำว่า
กาย - เวทนา - จิต - แล้วก็ธรรม
แต่ทรงใช้คำว่า...
กายในกาย - เวทนาในเวทนา
จิตในจิต - ธรรมในธรรม
เพราะว่ามันมีความหมายที่ลึกซึ้งกว่า
เพราะฉะนั้น...
ถ้าเราศึกษาในมหาสติปัฏฐานสูตร
พิจารณากายที่เป็นภายในบ้าง
พิจารณากายที่เป็นภายนอกบ้าง
พิจารณากายทั้งภายในภายนอกบ้าง
ตรงนี้มันมีความลึกซึ้งเป็นระดับอยู่
เช่น กายภายใน กับ กายภายนอก
เราจะนึกถึงอะไร?...
ถ้าขั้นต้นกายภายนอก
ก็นึกถึงสิ่งที่อยู่นอกตัวเราใช่ไหม?
กายภายในก็คือ ตัวเรา
หรือว่า.. คำว่าพิจารณากายในกายเนี่ย
พระพุทธเจ้าตรัสว่า
อานาปานสติ คือลมหายใจ ก็เป็นกายอันหนึ่ง
อันนี้ก็จะมีระดับนัยยะ คือระดับชั้นสัมมาสติ
แต่เมื่อละเอียดลึกลงไปเนี่ย
กายหยาบเรา ก็คือกายภายนอก
เช่นลมหายใจ เช่น การกระเพื่อม
เช่นการเต้นหัวใจ ชีพจร เรื่องของกาย
แต่มันจะมีกายในกายที่รายละเอียดออกไป
ที่เรียกว่ามันเห็นการแตกดับของรูปกาย
อันนี้เป็นวิปัสสนาญาณ
พิจารณากายในกาย
.
พอโยมฝึกไปมากๆ มันหยั่งเข้าสู่ญาณ
มันเกิดขึ้นเนี่ย
โยมจะรู้สึกถึงการแตกดับของรูปกาย
ที่มันยุบยับทั้งตัวเลย
สภาวะตรงนี้ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า...
รูปแตกดับประดุจฟองน้ำ ประดุจต่อมน้ำ
รู้จักต่อมน้ำไหม? มันยิบยับๆเนี่ย
รูปกายมันก็แตกดับยุบยับทั้งตัวเลย
ใครที่ฝึก จนมารู้สึกยิบยับทั้งตัว
นั่นแหละวิปัสสนาญาณเกิดแล้ว
เวทนาแตกดับ ประดุจฟองน้ำ
แม้กระทั่งในชั้นเวทนาเนี่ย
เราจะรู้สึกถึงกระแสพลังงาน
.
แต่ถ้าเป็นพิจารณาเวทนาในเวทนา
มันจะลึกซึ้งกว่านั้น มันเป็นปรมัตถธรรม
โยมจะรู้สึกถึงการแตกดับของเวทนาในเวทนา
มันจะประดุจแบบฟองน้ำเลย ยิบยับทั้งตัว
เพราะฉะนั้นยิบยับ
รูปกาย กับ นามกายเนี่ย มันต่างกัน
รูปกายมันจะอยู่ข้างนอก
แต่นามกายมันจะเข้าไปอีกชั้นนึงลึกเข้าไป
ฐานกายรู้สึกการหายใจ
รู้การเต้นหัวใจ ชีพจร รู้กายทั้งกาย
พอเข้าไปสู่กายในกายปุ๊บ
รู้การแตกดับของรูปกาย เป็นปรมัตถธรรม
เป็นสภาวธรรมที่เป็นระดับปรมัตถธรรม
มันจะละเอียดลึกซึ้งลงไป
.
ส่วนฐานเวทนาเนี่ย
สภาวะเวทนาก็จะรู้สึกถึงปีติ
หรือกระแสพลังงานแผ่ซ่าน ซาบซ่านทั่วกาย
แต่พอหยั่งเข้าสู่วิปัสสนาญาณ
เข้าถึงเวทนาในเวทนาเนี่ย
จะรู้สึกถึงการแตกดับของเวทนา
ที่ประดุจฟองน้ำเลย ยุบยับทั้งตัวเลย
ถ้าฝึกไปแล้วมันยุบยับทั้งตัว
อาการซ่านกับอาการยุบยับมันต่างกัน
มันจะรู้สึกยิบยับแตกดับ
เหมือนประดุจฟองน้ำจริงๆเลยโยม
รูปกายนามกายที่แตกดับตรงนี้
.
เพราะฉะนั้นคำว่าพิจารณาเนี่ย
ภาษาพระ เวลาใช้คำว่าพิจารณา
โยมจะนึกถึงอะไร?
ถ้าสมัยนี้ ก็นึกถึงการคิดเอาใช่ไหม?
แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่การคิดเอา
เป็นเรื่องของการ "เห็นสภาวธรรม"
แยกออกไหม?...
เห็นสภาวะ กับ การคิดเอา
มันคนละเรื่องเลย
คิดเอา มันเป็นสัญญาอยู่เลยโยม
ที่เรียกว่าวิปัสสนึก มันนึกเอา มันไม่ได้เห็น
แต่วิปัสสนามันเกิดการเห็นตามความเป็นจริง
รับรู้สภาวะที่ปรากฏ
.
โดยเฉพาะในขั้นวิปัสสนาเนี่ย
มันจะไม่ยึดติดเลย
สภาวะของวิปัสสนาญาณเนี่ย
จะเป็นประดุจหยดน้ำบนใบบัวเลย
โยมรู้จักหยดน้ำบนใบบัวไหม?
เวลาหยดน้ำมันหยดลงใบบัว เป็นไง?
มันกลิ้งออก มันไม่ซึมซาบโยม
สังขตธรรม กับ อสังขตธรรม ไม่ละคนกัน
ในขณะวิปัสสนาญาณ
ประตูแห่งอมตธรรมได้เปิดออกแล้ว
เหมือนน้ำกับน้ำมัน ที่ไม่ละคนกันเลย
เพราะฉะนั้น ธรรมจักษุเนี่ยจะเป็นการเห็น
ที่ปราศจากการยึดมั่นถือมั่น
.
ส่วนพิจารณาจิตในจิต
ถ้าสภาวะฐานจิตธรรมดา
ก็จะเป็นสภาวะที่จิตตั้งมั่น.. นิ่ง
แต่พอเป็นจิตในจิตเนี่ย
จะเห็นการแตกดับของจิต
มันจะเห็นกระแสธรรมอารมณ์
ที่ผุดขึ้นมาจากใต้ลิ้นปี่
ใครที่สภาวะละเอียด
เวลามีความรู้สึกผุดขึ้น.. รู้สึกได้ไหม?
มันจะเป็นกระแสที่ผุดขึ้นมา
ถ้าละเอียดมันจะเป็นพลังงานที่ผุดขึ้นมา
ก่อนที่จะเป็นความโลภ ความโกรธ
หรือเป็นความรู้สึกต่างๆ
มันจะเป็นกระแสที่ผุดขึ้นมา
ถ้าละเอียดกว่านั้น
เราจะเห็นเวลากระแสผุดขึ้นมา
แล้วจิตมันส่งออกไปรับสิ่งเหล่านี้เป็นอารมณ์
แล้วมันปรุงออกมาเป็นตัวเราขึ้นมา
เค้าเรียกว่าเห็นการทำงานของจิต
นั่นคือการพิจารณาจิตในจิต
หรือครูบาอาจารย์ ท่านเรียกว่า
"ญาณเห็นจิต"
ตรงญาณเห็นจิตตรงนี้
จิตที่เกิดดับ กับ สิ่งที่เห็น การเกิดดับของจิต
มันคือคนละสิ่งกัน
ที่พูดถึงการรับรู้ระดับโลกียธรรม
และ ระดับโลกุตตรธรรม มันต่างกัน
พอเราฝึกฝนพัฒนาสติ
จนเกิดภาวะจิตที่ตั้งมั่นขึ้นมา
ที่เรียกว่า เกิด “เอโกทิภาวะ”
(เอโกทิภาวะ = คือภาวะแห่งความเป็นหนึ่ง)
จิตที่ตั้งมั่น หรือครูบาอาจารย์ เรียกว่า "จิตผู้รู้"
มันยังมีอาการยึดมั่นในจิต หรือตัวรู้อยู่
มันยังมีตัวรู้เป็นตัวเราอยู่
.
พระพุทธเจ้าจะสอนต่อไปนี้
เรียกว่า "เปลื้องจิต"
หรือ "น้อมจิตเข้าสู่อมตธาตุ"
อมตธาตุโผล่มาแล้วนะโยม
นั่นสงบ นั่นระงับ นั่นประณีต ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
ในพระสูตร พระองค์จะพูดถึงอย่างนี้
"ไม่เปลื้องจิต"... ในอานาปานสติ 16 ขั้น
จะเรียกว่า เปลื้องจิต หรือทำจิตให้ปล่อยอยู่
ในพระสูตรอื่นจะพูดถึง
สภาวะที่เรียกว่า" น้อมจิตเข้าสู่อมตธาตุ"
นั่นสงบ นั่นระงับ นั่นประณีต ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
เธอดำรงในวิปัสสนาญาณ
เห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง
สามารถทำอาสวักขยญาณให้เกิดขึ้นได้
สภาวะตรงนี้ทำกันอย่างไร?
.
ตรงที่จิตตั้งมั่น มีความเป็นหนึ่ง ตัวรู้เนี่ย
เมื่อเราสามารถเปลื้องจิตออกไปได้
หรือว่าสามารถปล่อยวางจิตตรงนี้ได้
โยมจะทำได้เนี่ย
โยมต้องมีกำลังของสติสัมปชัญญะที่มีกำลังมาก
จนสามารถปล่อยวางตัวจิตได้
เพราะว่าจิตมันเกิดจากอวิชชา
แล้วอวิชชาเนี่ย มันห่อหุ้ม
สิ่งที่เรียกว่า อมตธรรมอยู่
ทุกคนมีส่วนหนึ่งของอมตธรรม
หรือความบริสุทธิ์ ที่เรียกว่าจิตประภัสสร
แต่ถูกอวิชชาห่อหุ้ม...
เมื่อถูกอวิชชาห่อหุ้ม
กระแสปฏิจจสมุปบาทก็เกิดขึ้น
อวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดสังขาร
สังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดวิญญาณขันธ์
วิญญาณขันธ์เป็นปัจจัย จึงเกิดนามรูป
โยมจะตัดกระแสตรงนี้
โยมต้องค่อยๆทวนกระแสมา
จนเกิดจิตตั้งมั่นก่อน
จากนั้นเมื่อมีกำลังพอ
สามารถเปลื้องจิตออกไปได้
.
วิธีการเปลื้อง.. ง่ายๆเลยนะ
พัฒนาสติจนเกิดสภาวะ รู้ ตื่น แล้วก็เบิกบาน
เหมือนดอกไม้บานเลย
คำว่าพุทโธ เหมือนดอกไม้
ดอกบัว... โยมรู้จักดอกบัวไหม?
ใหม่ๆมันอยู่ใต้โคลนตม มันค่อยๆเติบโตขึ้นมา
จนเหนือผิวน้ำกลายเป็นดอกบัวตูม
จากนั้นเป็นไงต่อ? บาน...
พุทธสภาวะ รู้ ตื่น เบิกบาน
เพราะฉะนั้นคำว่า "พุทธะ"
คือความหมาย ของพุทธะสภาวะ
คือ ความหมายของสภาวะ รู้ ตื่น แล้วก็เบิกบาน
เวลาเบิกบาน การรับรู้ของอมตะธรรมจะกว้างออกๆ
แล้วจิตหรือวิญญาณขันธ์
จะกลายเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้
ปกติเรารับรู้ด้วยจิตหรือวิญญาณขันธ์ใช่ไหม?
จิตเกิดทางตา เกิดการเห็น
เกิดทางหู เกิดการได้ยิน
เกิดทางจมูก เกิดการได้กลิ่น
เกิดทางลิ้น เกิดการลิ้มรส
เกิดทางกาย เกิดสัมผัสทางกาย
จิตเกิดดับทั่วตัว เกิดทีละดวง รู้ได้ทีละอารมณ์
.
แต่เมื่อใดที่สามารถเปลื้องจิตออกไปได้
น้อมจิตเข้าสู่อมตธาตุ
จะเข้าถึงสิ่งที่เรียกว่าอมตธาตุ
ภาษาพระท่านเรียกว่า "ญาณทัสสนะ"
ญาณ=รู้ / ทัสสนะ = เห็น
เกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริง
ญาณทัสสนะ เป็นเรื่องของ โลกุตตรธรรม
เป็นฟากของอมตธรรม
ไม่ใช่ฟากของสังขาร ขันธ์ 5
วิญญาณขันธ์ เป็นฟากของขันธ์ 5
แต่อมตธรรมเป็นฟากของ วิสังขาร
คนละธรรมชาติกัน
โยมจะเริ่มรู้ตรงนี้...
ตั้งแต่โยมเกิดวิปัสสนาญาณ เป็นต้นไป
แล้วธรรมชาติของญาณทัสสนะเนี่ย
ไม่ใช่รู้ทีละอารมณ์โยม เห็นตามความเป็นจริง
วิญญาณขันธ์เนี่ย
การทำงานมันจะเหมือนไฟฉาย
โยมรู้จักไฟฉายไหม?
เวลาไฟฉายมันส่องไป เป็นยังไง ?
มันก็เห็นเฉพาะที่ส่อง มันเห็นตัวเองได้ไหม?...
... จิตไม่สามารถเห็นตัวเองได้โยม
จิตเกิดทีละดวง รู้ทีละอารมณ์
ไม่สามารถเห็นตนเองได้
เกิดแล้วดับ... เกิดแล้วดับๆ
แต่สิงที่เห็นจิตได้ เป็นอีกธรรมชาติหนึ่ง
บางทีท่านเรียกว่า "ธรรมจักษุ" เคยได้ยินไหม?
ดวงตาธรรมโยม ธรรมจักษุ ได้เกิดขึ้น
ธรรมจักษุ ก็คือสิ่ง ที่เรียกว่า ญาณทัสสนะ
หรือ อมตธรรม คือสิ่งเดียวกัน
.
ทุกคนมีส่วนหนึ่งของอมตธรรมอยู่
ถ้าไม่มีธรรมชาตินี้
โยมไม่สามารถหลุดพ้นจากทุกข์ได้เลย
เพราะว่าในสภาวะที่เรียกว่านิพพานเนี่ย
วิญญาณขันธ์ก็เกิดไม่ได้
แต่เพราะว่าโยมมีส่วนหนึ่งของอมตธรรมอยู่
โยมถึงสามารถกลับคืนสู่สภาวะตรงนี้ได้
ที่เรียกว่า ความบริสุทธิ์ล้วนๆได้
สภาวะของ ญาณทัสสนะเนี่ย
จะเป็นเหมือนเรดาร์ โยมรู้จักเรดาร์ไหม?
เรดาร์เนี่ย มันมีความเป็นตัวตนไหม? ไม่มี...
แล้วเวลาข่ายกางเรดาร์ มันจะกางไปขนาดไหน?
สิ่งที่อยู่ในข่าย จะเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ถูกเห็นทั้งหมดเลย
เพราะฉะนั้นสภาวะรู้สึกตัวทั่วพร้อมเนี่ย
เป็นการทำงานของฝั่งของญาณทัสสนะ
แต่ปกติสภาวะตรงนี้มันถูกอวิชชาห่อหุ้มอยู่
ตัวรู้มันบังอยู่...
แต่เมื่อใดที่ปล่อยวางตัวรู้ออกไปได้
มันจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า "เห็นตามความเป็นจริง"
เพราะฉะนั้นทุกคนจะประกอบด้วย 2 สิ่ง
คือ มีอมตธรรม ถูกอวิชชาห่อหุ้มเป็นจิตประภัสสร
แล้วก็เกิดกระแสปฏิจจสมุปบาท
จากนั้นก็หลงวกวนอยู่ในสังขารความปรุงแต่ง
เราจะหลุดจากวงจรตรงนี้ เราต้องปลุกการตื่นรู้
หรือกระตุ้นสภาวะรู้ให้ตื่นขึ้นมา
จนมีกำลังพอ จึงสามารถเปลื้องจิตออกไปได้
กระแสปฏิจจสมุปบาทจะหลุดออกไป
อวิชชาจะหลุดออกไป
เกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริง
.
ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
ขณะที่ดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณ
จึงจะสามารถชำระอาสวะกิเลสให้หมดสิ้นไปได้
เวลาฝึกละเอียด จนเกิดวิปัสสนาญาณ
โยมถึงจะค่อยทำความเข้าใจในเรื่องนี้
ระหว่างวิญญาณขันธ์ที่เกิดดับ กับเรื่องของญาณ บางทีรู้สึกได้ไหม? ที่จิตมันแวบๆไปๆ
เห็นไหม?... รู้สึกได้
ตรงนี้.. แสดงว่าโยมอยู่ฝั่งรู้ ที่เป็นอมตธรรม
แล้วโยมจะเห็นจิตที่มันแวบไปๆ
เพราะฉะนั้นจิตที่แวบไป กับสิ่งที่เห็น
มันคนละธรรมชาติกัน จิตไม่สามารถเห็นตัวเองได้
ที่ครูบาอาจารย์ท่านใช้คำว่า...
พิจารณาจิตในจิต หรือญาณ เห็นจิต
นั่นคืออีกธรรมชาติหนึ่งที่เห็นได้
ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า..สิ่งๆหนึ่งที่บุคคลพึงรู้แจ้ง
สิ่งๆนั้นพบได้ในกายนี้แหละ
สังขตธรรม ก็เป็นสังขตธรรมอยู่วันยังค่ำ
อมตธรรม ก็เป็นอมตธรรมอยู่วันยังค่ำ
โยม จะทำสิ่งที่เกิดดับให้เป็นอมตธรรม
ที่ไม่เกิดดับได้ไหม?
มันคือคนละธรรมชาติกัน
แล้วคำว่าจิตบริสุทธิ์มันคืออะไร?
คำว่า จิต แปลว่า สภาพรู้
ซึ่งในพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
คำว่าจิตมี 2 นัยยะโยม
พระสูตรแรก จิตก็ดี ใจก็ดี มโนก็ดี วิญญาณก็ดี
เกิดดับทีละดวง เกิดดับรวดเร็วมาก
สืบต่อกันไปเป็นสันตติ
อันนี้เป็นธรรมชาติของอะไร?...
... สังขตธรรม
อีกพระสูตรหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสว่า
จิตของเรา ถึงแล้วซึ่งวิสังขาร
ที่สภาพอะไร.. อะไร ปรุงแต่งไม่ได้อีก
เป็นสภาวะของอะไร?...
... อสังขตธรรม
เพราะฉะนั้นคำว่าจิต
มันเป็นเรื่องของสมมุติภาษาโยม
แต่โดยสภาวธรรมที่เป็นสัจธรรมมันมี 2 ประเภท
ก็คือสิ่งที่เป็น สังขตธรรม สิ่งที่ปรุงแต่ง
กับ อสังขตธรรม สิ่งที่ปราศจากการปรุงแต่ง
.
อีกพระสูตรหนึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า
จิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะคือกาม
หลุดพ้นแล้วจากอาสวะคือภพ
หลุดพ้นแล้วจากอาสวะ คืออวิชชา
เป็นสภาวะของอะไรโยม?... อสังขตธรรม
พรากอวิชชาเอาไปหมดแล้ว
เพราะฉะนั้นเมื่อฝึก เกิดวิปัสสนาญาณ
จนสามารถละอวิชชาออกไปได้
พระพุทธเจ้าตรัสว่า เจริญสมถะแล้วจิตจะเจริญ
จิตเจริญแล้วดียังไง?... จิตเจริญ แล้วละราคะได้
เจริญวิปัสสนาแล้ว ปัญญาจะเจริญ
ปัญญาเจริญ แล้วละอวิชชาได้
ในขณะที่โยมเจริญวิปัสสนาญานไปได้
โยมจะสามารละอวิชชาได้
เมื่ออวิชชาดับ วิญญาณขันธ์ก็ดับ
วงรอบปฏิจจสมุปบาททั้งหมดก็ดับ
พอดับแล้วเหลืออะไรโยม? เหลืออะไร?
เราจะมีชีวิตอยู่ได้ไหม? วิญญาณขันธ์ดับ!!
เรายังใช้ชีวิตได้ปกติโยม
หรือสิ่งที่เรียกว่า "วิมุตติญาณทัสสนะ"
ก็คือ ญาณทัสสนะ โยม ใช้ธรรมจักษุ
ใช้เครื่องมือรับรู้ในระดับของโลกุตตธรรม
ธรรมจักษุ จะปราศจากการยึดมั่นถือมั่น
ภาษาพระท่านเรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนะ
แม้วงรอบปฏิจจสมุปบาท สลายไปแล้ว
ก็ใช้ชีวิตปกติได้
จะเกิดสภาวะที่เรียกว่าเห็นทั้งสองฝั่งเลย
ทั้งฝั่งสังขาร กับฝั่งวิสังขาร แต่ตัวเราไม่มี...
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
.
จิตที่ยังไม่ได้ฝึกฝน
มันก็จะหลงอยู่กับอารมณ์ต่างๆ
ภาษาพระท่านเรียกว่า “เกิดนันทิ”
ความเพลิดเพลินในอารมณ์
อารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็หลงติดอยู่กับอารมณ์นั้นๆ
เกิดความเศร้า ก็ติดอยู่กับความเศร้า
เกิดความโกรธ ขุ่นเคืองใจ
ก็ติดอยู่กับความโกรธ ขุ่นเคืองใจ
บางทีหลายวันยังไม่หายเลยใช่ไหม?
เนี่ย อาการที่จิตมันหลงติดอยู่กับอารมณ์
การที่เราจะหลุดจากสิ่งเหล่านี้ก็อาศัยเครื่องมือ ที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ก็คือ สติปัฏฐาน 4
ในขณะที่ท่านทั้งหลายมีสติ รู้สึกตัวขึ้นมา
จิตที่มันติดอยู่กับอารมณ์จะถูกละออกไปๆ
สังเกตพอรู้สึกตัวปุ๊บ มันหลุดจากความคิด
หลุดจากอารมณ์ต่างๆ
ใหม่ๆสติมีกำลังน้อย หลุดแป๊บนึง
เดี๋ยวก็หลงไปกับอารมณ์อีกแล้ว
ให้ทำให้มาก เจริญให้มาก
พอฝึกไปมากๆ สติมีกำลัง
ทีนี้มันหลุดจากอารมณ์
เกิดสภาวะจิตที่ตั้งมั่นขึ้นมา
เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมขึ้นมา
พอมีใจที่ตั้งมั่นจะพบว่า...
ความวุ่นวายใจ ความเร่าร้อน
มันจะหายไปจากชีวิตของเรามาก
ความเครียดก็หลุดออกไป
ความฟุ้งซ่านก็หลุดออกไป
ความกลัวก็หลุดออกไป
ความเศร้าโศกเสียใจก็หลุดออกไป
ความโกรธขุ่นเคืองใจก็หลุดออกไป
สิ่งเหล่านี้ มันหายไปจากชีวิตของเราดีไหม? สบาย ชีวิตมันดีขึ้นเยอะ
พอใจเราตั้งมั่น มันหลุดจากอารมณ์ต่างๆ
ก็จะเข้าสู่สภาวะ ที่เรียกว่า จิตตั้งมั่น
หรือที่ครูบาอาจารย์ท่านเรียกว่า
จิตผู้รู้ (จิตผู้รู้ = จิตตั้งมั่น)
การที่จะเกิดวิปัสสนาญาณได้
ต้องพัฒนาสติจนเกิดสภาวะจิตตั้งมั่นก่อน
หรือเรียกว่า เกิดการตื่นรู้ นั่นแหละ
จิตใจที่ตั้งมั่นก็จะไม่ไหลไปกับอารมณ์ต่างๆ
มีความตั้งมั่นที่ถูกต้อง
พอฝึกไปมากๆ...
จิตจะเกิดความจางคลาย ขยายตัว
เรียกว่า เกิดสภาวะ รู้ ตื่น แล้วก็เบิกบาน
การรับรู้ มันจะกว้างออกไป
พอเราพัฒนาสติจนเกิดสภาวะ รู้ ตื่น เบิกบาน
แม้กระทั่ง..จิต..ก็กลายเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้ขึ้นมา
เกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริง
ปกติ จิต เป็นผู้รู้
แต่พอเกิดสภาวะเบิกบาน (วิปัสสนาญาณ)
แม้กระทั่งจิตก็หลุดออกไป
กลายเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้
เกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริง
ที่เรียกว่า เกิดวิปัสสนาญาณ
ตรงนี้ มันอีกธรรมชาติหนึ่ง
ที่สามารถเห็นการทำงานของจิตได้
ที่เรารู้สึกว่า จิตเราตั้งมั่น มีความเป็นหนึ่ง
แต่พอพลิกเข้าสู่วิปัสสนาญาณ
เราจะเห็นความแตกดับของจิต
แม้กระทั่งจิตมันก็ผุด แล้วมันก็สลายไป
...อยู่ตลอดเวลา...
มีแต่สิ่งที่แตกดับ รูป นาม ขันธ์ 5
เห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง
เมื่อราเห็นตามความเป็นจริง
อยู่ในวิปัสสนาญาณเนืองๆ
มันจะถอดถอนอุปาทาน
หลุดจากการยึดมั่นถือมั่นในธาตุ ในขันธ์
ก็จะเข้าสู่สิ่งที่เรียกว่า "อมตธรรม"
หรือธรรมชาติที่บริสุทธิ์
ธรรมชาติตรงนี้ มันไม่ปรุงแต่ง
มีแต่ความบริสุทธิ์ มีแต่ความบริบูรณ์โดยสิ้นเชิง
ซึ่งธรรมชาตินี้ มันก็ไม่ได้อยู่ภายนอกที่ไหน
อยู่ภายในใจของพวกเราทุกคนนี่เอง
ถ้าเราเข้าถึงธรรมชาตินี้...
เราจะจะพบกับความสงบสุขที่แท้จริงของชีวิตได้
จิต... มันยังไม่เที่ยง
มันเกิดแล้ว มันก็ต้องสลายตัวไป
แต่มันมีอีกธรรมชาติหนึ่ง ที่เรียกว่า "อมตธรรม"
สิ่งนี้ไม่มีการเกิดปรากฏ
ไม่มีการเสื่อมปรากฏ
คงสภาวะเช่นนั้นเอง
ธรรมชาตินี้มีความสงบระงับ
มีความผ่องใสอยู่
ใครเข้าถึงก่อนก็โชคดีก่อน
เพราะว่านั่นคือเนื้อแท้ของชีวิตทุกคน
.
.
.
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
......................................................................
คำว่าพรากจากฐานกาย..
เอามาจากพระไตรปิฎกเลย
พระพุทธเจ้าตรัสว่า..
พรากจากฐานกาย เข้าสู่ฐานเวทนา
พรากจากฐานเวทนา เข้าสู่ฐานจิต
พรากจากฐานจิต เข้าสู่ฐานธัมมานุปัสสนา
เป็นอย่างไร ?
.
พอเราฝึกรู้กายทั้งกายไปเรื่อยๆ
สัมปชัญญะที่ฐานกาย ก็คือ..
รับรู้ความรู้สึกของกายทั้งกาย
ก็จะเกี่ยวกับระบบทำงานของร่างกาย
แต่เวลาพรากก็คือหลุดจากฐานกาย
ไปอยู่ฐานของเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ฐานเวทนามันจะอยู่ซ้อนฐานกายอีกชั้นหนึ่ง
ความรู้สึกเราเหมือนมันเข้าไปข้างในอีกชั้นหนึ่ง
เหมือนกายหยาบมันเป็นเปลือกหุ้มข้างนอก
บางคนปฏิบัติไปจะรู้สึก..
เหมือนเป็นพลังงานแน่นทั้งตัว
แล้วมีเหมือนฟิลม์หุ้มข้างนอก
กายหยาบเป็นเปลือกหุ้มข้างนอก
เพราะว่าฐานเวทนา หรือฐานพลังงาน
มันจะซ้อนใต้ผิวหนังอีกชั้นทั้งตัว
.
ความรู้สึกตัวในฐานของเวทนาก็เกิดสภาวะได้ต่างๆ
ความรู้สึกชาๆซ่านๆคล้ายสนามพลัง
เคยรู้สึกได้ไหม? อันนี้คือความรู้สึกตัว
ในชั้นของพลังงาน หรือเวทนา
ไม่ใช่เหน็บกินนะ
เหน็บกิน นั่งปุ๊บมันก็กินอยู่แล้วนะ
แต่ความรู้สึก ชาๆ..
มันเกิดตอนเฉพาะตอนที่เรานั่ง
หรือส่วนอื่นๆก็เกิดได้ถูกไหม ซ่านๆชาๆ
บางคนไม่เข้าใจสภาวธรรม..
นึกว่า เอ๊ะ! เราขาดสารอาหารหรือเปล่า ขาดวิตามิน
จริงๆนะโยม.. บางคนมีโยมมาเล่า
มันซ่านมันชาอย่างนั้น ไปหาหมอ
หมอให้ฉีดยาหรือกินยาเป็นสิบปีเลยโยม
หลงกินยาฟรีๆ นี่...ความไม่รู้
.
ฉะนั้นเวลาเกิดสภาวะของสมาธิมันมีอาการต่างๆ บางคนก็เกิดกระแสความร้อนขึ้นมา
บางคนก็รู้สึกเหมือนตัวมันแข็ง
อันนี้คือความรู้สึกตัวในชั้นของสมาธิ
ภาษาพระท่านเรียกว่า #ปีติ
อาการของปีติ มีหลายสภาวธรรม
มันเป็นความรู้สึกตัว..
ในชั้นของเวทนา หรือฐานพลังงาน
ถ้าละเอียดมันจะเกี่ยวกับสนามพลัง
จนมันเกิดสนามพลังทั่วกาย
มันเกิดการแผ่ซ่านทั่วกาย เป็นชั้นพลังงาน
.
ตรงนี้จะเกี่ยวกับพวกเรื่องของจักระด้วย
แต่จะไม่ลงอธิบาย
มันเป็นเรื่องของศาสตร์บนโลกนะ พลังจักระ..
แต่ว่าจริงๆแล้วจักระไม่มีอะไรมาก
มันคือฐานพลังของร่างกาย
ร่างกายเราเนี่ย..
มันขับเคลื่อนด้วยพลังงานของชีวิต
เหมือนรถมันต้องมีน้ำมันใช่ไหม?
หรือแม้กระทั่งปัจจุบันมีรถไฟฟ้า
ก็ต้องใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน
ร่างกายเราก็เช่นกัน..
ทุกเซลล์ในร่างกายมันต้องมีพลังชีวิตหล่อเลี้ยง อาหารที่เรากินเข้าไป
กว่าจะเป็นอาหารของเซลล์ คืออะไร?
ออกซิเจน แร่ธาตุ แล้วก็พลังงานชีวิต
ที่มันหล่อเลี้ยงทุกส่วนทุกเซลล์ทั่วร่างกาย
ถ้าว่าโดยศาสตร์ของการแพทย์ก็คือ
ระบบจักระมันก็คือระบบฮอร์โมน ต่อมไร้ท่อต่างๆตามแกนสันหลังของร่างกาย
มันคือระบบพลังงานของร่างกาย
จริงๆร่างกายมันก็มีประจุไฟฟ้า
โดยเฉพาะถ้าใครปฏิบัติ
จนมันเกิดความแผ่ซ่านทั่วกายเนืองๆ
ถ้าอยู่กับสภาวะนี้เนืองๆ
จะรู้สึกถึงการสดชื่น กระปรี้กระเปร่า
เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังของชีวิต พลังงานสูงมาก
เหมือนเราเป็นแบตเตอร์รี่ที่มันชาร์จแบตเตอร์รี่เต็ม พลังมาก มันเป็นพลังงาน
บางคนก็รู้สึกถึงสนามพลังไฟฟ้า
อันนี้คือเวทนาในชั้นของสมาธิ
.
จริงๆฐานนี้ก็มีอะไรให้เรียนรู้เยอะ
นำไปใช้ประโยชน์ทั้งสุขภาพจิต สุขภาพกาย
เรื่องประสิทธิภาพการทำงานจะอยู่ในชั้นนี้ซะมาก
ถ้าสนใจมันต้องเรียนรู้เฉพาะเลย
ในแต่ละฐานมันจะมีคุณสมบัติเด่น
อย่างฐานกายมันเป็นเบสิค
แล้วเวลามันแก้ปัญหาต่างๆ
ต้องถอยกลับมาฐานกาย แก้ปัญหาสารพัด
.
ข้อเสียของฐานกายมีอย่างเดียว
เวลาเราป่วย ถ้าเราสภาวะละเอียดมาก
แล้วเราอยู่ฐานกาย เราจะรับรู้อาการปวดชัดมาก
ผลที่ตามมามันทรมานกว่าเดิมอีกหลายเท่าเลย
เพราะฉะนั้นถามว่าเวลาป่วยควรอยู่ฐานกายไหม?
ไม่ควร..เวลาป่วยไม่ควรอยู่ฐานกาย
ถ้าเข้าไปอยู่ฐานเวทนาปุ๊บ!
อาการปวดตรงนี้จะเบาลง
เพราะมันไม่เกี่ยวกับพลังงาน
แต่ถ้าจะสบายกว่านั้นต้องอยู่ฐานจิตเป็นต้นไป
มันจะเข้าไปอยู่ข้างใน
มันก็จะวางกายไปเลย กายมันก็ปวด
แต่ว่าไม่ได้รับรู้อาการปวด
มันอยู่กับใจที่ตั้งมั่นข้างใน
.
เพราะฉะนั้นสติปัฏฐาน พระพุทธเจ้าสอน 4 ฐาน
ผู้มีปัญญาต้องรู้จักใช้ทั้ง 4 ฐาน
มีความฉลาดในการเดินสภาวธรรม
เพราะแต่ละฐานก็มีจุดเด่นในแต่ละฐานแตกต่างกัน อย่างฐานของเวทนา เกี่ยวกับปีติ
มันจะเกี่ยวกับพลังงานชีวิต
ถ้าเราทำกิจกรรม ทำกิจการงานต่างๆ
มันจะทำให้รู้สึกมีพลัง มีชีวิตชีวากระชุ่มกระชวย
มีพลังจิตมีพลังกาย ในการทำกิจการงานต่างๆ
.
อย่างไปออกกำลังกาย..ถ้าเราอยู่ฐานเวทนา
เราจะรู้สึกว่าแรงมันดีมาก มันมีพลัง
ฉะนั้นคนที่มีความชำนาญ
เขาสามารถปรับวิหารธรรมให้เหมาะสมได้
ฐานเวทนาจะอยู่ข้างในซ้อน..
กายหยาบ กายเวทนา ซ้อนอยู่
และเมื่อละเอียดไปอีก วางจากฐานเวทนา
พรากก็คือ วางออกเข้าไปสู่ฐานของจิต
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
ถามว่า... จะยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาญาณทำยังไง?
.
หนึ่ง.. เจริญกายคตาสติ
จนมีจิตที่ตั้งมั่น ตื่นรู้เนืองๆ
จนจิตมันขยายจางคลายตัวออกมา
เกิดการรับรู้ที่กว้างขึ้นๆ
จนรับรู้ได้รอบทิศทางเลย
ภาษาพระท่านเรียกว่า "รู้ ตื่น แล้วก็ เบิกบาน"
เหมือนดอกบัวโยม.. เมล็ดพันธุ์แห่งพุทธะ
ดอกบัวจากอยู่ใต้โคลนตม
ค่อยๆโตมาอยู่ใต้เปลือกตม
ค่อยๆผุดขึ้นมา จนเหนือผิวน้ำ
เป็นดอกบัวตูม
พอมันเติบโตเต็มที่... เป็นไงโยม?
บาน... เบิกบาน การรับรู้ก็จะกว้างขึ้น
ธรรมทั้งหลายก็จะปรากฏตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น คำว่าพุทธะสภาวะ
หรือ รู้ ตื่น เบิกบาน
มีทั้งระดับโลกียธรรม และ ระดับโลกุตตรธรรม
เกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริง
พระพุทธเจ้าตรัสว่า...
เจริญวิปัสสนาญาณแล้วดีอย่างไร?
เจริญวิปัสสนาญาณแล้วปัญญาจะเจริญ
ปัญญา... คือรู้แจ้งแห่งความเข้าใจ
พอเห็นสภาวะปรากฏตามความเป็นจริง
มันเกิดความเข้าใจ รู้รอบตามความเป็นจริง
เมื่อปัญญาเจริญจะละอวิชชาได้
สามารถถอดถอนอุปทาน
หลุดจากการยึดมั่นในธาตุในขันธ์
ตรงจิตตั้งมั่น ยังยึดตัวรู้ ยึดวิญญาณขันธ์อยู่
แต่พอเกิดเบิกบานปุ๊บ
ตัวรู้ก็กลายเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้
แล้วก็สลัดคืนจนสลายไป
เมื่ออวิชาสลายไป ปฏิจจสมุปบาทสลายไป
ก็จะเข้าสู่อมตธรรม
สภาวะที่จะเจอก่อนคือ.. สิ่งที่เรียกว่านิโรธ
นิโรธ ก็คืออะไร?.. อวิชชามันดับ
พออวิชชาดับจะเข้าถึงเนื้อธรรมชาติดั้งเดิม
ว่างอยู่ รู้อยู่
ไม่ใช่ไม่รับรู้นะ..รับรู้
แต่การรับรู้ระดับโลกุตตระ
เพราะฉะนั้น...เครื่องมือในการรับรู้
มีทั้งระดับโลกียธรรม และโลกุตตรธรรม
โลกียธรรม ก็คือวิญญาณขันธ์ ใช้ในการรับรู้
ตาเกิดการเห็น จิตเกิดที่หูเกิดการได้ยิน
เกิดที่จมูกเกิดการได้กลิ่น
เกิดที่ลิ้นเกิดการลิ้มรส
เกิดที่กายเกิดสัมผัสต่างๆ
วิญญาณขันธ์เป็นเครื่องมือในการรับรู้
แต่ในระดับโลกุตตระเนี่ย...
ภาษาพระท่านเรียกว่า.."ญาณ หรือ ธรรมจักษุ"
.
.
เวลาวงรอบปฏิจจสมุปบาทดับ
สิ่งที่เหลืออยู่ พระพุทธเจ้าตรัสว่า..
วิมุตติญาณทัสสนะ - การรู้เห็นอันหมดจด
เป็นเรื่องของอมตธรรม หรือ ธรรมจักษุ
ธรรมจักษุเนี่ย จะไม่ยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งใดๆ
เพราะฉะนั้น...
เมื่อเข้าถึงสภาวะนี้แล้วสามารถสลัดคืนได้
จะเข้าถึงเนื้อธรรมที่บริสุทธิ์กว่า
ที่เรียกว่า นิพพานธาตุ...
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
คนใหม่ก็จะมีปัญหาเรื่องนิวรณ์ ความฟุ้ง
ส่วนคนที่ฝึกจนสมาธิตั้งมั่นมากๆ
ก็จะไปติดสุขในสมาธิ...
ถอยกลับมาไม่เป็น ตกเป็นทาสของสมาธิ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า...
ผู้ที่มีความชำนาญในสมาธิ
จะไม่ตกเป็นทาสของสมาธิ
ไม่ติดสุขในสมาธิ ไม่ติดกับดักทางจิต
เป็นผู้ฉลาดในการรู้เท่าทันจิตใจ
วิธีการฝึกที่ง่ายที่สุดเลย...
ก็เหมือนที่พาฝึกในรูปแบบนี่
สังเกตุไหม?... จะเริ่มไล่ฝึกทีละส่วนก่อน
จนรู้สึกได้ทั้งตัว
จากนั้นจะเข้าสู่สภาวะความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
เป็นฐานพลังงาน
จากนั้นข้าสู่ความเบา ความนิ่งสงบ ความเบิกบาน แล้วการสลัดคืนเข้าสู่อมตธรรม
เพียงแค่โยมฝึกตามเป็น step แบบนี้
และฝึกถอยกลับมาฐานกายได้
วิธีที่กลับมาสู่สภาวะปกติ...
ที่จะไม่ไปรับกระแสอารมณ์ของคนอื่น
คือ... กลับมาฐานกาย
พอถอยกลับมาฐานกายปุ๊บ!
อายตนะมันจะปิด จะไม่ไปรับอารมณ์คนอื่น
แล้วโยมจะคิด อ่าน พูด คุยได้ปกติ
แล้วก็ไม่ไปรับกระแสหรืออารมณ์คนอื่น
เพราะฉะนั้น... ฐานกายเนี่ย
เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากๆ
ใหม่ๆเราอาจจะฝึกได้ไม่เต็มส่วน
ที่มือบ้าง.. ที่เท้าบ้าง..
แต่พอฝึกไปมันรู้สึกได้ทั้งตัว
เรียกว่า "สติเต็มฐาน"
เราฝึกรู้ทั้งตัวให้ชำนาญ ทำฐานกายให้มาก
แม้กระทั่งโยมฝึก...
ได้สภาวะที่ละเอียดระดับไหนก็ตาม
ก็สามารถถอยมาที่ระดับฐานกายได้
.
.
พระพุทธเจ้าถึงตรัสไว้ว่า...
ชนเหล่าใดประมาทในกายคตาสติ
ชนเหล่านั้นชื่อว่าประมาทในอมตธรรม
เหมือนโยมมีรถ...
รถที่แรงและเร็วดีไหม? ชอบไหมความเร็ว?
แต่ในชีวิตจริง... โยมขับแรงขับเร็ว
ใช้เกียร์ 5 ตลอดเวลาทำได้ไหม?... ไม่ได้
แล้วทำยังไงอ่ะ?... ก็ต้องขับให้ชำนาญ
ปรับความเร็วให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิต
เวลามีสภาวะธรรมที่ละเอียด
โยมสามารถปรับ...
ความละเอียดของกำลังสติให้เหมาะสม
เหมือนพ่อครัวที่มีความฉลาดในการปรุงอาหารสมาธิ... มันก็เป็นสังขารการปรุงแต่ง
ผู้ที่มีความชำนาญในสมาธิเนี่ย
เขาสามารถปรับวิหารธรรมให้เหมาะสม
ในการดำรงชีวิตได้...
.
.
ไปลองฝึกดู... ลองทดสอบด้วยตัวเอง
จะรู้แจ้งด้วยตัวเองเลย
เริ่มจาก... รู้สึกตัว จนรู้สึกทั้งตัว
เกิดปีติแผ่ซ่าน เกิดความสุขเบาสบาย
เกิดความนิ่ง สงบตั้งมั่นอยู่
แล้วเดินสภาวะกลับไป...กลับมา
โยมจะสามารถเลือกวิหารธรรมให้เหมาะสม
กับการดำรงชีวิตได้
.
.
คนทั่วไปเป็นทาสของนิวรณ์
คนที่มีสมาธิตั้งมั่นเป็นทาสของสมาธิ
มันก็ยังเป็นทาสทั้งคู่...
แต่ถ้าโยมมีสติตั้งมั่น
โยมสามารถปรับวิหารธรรมให้เหมาะสมได้
ไม่ตกเป็นทาสของนิวรณ์
ไม่ตกเป็นทาสของสมาธิ
เป็นผู้ที่ใช้ทั้งความคิด
ใช้ทั้งกำลังสติ กำลังสมาธิ กำลังปัญญา
ได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ
แล้วโยมจะใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งทางโลกและทางธรรม...
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
ปุจฉา :
พอเริ่มนั่งทำความรู้สึกนิ่ง
ก็จะรับรู้การเต้นของหัวใจ ของชีพจร ตุ๊บๆแรงๆโยมชอบดูอาการนี้นานๆรู้สึกเพลิน
แม้ในขณะนั่งอ่านหนังสือเงียบๆ
เป็นการเพ่งไหมครับ?
วิสัชนา :
ไม่นะ เป็นฐานกายโยม
ที่โยมรู้สึกได้แสดงว่าสติเริ่มมีกำลัง
.
.
ปุจฉา :
ถ้ายิ่งกระตุ้นจะเกิดการเหวี่ยงหมุนภายใน
เหมือนเครื่องปั่นควรทำอย่างไร?
วิสัชนา:
ก็แค่รับรู้สภาวะที่ปรากฏนะ
มันมีปีติตัวโยกโคลงอยู่
มันเป็นเรื่องของนามกายแล้ว
เพราะฉะนั้น...
ตั้งแต่เกิดสมาธิเป็นต้นไป
มันจะมีสิ่งที่เรียกว่า กายภายนอก กับกายภายใน
พระพุทธศาสนาจะพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า "นามกาย"
พอโยมเกิดปีติตัวโยกขึ้นไป
หรือว่าเกิดสภาวะตัวใหญ่ ตัวเบา เป็นต้นไป
จะพบว่า... มันจะมีความรู้สึกเป็นชั้นข้างในอยู่
ซึ่งมันคนละตัวกับกายหยาบ
ตรงนี้บางทีมันเคลื่อนออกมาได้ด้วยนะ
มันเป็นเรื่องของนามกาย
โดยเฉพาะถ้าเข้าถึงสภาวะโปร่งเบาเนี่ย
มันจะเริ่มแยกออก...
กายกับจิตมันจะเริ่มแยกออก
มันจะเป็นสภาวะที่เรียกว่ากายละเอียดโยม
กายมันมีทั้ง กายหยาบ กับ กายละเอียด
หรือ รูปนามอย่างหยาบ...
และ รูปนามอย่างละเอียด
มันจะเป็นเรื่องของ มิติภายนอก กับ มิติข้างใน
หลัก...
รับรู้สภาวธรรมที่ปรากฏ
รู้ธรรเฉพาะหน้า
ใช้ได้ตั้งแต่เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด...
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
พอเราเพียรเจริญสติอยู่บ่อย ๆ เนืองๆ
สติก็มีกำลังขึ้น พอสติตั้งมั่น ก็จะเกิดสภาวะของความรู้สึก ตัวในชั้นของสมาธิขึ้นมา
เช่น เกิดความรู้สึก ชาๆ ซ่านๆ
เคยไหม
เป็นประจำเนอะ เหน็บกิน...
เหน็บกินน่ะเกิดช่วงที่เราน ั่ง
แต่ว่า ชาๆ ซ่านๆ มันเกิดส่วนอื่นได้ไหม...ได ้
หนึบๆหยุ่นๆ มันก็เหมือนสนามพลัง
อาการแผ่ออก ซ่านออกตามตัว
มันเป็นสนามพลังไฟฟ้า
ความรู้สึกตัวในฐานของเวทนา
ถ้าเกิดน่ะ แสดงว่าเริ่มมีสติตั้งมั่นแ ล้ว
บางคนก็ไม่รู้ว่าเกิดสภาวะ เอ๋...เราขาดสารอาหารหรือเป ล่า?? ขาดวิตามินบีหรือเปล่า ไปหาหมออีก
จริงนะ บางคนหลงกินยาเป็นสิบปี เพราะความไม่รู้
พอรู้แล้ว...อ้าว เป็นสภาวะธรรม
ให้สังเกตว่า เวลาสภาวะพวกนี้มันเกิดขึ้น ใจจะเป็นยังไง
ถ้าใจมีความตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัว แสดงว่ามันเป็นสภาวะของสมาธ ิ คือ
จิตมันตั้งมั่น จึงเกิดสภาวะธรรมขึ้นมา
แต่ถ้าเป็นเรื่องของกายภาพ จิตมันจะฟุ้ง ใช่ไหม
ปรกติ จิตมันจะกระสับกระส่าย
เพราะฉะนั้นสังเกตดูว่าอะไร เกิดขึ้น ใจเราเป็นยังไง
ถ้าใจเราตั้งมั่น แสดงว่าเป็นสภาวธรรมที่เกิด ขึ้น
บางคนก็จะเกิดกระแสความร้อน ขึ้นมา กระแสความเย็นบ้าง
อาการของปิติน่ะ
มันก็เกิดหลายๆ อย่าง
ถ้าฝึกไปเรื่อยๆ จนมันเกิดการแผ่ซ่านทั่วทั้ งตัว ซาบซ่านเอิบอาบทั่วทั้งตัว พอโยมพัฒนาสติมาถึงตรงนี้
ใหม่ๆ มันก็เกิดแป๊บเดียวนะ สภาวะธรรม
แต่พอฝึกไป สติเริ่มทรงตัว มันก็จะเกิดได้บ่อยขึ้น นานขึ้นเรื่อยๆ เริ่มเข้าถึงเร็วขึ้นเรื่อย ๆ จนมันทรงตัว
มันอยู่กับสภาวะธรรมได้เลย
พอโยมพัฒนาสติจนรู้ตัวทั่วพ ร้อม เกิดความแผ่ซ่านทั่วทั้งตัว ขึ้นมา มันจะรู้สึกถึงความเพลินสบา ย
พอพัฒนาสติมาถึงตรงนี้ ความทุกข์ ความเร่าร้อนในชีวิตโยมจะหา ยไปมากเลย
ความเครียดก็หายไป
ความฟุ้งซ่านก็หายไป
ความวิตกกังวลก็หายไป
ความเศร้าโศกเสียใจก็หายไป
ความโกรธขุ่นเคืองใจก็หายไป
ดีไหมสิ่งเหล่านี้หายไป...ส บาย
พอปฏิบัติไป อารมณ์หนักๆ อารมณ์ที่มันรุ่มร้อนหายไปห มด
มันเหลือแต่ความสงบตั้งมั่น
เกิดความเพลินสบาย เกิดความแผ่ซ่าน
จะรู้สึกถึงความสดชื่นกระปร ี้กระเปร่า เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังของชีว ิต
พอโยมฝึกมาถึงตรงนี้ ความทุกข์ในชีวิตจะหายไปมาก
จากคนที่เป็นคนนอนหลับยาก
บางคนใช้ชีวิต เรื่องยุ่งเหยิงมันเยอะ
บางทีมันเครียดมากๆ นอนก็นอนไม่หลับ
มันฟุ้ง อยู่อย่างนั้น
มันคิดไม่หยุด เหนื่อยเนอะ
นอนตื่นมา ก็ไม่สดชื่น งัวเงีย
แต่ถ้าฝึกพัฒนาสติจนมีกำลัง หลับไปกับความรู้สึกตัว
ตื่นขึ้นมา มันจะรู้สึกถึงความสดชื่นกร ะปรี้กระเปร่า
เมื่อกี้ นั่งปุ๊บ หลับเลยมั้ย
คงไม่ง่ายขนาดนั้น
ก็พอฝึกไป มันจะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย รู้สึกสบาย
ถ้ายิ่งโยมพัฒนาจนสติตั้งมั ่น เกิดความแผ่ซ่าน
ภาษาพระ ท่านเรียกว่า ผรณาปิติ
โยมจะรู้สึกถึงความสดชื่นกร ะปรี้กระเปร่า
นอนก็หลับไปกับความรู้สึกตั ว จนมันแผ่ซ่านอยู่
มันจะรู้สึกเพลินสบาย เหมือนโยมนอนแช่อยู่ในสปา
มันฟิน มันเพลิน เพื่อนบอกเมากัญชาหรือเปล่า มันเคลิ้มๆ
อารมณ์สมาธิมันเบิกบาน มันสบาย
ถ้าคนเจอจะเข้าใจ ปิติ สุข มันจะรู้สึกเพลินสบาย
แล้วจะรู้สึกถึงความมีพลังส ดชื่น มันมีแรง มีพลัง
แค่โยมพัฒนาสติมาถึงตรงนี้
คุณภาพชีวิตโยมจะดีมาก
สุขภาพจิตก็ดีขึ้น สุขภาพกายก็จะดีขึ้น
เพราะว่าระบบข้างในมันจะปรั บให้สมดุลทั้งหมดเลย
เลือดลม พลังงานชีวิต ออกซิเจนมันไหลเวียน มันโฟลทุกอย่าง
มันจะปรับสภาพให้ร่างกายจิต ใจมีความสมดุล
ประสิทธิภาพตรงนี้มันจะส่งผ ลกับการดำเนินชีวิตของเราทุ กอย่าง
โดย พระวิปัสสนาจารย์ มหาวรพรต กิตติวโร
ิ่งที่แตกต่างที่ทรงสอนไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรกับอานาปานสติ 16 ขั้น ก็คือ
ในสติปัฏฐานสูตรพระองค์จะอุปมาถึง...
กำแพงเมืองและประตูเมืองทั้ง 4 ด้าน ไม่ว่าพ่อค้าจะเข้าด้านทิศใด เหนือ ใต้ ออก ตก ก็สามารถบรรจบกองดินใหญ่ที่กลางเมืองได้ด้วยกันทั้งนั้น
ฉันใด... สติปัฏฐาน 4 ไม่ว่าจะเริ่มจากกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ก็สามารถที่จะชำระล้างบาปและอกุศลธรรมให้หมดสิ้นไปได้
.
ในชั้นของการเข้าประตูเมืองเนี่ย ไม่ว่าจะเริ่มฐานกาย เวทนา จิต ธรรม มันคือชั้นในระดับที่เรียกว่า “สัมมาสติ” คือการระลึกรู้ที่ถูกต้อง ก็คือเบื้องต้น
คำว่า “เบื้องต้น” ก็คือ จิตที่ยังสอดส่ายไปในอารมณ์ต่างๆอยู่ แล้วฝึกหัดพัฒนาสติที่เรียกว่า “สัมมาสติ” คือการระลึกรู้ที่ถูกต้อง
.
ไม่ว่าจะเริ่มจากฐานกายก็ดี ฐานกายก็ทรงสอนไว้หลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นลมหายใจก็เป็นกายอันหนึ่ง อิริยาบถใหญ่เนี่ย นั่งอยู่ก็รู้กายที่นั่ง ยืนอยู่ก็รู้กายที่ยืน เดินอยู่ก็รู้กายที่เดิน นอนอยู่ก็รู้กายที่นอน ตั้งกายไว้อย่างไรก็รู้กายนั้นๆ
ก็เป็นข้อหนึ่ง หรือ สัมปชัญญะ ทำความรู้สึกตัวในขณะเดิน ทำตามความรู้สึกตัวในขณะคู้เหยียดเคลื่อนไหว ก็เป็นกายอันหนึ่ง
.
ไม่ว่าจะเลือกข้อใดก็ตาม พอทำปุ๊บ ฝึกไปมากๆ สติมีกำลัง สงัดจากกามและอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน อันนี้คือเข้ามาในประตูเมืองละ
ชั้นแรกที่จะเจอคือชั้นที่เรียกว่า “สัมมาสมาธิ” จากสัมมาสติเข้าสู่ชั้นสัมมาสมาธิ ประตูอื่นก็เช่นกัน เช่น ในด้านของเวทนาเนี่ย ในเบื้องต้นจิตก็ยังสอดส่าย ก็ใช้เวทนาเป็นอุปกรณ์ในการเจริญสติ สบายกายก็รู้ ไม่สบายกายก็รู้ เฉยๆก็รู้ รู้ขึ้นมาเนืองๆเนี่ย
พอทำให้มาก เจริญให้มาก เกิดสติตั้งมั่น สงัดจากกามและอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน เข้าประตูเมืองมาสู่ชั้นสัมมาสมาธิเช่นกัน หรือว่าจะเลือกในด้านพิจารณาจิตในจิต
.
พิจารณาจิตในจิตในชั้นต้น ก็คือเป็นจิตที่ยังฟุ้งซ่านอยู่ จิตมีราคะก็รู้ จิตมีโทสะก็รู้ จิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ รู้เนื้อรู้ตัวขึ้นมาเรื่อยๆ จนทำให้มาก เจริญให้มาก จนเกิดสติตั้งมั่น สงัดจากกามและอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน เข้าประตูเมืองมาละ เจอชั้นสัมมาสมาธิเช่นกัน
หรือว่าจะในด้าน เลือกด้านพิจารณาธรรมในธรรม ก็ทรงสอนเป็นหัวข้อ เช่นข้อนิวรณ์ มีกามราคะก็รู้ ฟุ้งซ่านก็รู้ หดหู่ก็รู้ ง่วงเหงาหาวนอนก็รู้ รู้เนื้อรู้ตัวขึ้นมาอยู่เสมอ ทำให้มากเจริญให้มาก จนสงัดจากกามและอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน เข้าประตูเมืองมาอีกละ
.
ชั้นแรกก็คือชั้นของสัมมาสมาธิ เนี่ยไม่ว่าจะเข้าชั้นใดน่ะ จากสัมมาสติเข้าสู่ชั้นของสัมมาสมาธิ สติตั้งมั่น ซึ่งตรงนี้คือรูปแบบของมหาสติปัฏฐานสูตร
.
และในอานาปานสติ 16 ขั้นล่ะ?
ก็ทรงไต่ลำดับตั้งแต่ชั้นสัมมาสติเช่นกัน แต่สี่ข้อแรกชั้นต้นเนี่ย เริ่มที่ฐานของกาย เพราะว่าใช้ลมหายใจก่อน ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก หายใจเข้ายาวออกยาวก็รู้ หายใจเข้าสั้นออกสั้นก็รู้ รู้กองลมทั้งกอง รู้กายทั้งกาย ทำกายสังขารให้ระงับ
.
สี่ข้อแรกเป็นฐานกาย ตรงนี้ก็อยู่ในระดับชั้นของสัมมาสติเช่นกัน แต่เลือกข้อด้านกายด้านเดียว ใช้ลมหายใจเป็นหลัก พอฝึกไปมากๆ สติมีกำลัง ก็จะเข้าสู่...
สี่ข้อถัดไป ก็คือ รู้ปีติ รู้สุข เห็นจิตตสังขาร ทำจิตตสังขารให้ระงับ สี่ข้อนี้อยู่ในระดับชั้นของสัมมาสมาธิ ความตั้งมั่นที่ถูกต้อง
.
ชั้นสัมมาสมาธิ จะมีชั้นต้นก็คือชั้นของเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในชั้นสัมมาสมาธิ ก็คือ เกิดปีติ เกิดสุข เห็นจิตตสังขาร แล้วก็จิตสังขารระงับ ตรงจิตตสังขารระงับเนี่ย ถ้าว่าโดยลำดับฌานนะ จะจบตรงที่ฌานที่สอง ก็คือมีความผ่องใสอยู่ภายใน มีธรรมอันเอกปรากฏขึ้น ชุ่มไปด้วยปีติและสุข เอิบอาบซาบซ่านทั่วทั้งกาย
.
ตอนนี้เริ่มเห็นความแตกต่างไหม?
มหาสติปัฏฐานสูตร ก็คือ เริ่มจากสัมมาสติทั้งสี่ด้าน พอฝึกไปเข้าสู่สัมมาสมาธิ ทีนี้เหมือนกันละ
.
ส่วนอานาปานสติ 16 ขั้น เริ่มต้นจากลมอย่างเดียวเลย กาย สี่ข้อแรกเป็นชั้นสัมมาสติอยู่ พอฝึกไปมากๆ สติมีกำลัง เข้าสู่สัมมาสมาธิสี่ข้อถัดไป สี่ข้อถัดไปอยู่ในระดับของสัมมาสมาธิชั้นต้น เป็นชั้นของเวทนา เพราะว่ามันเป็นชั้นความรู้สึกตัวอยู่ แต่เป็นชั้นความรู้สึกตัวในระดับของสมาธิ
.
จากนั้นเมื่อฝึกไปเรื่อยๆ สติละเอียดขึ้นไปอีก วางจากฐานของเวทนาเข้าไปสู่ฐานของจิต
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ตรงนี้ก็จะมี รู้จิต รู้จิตที่ปราโมทย์ยิ่ง รู้จิตที่ตั้งมั่น เปลื้องจิต
.
ในระดับของจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานตรงนี้ ถ้าเทียบระดับฌาน จะอยู่ในระดับของฌานที่สามและฌานที่สี่ ตรงฌานที่สามเนี่ย ปีติระงับไปแล้วเพราะฉะนั้นความรู้สึกตัวในชั้นเวทนาเนี่ยระงับไปแล้ว ความรู้สึกตัวระงับไป แต่ความรู้สึกของจิตใจเด่นขึ้นมาแทน
.
ความสุขมันเกิดที่ใจ มันจะเบาขึ้นไปเรื่อยๆ ตรงนี้สมองหาย ก็คือจิตตสังขารมันระงับละ เสียงพูดในใจมันหายไปแล้ว มันจะโล่งโปร่งขึ้นไปเรื่อยๆ สุขเป็นลักษณะเด่น
.
ในระดับของฌานที่สามเนี่ย พระพุทธเจ้าจะตรัสไว้ว่า... “มีสุขด้วยนามกาย สุขเป็นลักษณะเด่น เสวยความสุขด้วยนามกาย เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ มีอุเบกขา”
.
ฌานที่สามเนี่ย สติสัมปัชชัญญะจะทรงตัวมาก สุขเป็นลักษณะเด่น มีความโล่งโปร่งเบาสบาย ตรงนี้ความรู้สึกตัวก็ดี ฐานกายก็ดี ฐานเวทนาก็ดี เบาบางไปมาก แต่ความรู้สึกของจิตจะเด่น ก็คือรู้จิต
.
แล้วเมื่อสุขเต็มกำลัง จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า “จิตปราโมทย์ยิ่ง” คือมันเบิกบานมาก มันร่าเริง จิตมันยิ้มเบิกบานเนี่ย อันนี้จิตปราโมทย์ยิ่ง ถ้าเบามากๆนะ จิตมันจะยิ้มเบิกบานออกมาเลย รู้จิต รู้จิตที่ปราโมทย์ยิ่ง แล้วก็เข้าสู่รู้จิตที่ตั้งมั่น ตรงรู้จิตที่ตั้งมั่นเนี่ย สุขระงับไปแล้ว เข้าสู่อุเบกขา
.
อุเบกขาเป็นลักษณะเด่น คือคุณลักษณะของฌานที่สี่ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า... “สติเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่” อุเบกขาเป็นลักษณะเด่น จะมีความเฉยสงบตั้งมั่นอยู่ รู้จิต รู้จิตที่ปราโมทย์ยิ่ง รู้จิตที่ตั้งมั่น แล้วก็เปลื้องจิต
.
ตรงเปลื้องจิตคือวิธีการยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาญาณ เมื่อยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาญาณได้ จะเข้าสู่สี่ข้อถัดไป ทรงจัดหมวดหมู่ไว้ในข้อของธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ตรงนี้พลิกจากสัมมาสมาธิเข้าสู่สัมมาญาณก็คือ...วิปัสสนาญาณ
.
สัมมาญาณ ถ้าว่าโดยมรรคเนี่ย เราจะได้ยินมรรคมีองค์ 8 ใช่ไหม?
• สัมมาสติ... การระลึกรู้ที่ถูกต้อง
• สัมมาสมาธิ... ความตั้งมั่นที่ถูกต้อง
.
ในสัมมาสมาธิพระพุทธเจ้าตรัสว่า...
“สงัดจากกามและอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน”
.
อันนี้สัมมาสมาธิ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เมื่อทำให้มาก เจริญให้มาก สามารถเข้าสู่ข้อถัดไปที่เรียกว่า “สัมมาญาณ”
.
เคยได้ยินไหม?... มรรคมีองค์ 10 จาก 8 เป็น 10 นะโยม จริงๆแล้วมี10 ข้อโยม สองข้อที่เหลือ 9 กับ 10 เป็นชั้นโลกุตระแล้ว ตรงสัมมาญาณหรือภาษาพระเรียกว่า “ยถาภูตญาณทัสสนะ” การรู้เห็นตามความเป็นจริง
.
บางพระสูตรพระองค์จัดไว้เป็นสิ่งที่เรียกว่า “สัมมาทิฏฐิ” อันเป็นโลกุตระ สัมมาทิฏฐิมีทั้งระดับโลกียธรรมและระดับโลกุตรธรรม
.
เราอาจจะเคยได้ยินว่า... สัมมาทิฏฐิ จัดเป็นข้อปัญญา แต่จริงๆแล้วถ้าจะจัดเป็นข้อปัญญาจริงๆ ต้องเป็นสัมมาทิฏฐิอันเป็น โลกุตระก็คือ... สัมมาญาณเลย สภาวะนี้จะเกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริง ถ้าจัดอยู่ในอานาปานสติ 16 ขั้น 4 ข้อสุดท้ายก็คือ....
• เห็นความไม่เที่ยงอยู่เป็นปกติ
• เห็นความจางคลายอยู่เป็นปกติ
• เห็นความดับอยู่เป็นปกติ
ตรงเห็นความดับนี้เป็นนิโรธนะโยม ไม่ใช่สภาวะเกิดดับ แต่เป็นสภาวะที่เรียกว่า... นิโรธ ก็คืออวิชชามันดับไปแล้ว ตรงนี้เป็นเรื่องของการรู้แจ้งอริยสัจ 4 รู้ทุกข์ รู้เหตุให้เกิดทุกข์ เข้าถึงนิโรธความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เลย จากเห็นความไม่เที่ยง คือเห็นตามความเป็นจริง เห็นการเกิดดับ แล้วก็เรียกว่าเห็นการจางคลาย แล้วก็เห็นการดับ คือเข้าสู่สภาวะนิโรธ
• ข้อสุดท้ายปฏินิสสัคคะ ก็คือสลัดคืน
อันนี้จะเข้าสู่เนื้อธรรมที่บริสุทธิ์เรียกว่า “นิพพานธาตุ”
.
ฝึกอานาปานสติ 16 ขั้นนี้ ทรงไล่ลำดับตั้งแต่ต้น จนเข้าถึงสภาวะที่สุดแห่งทุกข์เลย แล้วแบ่งเป็น...
• สี่ข้อแรก (1-4) เป็น
#ฐานกาย ตรงนี้ถ้าเทียบกับมหาสติปัฏฐานสูตรจะอยู่ในชั้นของสัมมาสติ
• สี่ข้อถัดมา (5-8) เป็น
#เวทนานุปัสสนา อยู่ในชั้นของ
สัมมาสมาธิในชั้นต้น
• และก็สี่ข้อถัดมา (9-12) เป็น
#จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน อยู่ในระดับสัมมาสมาธิในชั้นปลาย
• แล้วก็สี่ข้อถัดมา (13-16) จัดอยู่ในหมวด
#ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นชั้นโลกุตระ
ก็คือเป็นชั้นสัมมาญาณแล้วก็สัมมาวิมุตติ
เข้าใจไหม?
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
.
ปุจฉา : เคยฟังคลิปพระอาจารย์เรื่อง...
ด่านใหญ่ของอานาปานสติ เรื่องพอเข้าสภาวะลึก
ลมหายใจจะละเอียดหายไป
ถ้าเราหายใจเข้าไปใหม่ มันจะถอนสภาวะลึก
ถ้าเช่นนั้นเวลาเรากลืนน้ำลาย ก็ไม่ควรจะกลืน เวลาที่เราเริ่มเข้าสภาวะลึกใช่ไหมคะ?
เพราะกลัวว่ากลืนน้ำลาย
จะถอนออกจากสภาวะลึกแล้ว
อันนี้เข้าใจถูกต้องไหมคะ?
.
วิสัชนา : ก็ไม่เป็นไรหรอก ปฏิบัติไปสบายๆนะ
จริงๆแล้ว มันก็ไม่ถึงกับถอนหรอก
โดยเฉพาะคนที่เริ่มปฏิบัติได้ดี
จะเริ่มเห็นทั้งภายในและภายนอก
พอฝึกไปเรื่อยๆ...
ข้างนอกก็ใช้ชีวิตได้ปกติแหละ
ข้างในก็เข้าถึงจิตที่สงบตั้งมั่นได้
พอฝึกไปเรื่อยๆ...
ไม่ใช่เข้าสมาธิตอนที่ต้องนิ่ง ระงับเท่านั้น
คู้เหยียด เคลื่อนไหว ใช้ชีวิตปกติ
ก็สามารถเข้าสมาธิระดับสูงได้
จะเริ่มเข้าถึงการเห็นได้ทั้งสองฝั่ง
เพราะฉะนั้นการปฏิบัติ ก็คือ
ให้ทำแบบสบายๆ รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น
เวลาจิตมันถึงขั้นจะนิ่ง ตั้งมั่นเอง
แต่ในขณะเดียวกัน ก็สามารถเคลื่อนไหว
หรือรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นภายนอกได้ด้วย
อันนี้เป็นเรื่องของ “มหาสติ”
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
ในพระสูตรหนึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า...
“สมาธิทุกขั้นตอนเป็นบาทฐานของวิปัสสนา
สามารถทำอาสวักขยญาณให้เกิดขึ้นได้”
พลิกไปมาได้ ฌานที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ
พลิกไปมาระหว่างฌานกับญาณได้
.
ท่านพลิกกันอย่างไร?
ต้องคนที่มีสติตั้งมั่นก่อน
เข้าสู่ฐานจิตเกิดความตั้งมั่นตื่นรู้ขึ้นมา
รู้จิตที่ตั้งมั่น...
จะพบว่ามันมีความนิ่งรู้อยู่ข้างในอยู่
.
รู้สึกได้ไหม? ใจที่มันนิ่งรู้
คือความตั้งมั่น รู้ ตื่น แล้วก็ เบิกบาน
.
รู้สึกได้ไหม?... การรับรู้มันกว้างขึ้นๆ
อันนี้คนที่มีกำลังพอที่จะยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาญาณ อยู่กับความเบิกบานไปเรื่อยๆ
ธรรมทั้งหลายจะปรากฏตามความเป็นจริงขึ้นมา
.
ถ้ากำลังดีๆเนี่ย
มันจะรู้สึกถึงการแตกดับยุบยับทั่วกายเลย
รูปแตกดับประดุจต่อมน้ำเป็นยังไง?
เวทนาแตกดับประดุจฟองน้ำเป็นยังไง?
มันจะยิบยับทั่วตัวเลย
ถ้าละเอียดกว่านั้น
จะรู้สึกถึงการเกิดดับของจิตได้ด้วย
การผุดขึ้นของธรรมารมณ์
การผุดขึ้นของความคิดปรุงแต่งต่างๆ
เกิดการเห็นตามความเป็นจริงขึ้นมา
วิธีการฝึกตรงนี้ คือสิ่งที่โยมต้องเรียนรู้
... รู้ ตื่น เบิกบาน...
ค่อยๆหดการรับรู้ลงมา
จนเหลือแค่ความตื่นรู้อยู่ข้างใน
.
รู้ ตื่น เบิกบาน...
เกิดวิปัสสนาญาณ ค่อยๆหดการรับรู้ลงมา
เหลือความตื่นรู้อยู่ข้างใน
ใครที่รู้สึกได้ นั่นคือพร้อมฝึกวิปัสสนาญาณ
.
ถามว่า...
ถ้าเราอยู่กับวิปัสสนาญาณตลอดดีไหม?
เกิดปัญญา มันเกิดปัญญา
แต่ในชีวิตจริงโยมต้องทำงานทำการ
เวลาเห็นสภาวะเกิดดับมากบางทีมันเหนื่อย
มันวิปัสสนาญาณตลอดเวลาไม่ได้หรอก
.
และอีกอย่างคือ จิตเวลาเปิดกว้างเป็นไง?
รับอารมณ์ รับกระแส
#ฉะนั้นมันต้องฝึกทั้งสมาธิและวิปัสสนา
.
เหมือนกันหลักการเปิดกับปิดโยม
ปิดเป็นสมถะ เปิดเป็นวิปัสสนา
มันต้องทั้ง 2 อย่าง
รู้ ตื่น เบิกบาน พลิกเป็นวิปัสสนา
หดการรับรู้เข้ามาเป็นสมถะ ตื่นรู้อยู่ข้างใน
โยมแยก 2 สภาวะนี้ออกไหม?
ที่มันตื่นรู้ข้างใน
กับสภาวะการรับรู้ที่มันกว้างขึ้นๆ
.
จริงๆพวกนี้สำหรับคนที่กำลังดีๆ
จะฝึกเรื่องของการเกิดสภาวะพวกนี้
มันจะมีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะในการฝึกเรียนรู้ในเรื่องของสภาวธรรมต่างๆ
มากกว่าการนำฝึกปรกติ
แต่เราต้องมีกำลังสติทรงตัวก่อน
.
มันจะมีอะไรให้เราเรียนรู้เยอะ
ในเรื่องของสภาวะในแต่ละระดับ
พลิกเป็นวิปัสสนา
พลิกเป็นสมาธิ
พลิกเป็นวิปัสสนา
พลิกเป็นสมาธิ
.
แยกออกไหม 2 สภาวะนี้มีความต่างกัน?
ถ้าโยมชำนาญโยมไปฝึกได้เลย
สมัยพุทธกาลเขาเดินสภาวะกันแบบนี้
เข้าสภาวะ เดินสภาวธรรม
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
คำว่าสภาวะว่างมีหลายแบบมากเลย
คำว่า "ว่าง" มีทั้งมิจฉาสมาธิ สัมมาสมาธิ
แล้วก็ระดับโลกุตตระ
ที่เรียกว่า "วิสังขารธรรม"
แต่หลักๆ แยกง่ายๆ คือ..
มันมีสภาวะรู้ กับไม่มีสภาวะรู้
สภาวะรู้ ก็มีทั้งระดับโลกียธรรม
และก็ระดับโลกุตตรธรรม
โลกียธรรม ยังมีการยึดวิญญาณขันธ์อยู่
เป็นจิตผู้รู้อยู่ มันยังมีตัวรู้
แต่โลกุตตรธรรม เป็นแค่อาการรู้
มันไม่มีการยึดขันธ์ทั้ง 5
มันจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า "การรู้เห็นตามความเป็นจริง"
ภาษาพระท่านเรียกว่า "ญาณทัสสนะ"
ซึ่งตรงนี้มันมีความแตกต่างกัน
การรู้ด้วยญาณทัสสนะเนี่ย
มันจะไม่เกิดการยึดมั่นถือมั่น
สภาวะมันจะเป็นประดุจหยดน้ำบนใบบัว
โยมรู้จักหยดน้ำบนใบบัวไหม?
เวลาหยดน้ำมันหยดบนใบบัวเป็นไง?
กลิ้งออก มันไม่ซึมซาบ
สังขตธรรม กับ อสังขตธรรม
จะไม่ระคนกัน เป็นสัจธรรม
สิ่งใดเกิดดับได้ สิ่งใดปรุงแต่งได้ สิ่งใดยึดติดได้
เป็นเรื่องของสังขตธรรม หรือสังขารทั้งหมด
สิ่งใดไม่เกิดดับ สิ่งใดไม่ปรุงแต่ง
สิ่งใดไม่ยึดติด เป็นเรื่องของอมตะธรรม
เป็นวิสังขาร ไร้การปรุงแต่ง
หัวใจของสติปัฏฐาน ก็คือ...
สภาวะรู้ธรรมเฉพาะหน้า
รับรู้สภาวะที่ปรากฏ
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
เนื้อธรรมที่รูปนามขันธ์ 5 ไม่ปรากฏ
วิญญาณขันธ์ก็ไม่ปรากฏ
แล้วเราจะนิพพานได้อย่างไร?
.
ถามกลับ...
คำว่า "จิตมีนิพพานเป็นอารมณ์" คืออะไร?
ก็ในเมื่อสภาวะนิพพาน จิตก็ไม่เกิด
อารมณ์ก็ไม่มี สิ่งนั้นอารัมมณัง ไม่มีอารมณ์
จิตมีนิพพานเป็นอารมณ์
ก็ในเมื่อสภาวะนิพพานไม่มีอารมณ์
ไม่มีรูปนามขันธ์ 5
จิต วิญญาณขันธ์ก็ปรากฏไม่ได้
จะเข้าถึงได้ต้องเข้าถึงสภาวะที่เรียกว่า
สลายวิญญาณขันธ์ วิญญาณขันธ์ก็ตั้งอยู่ไม่ได้
.
พระพุทธเจ้าอุปมาเหมือนเปลวเทียน...ดับวุ๊บ!
นั่นแหละสภาวะวิญญาณขันธ์
หรือว่าจิตจะดับวุ๊บ
ถึงจะเข้าถึงเนื้อธรรมที่บริสุทธิ์
เพราะฉะนั้น...
ทุกคนมีส่วนหนึ่งของอมตธรรมอยู่
ที่เรียกว่า พุทธสภาวะ
แต่มันถูกอวิชชาห่อหุ้มอยู่
แล้วก็วิบากกรรมที่รายล้อมอยู่
วงปฏิจจฯที่ขับเคลื่อนไปเป็นวังวน
.
การที่จะสลัดคืน แล้วสลายอวิชชาออกไป
ส่วนของอมตธรรมตรงนี้แหละ
ที่จะเข้าถึงเนื้อนิพพานธาตุได้
เพราะว่ามันคือสิ่งเดียวกัน
แต่ถามกลับว่า...
แล้วอมตธรรมที่ทุกคนมีส่วนหนึ่งเนี่ย
ใช่นิพพานไหม?...ไม่ใช่
เป็นความบริสุทธิ์ก็จริง แต่ว่าไม่ใช่นิพพาน
้เพราะว่ายังถูกอวิชชาห่อหุ้ม
มีวิบากกรรมที่รายล้อมอยู่
.
แต่เราฝึกสติปัฏฐาน
เราสามารถถอดถอนอุปาทาน
เพื่อเข้าถึงความบริสุทธิ์ชั่วคราวได้
จะเข้าถึงความบริสุทธิ์แบบถาวร
ต้องเคลียร์ทุกอย่างก่อน
วิบากกรรมทั้งหมด
ชำระล้างบาปและอกุศลธรรมให้หมดสิ้นไป
.
เพราะฉะนั้น มีแต่พระอรหันต์เท่านั้น
ที่เป็นผู้มีสติสมบูรณ์เป็นผู้ตื่นอย่างแท้จริง
แล้วบริสุทธิ์ตลอดกาล
เพราะว่าไม่มีสิ่งดึงรั้งเลยโยม
.
อย่างเราบางทีมันหลับใหล เพราะว่าวิบากมันดึงพันธนาการมันดึง
ทุกเรื่องที่เกิดในชีวิตเราเนี่ย
ไม่มีอะไรบังเอิญหรอก
วิบากมันซัดนำไป
แล้วเราชำระด้วยอะไร?
.
พระพุทธเจ้าตรัสว่า...
สติปัฏฐาน 4 สามารถชำระล้างบาป
และอกุศลธรรม ให้หมดสิ้นไปได้
.
ฝึกสติปัฏฐานเพื่อเข้าถึงความบริสุทธิ์เนืองๆ
ความบริสุทธิ์ตรงนี้แหละ
เติมตัวเองให้มากในทุกๆวัน
มันจะไปชำระล้างบาปและอกุศลธรรม
จนมันหมดสิ้นไป
.
เมื่อใดที่โยมชำระจนมันหมดสิ้นถึงจะดับรอบ
ที่เรียกว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติสมบูรณ์
จึงจะเข้าสู่นิพพานโดยสมบูรณ์ได้
.
อย่างเราๆก็สามารถหลุดพ้นได้ชั่วคราว
เอ๊ะ! ทำไมเวลานำเข้าสภาวะ มันบริสุทธิ์นะ
แต่เวลาปรกติ กิเลสมันก็เกิดขึ้นได้ไหม?... ได้
.
หลุดพ้นชั่วคราว ก็ชิมลางไปก่อน
ค่อยปฏิบัติไป ทำให้มากเจริญให้มาก
เพื่อสะสมบารมีธรรมให้แก่ตัวเอง
แล้วเมื่อใดก็ตามจนเราสะสมจนมันเต็มรอบ
เราก็มีโอกาสที่จะหลุดพ้นเป็นสมุทเฉทประหารได้
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
เวลาเข้าถึง วิปัสสนาญาณ
ประตูแห่งอมตธรรม มันเปิดออกแล้ว
สรรพสิ่ง เป็นเพียงสิ่งที่ถูกปรุงแต่ งขึ้นมา ท่ามกลางเนื้อความว่างของอม ตธรรม
อมตธรรมเป็นแบ็กกราวนด์ที่โ อบอุ้มทุกสรรพสิ่ง
เวลาโยมฝึกวิปัสสนาญาณจะเจอ สภาวะแบบแยกธาตุ แยกขันธ์ คลื่น ความสั่นสะเทือนทุกอย่าง แยกออกหมดเลย
แล้ว
การสัมผัส รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสต่างๆ
เราไม่ได้สัมผัสด้วยอายาตนะ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจด้วย
เรารับรู้ด้วยญาณวิถี
แม้กระทั่งสรรพสิ่ง ลมเคลื่อนไหว
สิ่งที่ต่างๆรับรู้ได้หมดแล ะเลือกรับรู้ได้ด้วย
อันนี้ใครฝึกมาก่อน มีสติตั้งมั่นได้เปรียบ
จะพาสัมผัสเรื่องพวกนี้ ญาณเหมือนเรด้า เวลาข่ายกางไปเป็นไง? มันตรวจจับได้หมด แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภา พของญาณของแต่ละท่านด้วย ถ้ากำลังสูง เวลาพาสัมผัสละเอียด จะสามารถสัมผัสได้หมดและเลื อกรับได้ด้วย เสียงนก เสียงแมลง เสียงต่างๆ มันเลือกรับได้
เหมือนที่พระพุทธองค์ตรัสว่ า..
รูปนามใกล้ รูปนามไกล
รูปนามหยาบ รูปนามละเอียด
รูปนามเลว รูปนามประณีต
รูปนามอดีต รูปนามอนาคต
รูปนามปัจจุบัน ก็รับรู้ได้
สำหรับผู้ที่มีสติตั้งมั่น เราจะมาฝึกวิปัสสนาญาณกัน ไม่ว่าจะเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ใกล้ไกล มันเรียกดึงเข้ามาได้หมด
เพราะว่าสรรพสิ่ง..
มันคือสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ ้นมาภายใต้เนื้อของความว่าง ของจักรวาล หรือของอมตธรรม
นี่คือการเรียนรู้ด้วยภาษาพ ระท่านเรียกว่า ญาณทัศนะ การรู้เห็นนตามความเป็นจริง
มันจะต่างจาก หูทิพย์ ตาทิพย์
หูทิพย์ ตาทิพย์ เป็นเรื่องของโลกียธรรม
จริงๆ แล้วมันไม่ใช่ หูทิพย์ ตาทิพย์หรอก
มันคือใจเป็นทิพย์
แต่ญาณมันต่างออกไป
การรับรู้ด้วย ญาณ จะไร้การยึดติด
พอฝึกถึงตรงนี้ จะแยกสิ่งที่สังขตธรรม สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง กับ อมตธรรม ธาตุบริสุทธิ์ที่มันไม่ปรุง แต่ง จนสงัดคืนเข้าไปสู่เนื้อของ อมตธรรมล้วนๆ ที่เป็น วิสังขารธรรม
โยมจะชัดเจนในสภาวะนี้มาก สำหรับคนที่กำลังดีนะ
ระหว่างฝั่งของทุกข์ คือฝั่งของสังขตธรรม
กับฝั่งนิโรธหรือพ้นทุกข์ คือฝั่งของอสังขตธรรม (อมตธรรม)
สามารถอยู่ทั้งสองฝั่งหรือเ ห็นทั้งสองฝั่ง ได้
แล้วจะรู้แจ้งด้วยตนเองเลยว ่า..
ฝั่งไหนมันสบายกว่ากัน?
มันเป็นสัจธรรมเดียวกัน
สิ่งที่ปรุงแต่ง..ต่อให้วิจ ิตรพิสดารสักเพียงใด มันก็ยังปรุงแต่งอยู่วันยัง ค่ำ
แล้วโยมจะพบว่า..โลกเราที่ต ้องสะสม มีเงินมาก เป็นมหาเศรษฐี มีทรัพย์สมบัติมาก อะไรก็มีมาก
แต่พอเนื้อแท้จริงๆแล้ว มันไม่มีอะไรเลยโยม มันคือความบริสุทธิ์
นั่นแหล่ะ ธรรมชาติแท้ๆ
มันไม่มีอะไรเลย
มันเป็นความว่างที่บริสุทธิ ์
มันคือความสมบูรณ์แบบด้วย
ไม่ต้องแสวงหา..ไม่ต้องดิ้น รน
มีความบริบูรณ์อยู่ตลอดกาล
แม้เวลาที่เราจมอยู่กับความ ทุกข์ทรมาน
จมอยู่กับความมืดมิด
ธรรมชาตินี้ก็ยังดำรงอยู่..
แล้วทางโลก มันไม่มีพอหรอก
อยากได้ ก็อยากได้มากไปเรื่อยๆ
ไม่มีที่สิ้นสุด..!!
ตราบใดที่เรายังจมอยู่กับสั งขารการปรุงแต่ง เราจะไม่มีทางที่จะพบเจอควา มสุขที่แท้จริงได้เลย
จนกว่าเราจะสามารถสลัดคืน หลุดจากความยึดมั่น ถือมั่น คืนสู่อมตธรรม จึงจะพบกับความสงบสุขที่แท้ จริงของชีวิตได้
เพราะฉะนั้น..
โอกาสทองของเราที่ได้มาเกิด เป็นมนุษย์ เราไม่ได้เกิดมาจมกับความทุ กข์ทรมาน
แต่ก็มาเพื่อพัฒนาตัวเอง เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จนเป็นอิสระจากการยึดมั่น ถือมั่น
หลุดออกจากการยึดมั่น ถือมั่น คืนสู่อมตธรรม คืนสู่ธรรมชาติที่บริสุทธิ์ พบกับความสงบสุขที่แท้จริง
คือ.. พระนิพพานได้
#ปุจฉา: การมีสติรู้ตัว กับ วิปัสสนาญาณ 16 มีความสัมพันธ์ กันอย่างไร???
แล้วจะพัฒนาให้เกิดวิปัสสนาญาน 16 ได้อย่างไร???
#วิสัชนา: ตอบปัญหาธรรมโดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
พระองค์จะไล่ลำดับอย่างนี้นะ
“สัมมาสติ” ก็คือ การระลึกรู้ที่ถูกต้อง
ก็คือ รู้สึกกาย รู้สึกใจ เป็นชั้นในสัมมาสติ คือ
จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น เป็นจิตที่ไหลไปกับอารมณ์อยู่
ก็ฝึกรู้เนื้อ รู้ตัวขึ้นมา
พอฝึกไปเรื่อย จนสติตั้งมั่น จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า
“สัมมาสมาธิ” คือความตั้งมั่น ที่ถูกต้อง
สภาวะของสัมมาสมาธิ คือ จิตมันจะตั้งมั่นแล้ว
ไม่ส่งออก แล้วมันก็จะไต่ระดับสมาธิขึ้นไป
เกิดปิติ เกิดสุข เกิดอุเบกขา
จิตตั้งมั่นขึ้นมา
จากนั้น เมื่อเปลื้องจิตออก จะเข้าสู่วิปัสสนาญาณ
จากสัมมาสติ เกิด สัมมาสมาธิ
จาก สัมมาสมาธิ พลิกเป็น
“สัมมาญาณ หรือ วิปัสสนาญาณ”
คำว่า วิปัสสนาญาณ 16 นี่
พระ ครูบาอาจารย์ท่านขยายความอธิบาย รายละเอียดไว้ 16 ระดับ
แต่จริงๆ แล้ว มันรวมอยู่ในขั้นที่เรียกว่า วิปัสสนาญาณ นี่แหล่ะ
หรือ ยถาภูตญาณทัสสนะ การรู้เห็นตามความเป็นจริง
ซึ่งจะเกิด วิปัสสนาญาณได้ จะต้องมีสติที่ตั้งมั่นก่อน
ส่วนเรียบเรียงไว้ 16 ระดับ นี้คือ เป็นภาษาเรียบเรียง ก็คือ แจกแจงไว้
แต่ว่ารวมแล้ว ก็อยู่ในคำว่า วิปัสสนาญาณ หรือ เห็นตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น เราจะไม่พบ คำว่า ญาณ 16 ในพระสูตร
พระพุทธเจ้า ไม่เคยตรัสว่า ญาณ 16
แต่พระพุทธเจ้าจะพูดว่า การรู้เห็นตามความเป็นจริง หรือ
ยถาภูตญาณทัสสนะ
ถ้าว่าโดยมรรค เนี่ย เราเคยได้ยิน มรรค 8 ใช่ไหม
มรรค 8
สัมมาสติ ข้อที่ 7
สัมมาสมาธิ ข้อที่ 8
โยมเคยได้ยิน มรรคที่ 8 ใช่ไหม
โยมว่ามันมีต่อไหม???
มี
จริง ๆ แล้ว มีทั้งหมดกี่มรรค?
10 มรรค
ต่อข้อที่ 9 คือ อะไรรู้ไหม???
สัมมาญาณ
ก็คือ วิปัสสนาญาณ นี่แหล่ะ
แต่บางพระสูตร จะเรียก
สัมมาญาณ หรือ วิปัสสนาญาณ ตรงนี้ เป็น
สัมมาทิฏฐิ ในชั้น โลกุตตระ
เราเคยได้ยินว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นชั้นปัญญา
แต่จริงๆ แล้ว ชั้นสัมมาทิฏฐิ เบื้องต้น ยังไม่จัดเป็นปัญญา
แต่ชั้น สัมมาทิฏฐิ ที่จะเป็นปัญญา คือ ชั้น สัมมาทิฏฐิ อันเป็น โลกุตตระ
ก็คือ ชั้น สัมมาญาณ
เห็นสภาวะธรรมตามความเป็นจริง
สัมมาทิฏฐิ เบื้องต้นยังไม่เห็น
แค่เข้าใจ
เข้าใจถูกต้อง ว่า อะไรคือทุกข์
อะไร คือเหตุทำให้เกิดทุกข์
อะไร คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
อะไร คือข้อปฏิบัติให้เข้าถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ยังเป็นสัญญาอยู่
แต่สัมมาญาณ หรือ สัมมาทิฏฐิ อันเป็นโลกุตตระข้อที่ 9 เป็นการเห็นตามความเป็นจริง อันนี้เป็นวิปัสสนาญาณ
เมื่อเกิด สัมมาญาณ ก็จะเกิดข้อสุดท้าย ที่เรียกว่า
“สัมมาวิมุตติ” การหลุดพ้นที่ถูกต้อง
.
แล้วจะพัฒนาให้เกิดวิปัสสนาญาน 16 ได้อย่างไร?
พระพุทธองค์ตรัสว่า
เธอจงเจริญ สัมมาสมาธิ เถิด
เมื่อสติตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็จะปรากฏ ตามความเป็นจริง
ฝึก สติปัฏฐาน โยม จนสติตั้งมั่น แล้วก็เปลื้อง ยกจิตเข้าสู่วิปัสสนาญาณ
ก็จะเกิด วิปัสสนาญาณได้นะ
การเห็นตามความเป็นจริง โดยที่สติไม่ตั้งมั่น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
เพราะฉะนั้น..
ถ้าโยมอยากจะเดินวิปัสสนา โยมก็ต้องฝึก "สติปัฏฐาน" จนมีสติที่ตั้งมั่น
และจะเกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริง
...................................................................
ตอบปัญหาธรรมโดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
ณ ยุวพุทธ o๔ / ๒0 พ.ย. ๒๕๖๒
จักระ คือ อะไร
เปิดจักระแล้ว ดีจริงเหรอ?
จักระ มันคือ ฐานพลังงานของร่างกาย
ถ้าเป็นพวกโยคีอินเดีย ก็เรียกว่า จักระทั้ง 7
แล้วก็ พลังกุณฑาลินี
ถ้าเป็นของจีน เค้าก็จะพูดถึง ชี่ หรือ พลังชีวิต
ร่างกายเรา มันไม่ได้ประกอบด้วย กายภาพเท่านั้น
มันมีเรื่องของ พลังงานชีวิต ที่ใช้ในการหล่อเลี้ยง ระบบต่างๆ ในร่างกายของเรา
ซึ่งจริงๆ แล้ว มันก็คือ ฐานพลังงานของร่างกายนี่แหล่ะ
มันคือ ฐานของเวทนา หรือพลังงานชีวิตของร่างกาย
ซึ่งปกติ ยังไม่ได้ ฝึกสติ จิตฟุ้งซ่าน ระบบตรงนี้ มันจะยังไม่เปิดออกมา
ตรงนี้มันจะเชื่อมโยงเกี่ยวกับเรื่องของ สุขภาพกายจิต ด้วย
ถ้าเป็นเรื่องของศาสตร์วิชาทางกายแพทย์
เค้าก็จะพูดถึง เรื่องของฮอร์โมน
ต่อมให้สมอง แล้วก็ฮอร์โมน ที่มันทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนต่างๆ ในการขับเคลื่อนร่างกายขี้นมา
มันมีการเกี่ยวโยงเรื่องของ ฮอร์โมน
เรื่องต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมนที่มีการขับ
มันก็อาศัยช่องทางจักระทั้ง 7
มันคือ พลังงาน ฐานพลังงานที่หล่อเลี้ยงร่างกายอยู่
ปกติ ถ้าเรายังไม่ได้มีจิตใจที่ตั้งมั่น
ฐานตรงนี้ มันก็ยังจะไม่ได้เปิดออกมา
แต่พอเราฝึกสติปัฏฐาน จนเกิดสติที่ตั้งมั่นขึ้นมา
จนมันเกิดการแผ่ซ่านทั่วกาย
เกิดการโปร่ง โล่ง เบาสบายขึ้นมา
จักระตรงนี้ มันจะเปิดโฟล ออกมา
เราจะรู้สึกว่า การรับรู้เรามันจะกว้างขึ้น รับรู้ได้รอบทิศทางเลย
ซึ่งในภาษาพระ ก็จะเกี่ยวกับเรื่องของ ผรณาปิติ
ที่พูดเรื่องของ ธรรมโอสถ
ถ้าปิติแผ่ซ่านออกมา แล้วอยู่ได้เนืองๆ ระบบฮอร์โมน ระบบพลังงานชีวิต มันจะเดินโฟลมาก
ผลที่ตามมา มันจะทำให้เรามีสุขภาพจิต และสุขภาพกายที่ดี
เลือดลม เดินสะดวก
ระบบในร่างกาย ทำงานได้มีประสิทธิภาพ
เรื่องของพลังงานชีวิต ก็เลยมีเรื่องของ พวกสายพลังจักรวาล
เค้าก็จะใช้เรื่องการเชื่อมต่อ กับพลังจักรวาล แล้วก็เปิดจักระ เพื่อใช้ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ
บางคนก็ไปให้เค้าเปิดให้
จริงๆ แล้วการเปิดจักระ มันมีทั้งข้อดี และข้อเสีย
เปรียบเหมือนเรามีบ้าน ปกติเราก็ปิดประตูบ้านอย่างมิดชิด
เราก็ใช้ชีวิตได้ปกติ
แต่อยู่ดีๆ เราไปเปิดบ้าน เปิดหน้าต่าง...เป็นยังไง
ลมพัด มันก็โล่ง สบายดี
แต่ถ้าในยุคสมัยนี้ โยมเปิดบ้านทิ้งไว้ ได้ไหมล่ะ
สิ่งไม่ดี กระแสไม่ดี โจรต่างๆ มันก็เข้ามาได้
ถ้ามันเข้ามาแล้ว มันจะทำให้จิตใจเรารวน
เครื่องมันรวน
เหมือนคอมพิวเตอร์ ที่มันถูกไวรัส
ถูกมัลแวร์แฝงฝังเข้ามา
มันทำให้เครื่องรวน ไม่เป็นตัวของตัวเอง
เพราะฉะนั้น จะไม่แนะนำให้ ไปให้คนอื่นเปิดให้
เพราะถ้าอย่างนี้ ใจเรายังไม่ตั้งมั่น
เราไปให้เค้าเปิด
มันเปิดออกมาแล้วเรา ปิดไม่เป็น
เวลาเปิดบ้าน อ้าซ่า ทิ้งไว้
ผลที่ตามมา คือ เราจะไปรับอารมณ์ ไปรับกระแสได้ง่าย
รับสิ่งที่ไม่ดีได้ง่าย โดยเฉพาะในยุคสมัยนี้ พลังงานที่ไม่ดีมันเยอะ
แล้วมันจะมีปัญหาในการใช้ชีวิตของเรา
หลายคนที่เข้ามา ต้องเข้ามาแก้เรื่องพวกนี้ให้ เคลียร์ให้ แล้วก็ปรับทุกอย่าง ให้เข้าสู่ ภาวะปกติ
ไม่งั้นบางที มันก็ใช้ชีวิตยาก
สิ่งที่แนะนำ ก็คือ ให้ฝึกสติปัฏฐาน จนมีสติที่ตั้งมั่น
พอกำลังเราถึง มันจะเปิดขึ้นมาเองโดยธรรมชาติ
ซึ่งถ้าเราฝึก มาด้วยตัวเราเอง
เหมือนเรามีเบสิคดีแล้ว
มันเปิดเป็น มันจะปิดเป็น
เวลาเข้าสภาวะละเอียด จิตมันจะเปิด มันก็จะโล่ง สบาย ซาบซ่านทั่วกาย
แต่พอเราถอยมาฐานกายปุ๊บ มันจะปิดให้
อย่างนี้ เปิดเป็น ปิดเป็น
อย่างนี้ เราจะใช้ชีวิตได้เป็นปกติ
เพราะฉะนั้น ทุกอย่าง มันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
มันสำคัญว่า เราเรียนรู้ เข้าใจ แล้วก็ควบคุมได้ดั่งใจหรือเปล่า
เหมือนเรามีรถ รถที่มันแรง แล้วมันเร็ว ดีไหมล่ะ
ชอบไหม รถแรง รถเร็ว
แต่ถ้าเราขับไม่ชำนาญ เกิดอุบัติเหตุได้ไหม
เพราะฉะนั้นในความเป็นจริง สิ่งที่สำคัญกว่า การเปิด ก็คือ การฝึกความชำนาญ
สามารถเดินสภาวธรรมแล้วปรับความละเอียดได้ดั่งใจ
นั่นคือ สิ่งที่ควรเรียนรู้ หลังจากเบสิคเราแน่นแล้ว
เบื้องต้น คือ ฝึกฐานให้แน่น
ฐานกายให้แน่น
เจริญสติในชีวิตประจำวัน จนมีจิตใจที่ตั้งมั่นเนืองๆ
พอฝึกไปมากๆ จิตมันเปิดออก เบิกบานออก
ทีนี้ก็ฝึก วสี ความชำนาญ ในการอยู่ฐานกาย
ในการเข้าสภาวะที่ประณีต
และ ถอยกลับมาได้
พอถอยกลับมาฐานกายปุ๊บ มันจะปิด มันจะไม่เปิด
แต่พอสภาวะละเอียด จิตมันจะเปิด
มันมีประโยชน์ ข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกันไป
เราควรเรียนรู้ แล้วฝึกฝนให้ชำนาญ
สิ่งที่เน้นย้ำ คือ ไม่แนะนำไปให้คนอื่นเปิดให้
หรือ ทำพิธีใดๆ ทั้งสิ้น
เพราะที่พบ มันมีแต่ของไม่ดี ที่เข้าตัวเรา
ไม่แนะนำให้ไปเปิด หรือ ไปทำพิธีกรรมใดๆ ทั้งสิ้น
ให้ฝึก สติปัฏฐานจนทำที่พึ่งให้กับตนเอง
พระพุทธเจ้า สอนให้ อัตตาหิ อัตตโน นาโถ
ทำที่พึ่งให้กับตนเอง ด้วยการเจริญสติปัฏฐานสี่
ไว้จะสอนเบสิค ระดับกลาง ระดับสูง
ให้พวกเราเรียนรู้ฝึกฝนกัน
จะได้ดูแลตัวเองได้ แล้วก็เดินในเส้นทางที่ถูกต้อง
จนหลุดพ้นจากกองทุกข์ได้
ชีวิตสมัยนี้ก็จะเจอปัญหาต่ างๆมาก
เจอความเครียด ความกดดัน
เจอความวิตกกังวล ความกลัว
เจอความเศร้าโศกเสียใจ ขุ่นเคืองใจ
เจอความโกรธ ความคับแค้นใจ ความเกลียดชัง
ต้องพบกับความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ
พบกับความผิดหวัง ไม่สมความปรารถนา
บางเรื่องมันผ่านไปแล้ว หลายเดือนหรือหลายปี
แต่เราก็เก็บมาคิดซ้ำๆ จมปลักอยู่กับอดีต จมปลักอยู่กับเรื่องราวต่าง ๆ
ให้ทุกข์ซ้ำๆ เศร้าโศกซ้ำๆ คับแค้นใจ
ไม่สามารถที่จะคลายออก หลุดออกจากอารมณ์ได้
ถ้าเรามีชีวิตที่มันเศร้า ไม่มีความสุข หดหู่ ท้อแท้
การเจริญสติอยู่เป็นประจำ
จะช่วยให้เราคลายออกหลุดออก จากสิ่งต่างๆได้
คลายจากความเครียด
คลายจากความกดดัน
คลายความกลัว
คลายจากความเศร้า
คลายจากความโกรธขุ่นเคืองใจ
คลายจากความเดือดเนื้อร้อนใ จต่างๆ
จิตมันก็จะคลายตัวจากสิ่งต่ างๆเหล่านี้ได้
พออารมณ์ต่างๆคลายตัวออกไป
ภายในมันจะเริ่มใส สงบ
มีความเบา มีความผ่องใส มีความโปร่งโล่งเบาสบาย
สัมผัสความสุขที่ปราณีตลึกซ ึ้งขึ้นไปเรื่อยๆ
เราจะพบได้ว่าที่จริงแล้ว..
ความสุขที่แสวงหามาทั้งชีวิ ต
ไม่ได้อยู่ภายนอกที่ไหนเลย
อยู่ภายในใจของเรานี่เอง
สติเป็นกุญแจ
ที่จะทำให้เราคลายจากความทุ กข์
จากความเร่าร้อนทั้งปวง
พบกับความสงบสุขที่แท้จริงข องชีวิตได้
การฝึกก็เป็นเรื่องง่ายๆสบา ยๆ
รู้สึกถึงกายที่เคลื่อนไหวไ ปเรื่อยๆสบายๆ
ปลุกประสาทสัมผัสการรับรู้ใ ห้ตื่นขึ้นมาเนืองๆ
จนสามารถรู้สึกได้ทั้งตัว ก็รู้สึกทั้งตัวไปเรื่อยๆสบ ายๆ
เมื่อตัวรู้ เริ่มตื่นขึ้นมา
ก็จะคลายออกจากโลกของความคิ ดปรุงแต่ง
คลายออกจากอารมณ์ต่างๆ
นั่นคือวิธีการหลุดออกจากคว ามทุกข์
จากความเร่าร้อนทั้งปวง
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
#ในเรื่องของอานิสงส์คุณงามความดีต่างๆ
ให้ทานกับสัตว์เล็กสัตว์น้อย ก็มีอานิสงส์
ให้ทานกับสัตว์ใหญ่ ก็มีอานิสงส์ที่มากกว่า
ให้ทานกับมนุษย์ ก็มีอานิสงส์ที่มากกว่า
ให้ทานแก่อริยบุคคล
ก็มีอานิสงส์ที่พอกพูนขึ้นไป
ถวายทานแด่พระพุทธเจ้า
อานิสงส์ก็สูงกว่าทานต่างๆ
ถวายทานเป็นสังฆทานแด่หมู่พระภิกษุสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
อานิสงค์ก็ยิ่งสูงขึ้นไป
ถวายวิหารทาน สร้างเสนาสนะที่อยู่อาศัย
ให้ผู้คนได้ปฏิบัติธรรม
ก็มีอานิสงส์ที่พอกพูนขึ้นไป
ให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง
ก็มีอานิสงส์ที่สูงขึ้นไปอีก
นี่คือในส่วนของทาน
.
ถ้าพูดถึงการสร้างบุญกุศล เราจะนึกถึงอะไร?
ใส่บาตร สวดมนต์ ฟังธรรม สร้างโบสถ์
สร้างวิหาร... อันนี้ก็เป็นบุญกุศล
แต่บุญกุศลที่สูงกว่าในส่วนของทาน
พระพุทธองค์ตรัสว่า “มหาทาน"
เป็นการให้ทานอันยิ่งใหญ่
ถ้าพูดถึง “มหาทาน” ทานอันยิ่งใหญ่
โยมจะนึกถึงอะไร?
หมายความว่าเราต้องทำบุญมากๆ
7 วัน 7 คืน อย่างนั้นหรือเปล่า?
ถึงจะเรียกว่ามหาทาน
.
พระพุทธองค์ตรัสว่า...
ศีล งดเว้นจากการเบียดเบียน คือมหาทาน
เป็นการให้อภัยทาน ให้ความไม่มีเวร
ให้ความไม่มีภัย แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย
ศีลโยม... งดเว้นจากการเบียดเบียน
จัดว่าเป็น "มหาทาน"
อานิสงส์สูงกว่าบรรดาทานที่กล่าวมาทั้งหมดเลย
.
เพราะว่าอะไร?
ถ้าทุกคนไม่เบียดเบียนกัน โลกร่มเย็นไหมโยม?
ต้องมีทหารไหม?
ต้องก็มีตำรวจไหม?
ต้องมีอาวุธสงครามไหม?
ต้องมีการทำร้ายประหัตประหารกันไหม?
ไม่มี! โลกจะร่มเย็นมาก
สรรพสัตว์ทั้งหลายจะอยู่กันได้
ด้วยความไม่เบียดเบียน จึงเป็นมหาทาน
ผู้ที่ไม่เบียดเบียนใคร อยู่ที่ไหนที่นั่นก็ร่มเย็น
ศีล... งดเว้นจากการเบียดเบียนเป็นมหาทาน
รักษาศีล 100 ปี อานิสงส์ยังไม่เท่ากับ
เกิดสมาธิแม้เพียงชั่วขณะหนึ่ง
.
ฝึกสมาธิโยม...
อานิสงส์สูงกว่าที่กล่าวมาทั้งหมดเลย
เจริญสมาธิ ฌานสมาบัติ 100 ปี
อานิสงส์ยังไม่เท่ากับเกิดวิปัสสนาญาณ
เห็นการแตกดับของรูปนามตามความเป็นจริง
แม้เพียงชั่วขณะหนึ่ง
เจริญวิปัสสนาญาณอานิสงส์สูงมาก
เป็นมหากุศลเลย
พระพุทธองค์ถึงทรงตรัสว่า...
บ่อเกิดแห่งบุญกุศลทั้งปวง
ถ้าจะพูดให้ถูกก็คือสติปัฏฐาน 4
ฝึกสติปัฏฐาน... จิตที่เป็นกุศลก็เกิดขึ้น
สมาธิความตั้งมั่นก็เกิดขึ้น
ปัญญาการรอบรู้ในกองสังขารก็เกิดขึ้น
วิมุตติ การหลุดพ้น ก็เกิดขึ้น
นี่คือวิธีการเพิ่มพูนอริยทรัพย์อันประเสริฐ
จนบารมีธรรมเต็มเปี่ยม
ฝึกสติปัฏฐาน 4 ในทุกๆวัน
.
จะดีกว่าไหม?... แทนที่เราจะทำมาหากิน
สะสมทรัพย์ทางโลกอย่างเดียว
เจริญสติปัฏฐาน 4 ในทุกๆวัน
สะสมอริยทรัพย์อันประเสริฐ
ให้แก่ตัวเองในทุกๆวัน
ถ้าโยมฝึกในทุกๆวัน
จนบารมีธรรมโยมเต็มเปี่ยม.. แก่รอบ
โยมสามารถหลุดพ้นเป็นสมุจเฉทประหาน
หลุดพ้นจากวงจรแห่งวัฏสงสารได้
เกษียณจากวัฏสงสาร
นั่นคือคุณค่าที่แท้จริง
ของการเกิดขึ้นมาเป็นมนุษย์
พบพระพุทธศาสนา
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
พระพุทธองค์ ตรัสว่า...
หากพูดถึง กองกุศลธรรมทั้งปวง
บ่อเกิดแห่งคุณงามความดีทั้ งปวง
ถ้าจะพูดให้ถูกก็คือ สติปัฏฐานสี่
ฝึกสติปัฏฐานสี่ อยู่เป็นประจำ
สะสมบุญกุศล อริยทรัพย์อันประเสริฐให้แก ่ตัวเองอยู่เนืองๆ
สิ่งนี้แหละ ที่จะเป็นที่พึ่งแท้จริงให้ กับท่านทั้งหลาย เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกู ล
เพื่อความสุข ตลอดกาลนานได้
ทรัพย์สมบัติต่างๆทางโลก ก็เป็นสิ่งที่เราสามารถ ใช้ประโยชน์ได้ในขณะที่เราม ีชีวิตเท่านั้น
แต่เมื่อใดต้องจากโลกนี้ไป
สิ่งเหล่านี้ ก็ไม่สามารถที่จะให้คุณค่าอ ะไรแก่เราได้
มันเป็นของ ของโลก มันไม่ใช่ของๆเรา
บาทเดียว ก็เอาไปไม่ได้
ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่เป็นชื่อเรา
รถ ที่เป็นชื่อเรา
ที่ดิน ที่เป็นชื่อเรา
ทรัพย์สมบัติต่างๆ ที่เป็นชื่อเรา
มันเป็นของ ของเราหรือเปล่า?
หรือว่ามันเป็นของ ของโลก?
ถ้ามันเป็นของ ของเราจริงๆ เราก็ต้องเอาไปได้
แต่ถ้าวันนี้เราตายลงไป เราเอาอะไรไปได้บ้าง?
มันเป็นของ ของโลก
มันไม่ใช่ของ ของเรา
เราเสียเวลากับสิ่งเหล่านี้ ไปมากน้อยแค่ไหน?
โดยไม่ได้สะสมอริยทรัพย์อัน ประเสริฐ
ที่เป็นคุณค่าที่แท้จริง
ที่จะทำให้เราเข้าถึงสาระปร ะโยชน์แท้จริงของชีวิตได้
เราเสียเวลาไปเท่าไหร่
สะสมทรัพย์ภายนอกอย่างเดียว
ซึ่งเป็นของ ของโลก ไม่ใช่ของ ของเรา
เป็นสิ่งที่เราหยิบยืมใช้ได ้ แค่ช่วงที่เรามีชีวิตอยู่
แต่อริยทรัพย์อันประเสริฐ
เป็นสิ่งที่จะติดตัวเราไปตล อดกาล
เป็นของสากล เป็นของธรรมชาติ
ตราบใดที่เรายังต้องท่องเที ่ยวไปในวัฏสงสาร
"อริยทรัพย์" อันประเสริฐนี้
จะเป็นที่พึ่งที่แท้จริงให้ แก่ท่านทั้งหลาย
ชักนำให้ท่านทั้งหลาย ท่องเที่ยวไปในสุคติภูมิ
พบแต่ความสุข ความสบาย
ทำให้ท่านทั้งหลาย หลุดจากความทุกข์ทรมาน
มันคือ ทรัพย์ที่เป็นของสากล
แต่ทรัพย์ทางโลก มันเป็นแค่ของ ของโลก
เพราะฉะนั้น สิ่งที่อยากจะแนะนำก็คือ
ให้ฝึกตามที่พาฝึกอย่างนี้อ ยู่เนืองๆในทุกๆวัน
มันจะเป็นประโยชน์แก่ท่านทั ้งหลายมาก
โดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
ทุกสรรพสัตว์ ที่อยู่ในวัฏสงสาร
ถ้าตื่นขึ้นมาแล้วชำระตนเอง
มีโอกาสกลับมาแล้วหลุดพ้น
ได้เหมือนกันทั้งหมด
แต่ ณ ปัจจุบัน ตั้งแต่เริ่มวิวัฒนาการ
ของวัฏสงสาร จนถึงปัจจุบัน
ยังไม่มีใครกลับมาได้เลย!
แช่อย่างนั้นไปอย่างยาวนานมากๆ
ไม่ได้ง่าย ขนาดที่ว่าจะกลับมา!
แต่ด้วยกำลังของพระพุทธศาสนาปัจจุบัน
และต่อไป จิตวิญญาณเหล่านั้น
จะเริ่มตื่นขึ้น แล้วก็ค่อยๆกลับมา
มีงานของพระพุทธศาสนา...
ที่เป็นภาพรวมทั้งหมดอยู่ สุดท้ายคือ...
การพาทุกคนหลุดพ้น เข้าสู่พระนิพพาน
แต่ยาวนานมาก
.
เพราะฉะนั้นถามว่า...
กลับมาได้ไหม?...กลับมาได้
แต่...ปัจจุบัน..ยังไม่มีใครกลับมาได้เลย!!
มีแต่ไปลึกๆๆ ขึ้นไปเรื่อยๆ
แต่ว่าอนาคตจะเริ่มมีเรื่อยๆแล้ว
เพราะว่าพระพุทธศาสนาก็พัฒนามาตาม
กำลังที่สะสมมาตั้งแต่เริ่มต้นเหมือนกัน
งานพระพุทธศาสนา ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง
เป็นเรื่องของพระพุทธศาสนาทั้งหมด
พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
พระธรรมพระอริยสงฆ์
เป้าหมายของพระพุทธศาสนา คือ
พาทุกคนกลับบ้าน
คืนสู่ อมตธรรมทั้งหมดเลย
แต่โยมคงไม่อยากจะกลับช้า ใช่ไหม?
กลับเร็วๆดีกว่ามั๊ย?... ดีกว่านะ
ไม่ต้องไปรอตรงนั้นนะ กลับเร็วๆดีกว่า
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
#ชำระตนอย่างไรให้ปิดอบายภูมิ
สิ่งที่ผ่านไปแล้ว...
เราไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
แต่เราทำปัจจุบันให้ดีได้
#ไม่เพิ่มความหนักให้แก่ตัวเอง
ละความชั่ว ทำความดี ชำระจิตให้หมดจด
ด้วยการปฏิบัติธรรม
ในจิตวิญญาณ
ถ้าทำความดี...
ก็จะเป็นพลังงานที่ดี สะสมไว้ด้านบน
คอยดึงจิตวิญญาณให้ลอยตัวขึ้น เป็นอริยทรัพย์
เป็นบุญบารมีธรรม
ถ้าทำความชั่ว...
ก็เป็นพลังงานด้านมืด อยู่ด้านล่าง
คอยดึงจิตวิญญาณดวงนั้นให้ตกต่ำไปเรื่อยๆ
เสวยความเผ็ดร้อนทุกข์ทรมาน
.
เพราะฉะนั้น...
ทุกคนมีทั้งด้านมืดและด้านสว่าง
ในตัวเองอยู่แล้ว
มันเป็นธรรมชาติ
ที่มีทั้งความสว่างและความมืดในตัว
แต่ส่วนใหญ่จะมีความมืดมากกว่า
เพราะฉะนั้น!! ก็ต้องชำระกัน..
เปรียบเหมือนทางโลก..
เรามีหนี้มีสิน
เราจะหยุดเรื่องราวได้
เราก็ต้องใช้หนี้ให้หมด...ถูกไหม?
มีมากก็ต้องใช้มาก... มีน้อยก็ใช้น้อย
ทุกคนก็ต้องชำระเช่นกัน
ถึงจะหลุดพ้นได้
.
#วิธีชำระล้างในพระพุทธศาสนาคือสิ่งใด?
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “สติปัฏฐาน 4”
สามารถชำระล้างบาป
และ อกุศลธรรมจนหมดสิ้นไปได้
#เจริญสติปัฏฐานชำระกันอย่างไร?
ก็เหมือนที่พาท่านทั้งหลายปฏิบัตินี่แหละ
พอสลัดคืนเข้าถึงความบริสุทธิ์
ท่านทั้งหลายจะเข้าถึงแหล่งของความบริสุทธิ์
ของธรรมชาติ
"#น้ำดีชำระน้ำเสีย”
กรรม...พระพุทธองค์ทรงอุปมาเหมือน “เกลือ”
เกลือนี่มันเค็ม...
พอเอาเกลือใส่น้ำ น้ำมันก็เค็ม
เราจะทำอย่างไรให้น้ำหายเค็ม?
ก็ต้องเติมน้ำ เติมน้ำ
ทำให้มาก เจริญให้มาก
.
.
ด้านมืดเราก็เช่นกัน
เราก็ต้องใช้ความบริสุทธิ์ เพื่อนำไปชำระ
น้ำดีชำระล้างน้ำเสีย
เพราะฉะนั้น...
ถึงต้องลงสอนทุกเช้าทุกค่ำก็เพื่อสิ่งนี้!
ให้ท่านทั้งหลาย...
ได้มีโอกาสปฏิบัติธรรม
เข้าถึงความบริสุทธิ์อยู่เนืองๆ
#เพิ่มพูนอริยทรัพย์
หรือ บารมีธรรมให้แก่ตัวเองอยู่เนืองๆ
ในทุกๆ วัน...
ถ้าท่านทั้งหลาย...
สะสมความบริสุทธิ์อย่างนี้อยู่เนืองๆ
จนบารมีท่านทั้งหลายเต็มเปี่ยม
ท่านทั้งหลายก็จะมีโอกาสหลุดพ้นเ
ป็นสมุจเฉทปหานได้
#การหลุดพ้น มีอยู่ 4 ระดับนะ
การเต็มรอบมีอยู่ 4 ระดับ
คำว่า “บารมีเต็ม” วัดจากอะไร?
ก็วัดจากความหนักของตัวเองนั่นแหละ
ถ้าทำกรรมหนักมาน้อย ก็ต้องชำระกันน้อยนะ
แต่ถ้าทำกรรมหนักมามาก ก็ต้องชำระกันมาก
ก็ต้องใช้ความบริสุทธิ์มากเพื่อชำระกันไป
เพราะฉะนั้น...
คำว่า “บารมีธรรม” แต่ละคนจะไม่เท่ากัน
ที่ต้องชำระ หนี้สิน บาป
และอกุศลกรรมก็ไม่เท่ากัน
เต็มรอบครั้งแรกก็คือ.. .
ความบริสุทธิ์เท่ากับความหนักของตัวเอง
ด้านบนกับด้านล่างมันต้องเท่ากัน"เติมจนเต็ม"
ก็เกิดสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า
#ตกกระแสธรรม
ภาษาพระท่านเรียกว่า...
“พระโสดาบัน” เป็นอริยบุคคล
..
สิ่งนี้สำคัญอย่างไร?
พระพุทธเจ้าการันตีว่า
#ปิดอบายภูมิ รอดตัว
ท่านทั้งหลายว่า...
มันจะมีกิจอันใดสำคัญกว่านี้
อย่างน้อยเต็มรอบแรก!
ปิดอบายภูมิให้ได้ก่อน
ประกันตนเองให้ได้ก่อนว่า
“ฉันจะไม่ตกต่ำไปสู่อบายภูมิอีกแล้ว”
#เป็นผู้ตกกระแสธรรม
#เที่ยงตรงต่อพระนิพพาน
#เกิดอีกไม่เกิน_7ชาติ
อันนี้คือภารกิจแรกของทุกคน
อย่างน้อยรอบแรกอุ่นใจ
พอระเบิดรอบแรกปุ๊บ..
ฐานบารมีจะไปปรากฏในนิพพานธาตุ
ในชั้นพลังงานเลย
เป็นผู้เที่ยงตรงแล้ว ไม่ตกต่ำแล้ว
พอปฏิบัติถึงตรงนี้ จะเริ่มเข้าถึงความบริสุทธิ์
ได้ด้วยตนเองแล้ว เพราะว่า
ฐานบารมีไปปรากฏในนิพพานธาตุแล้ว
แต่มันจะมีระดับอยู่
ชั้นที่ 1 ชั้นที่ 2 ชั้นที่ 3...
ขึ้นอยู่กับความเป็นอริยบุคคล
พระโสดาบันก็จะอยู่ระดับแรก
แต่เริ่มปรากฏในนิพพานธาตุ จะไม่ตกต่ำแล้ว
ต่อให้ไปเกิดอีก ก็จะไม่หลงวกวนแล้ว
เพราะตนเองมีฐานบารมีอยู่ที่นิพพานแล้ว
เป็นพลังงานบริสุทธิ์อยู่ตรงนั้นแล้ว
เพราะฉะนั้น...
ในเนื้อของพลังงานบริสุทธิ์นี่
จะประกอบด้วยความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ
กับความบริสุทธิ์ที่มีเจ้าของ
พอเต็มรอบครั้งแรกแล้ว จากนั้นก็สะสมต่อ
เพื่อระเบิดครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4
ชำระหนี้สินทุกอย่างจนหมดจด
ที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า...
เป็นพระอรหันต์
ก็คือเป็น “ผู้ที่มีสติสมบูรณ์”
ดับรอบหมดจดแล้ว ไม่มีพันธนาการ
ไม่มีวิบากกรรมมาคอยดึงรั้งทั้งหมดแล้ว
.
.
อย่างเราๆนี่!!
มันตื่นตลอดไม่ได้หรอก เพราะว่า
เดี๋ยวมันก็มีวิบากคอยดึง
มีพันธนาการคอยดึง
ก็ผลุบๆโผล่ๆ ก็ค่อยๆปฏิบัติไป
จะมาบอกว่า...
ฉันจะเป็นผู้ตื่นอยู่ตลอดเวลา
มันเป็นไปไม่ได้หรอก
ตราบใดที่ที่ยังมีวิบากกรรม
หรือพันธนาการคอยดึงรั้ง
จนกว่าจะชำระหนี้สินจนหมด!
ถึงจะเป็นผู้ตื่นโดยสมบูรณ์
ที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่าเป็น “พระอรหันต์”
เป็นผู้ที่มีสติสมบูรณ์
หลังจากนั้นเมื่อท่านละสังขารแล้ว
พระพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงดับขันธ์ปรินิพพานก็ดี พระอรหันต์ทั้งหลายก็ดี
พอละสังขารแล้วก็จะกลับคืน
ยุบรวมเข้าสู่อมตธรรม
เนื้ออมตธรรม...
จะเป็นความนิ่ง สงบ เป็นปึกแผ่น
เป็นภราดรภาพ มีความสงบ มีความผ่องแผ้ว
เมื่อยุบรวมแล้วจะไม่กลับมาอีกแล้ว
อยู่กับความบริสุทธิ์ไปตลอดกาล
นั่นคือ “#บรมสุขที่แท้จริง”
.
.
.
.
ธรรมบรรยายโดย
พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
.
การที่จะหลุดพ้นจากวงจรวัฏส งสารโดยถาวร
ท่านทั้งหลายก็ต้องสะสมบารม ีธรรม ของตัวเอง
หรือ อริยทรัพย์ อันประเสริฐ
จนบารมีธรรมมันเต็มเปี่ยม
จึงจะมีโอกาสหลุดพ้นเป็นสมุ ทเฉทปหารได้
พระพุทธองค์ตรัสว่า...
จิตนี้ประภัสสรผ่องใสมาแต่เ ดิม
แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสจ รมา
เพราะความไม่รู้แจ้งพระสัทธ รรม
จึงถูกอวิชชา เป็นเครื่องกั้น
ถูกตัณหา เป็นเครื่องผูก
ท่องเที่ยวไปในวัฏสงสารอย่า งยาวนาน
เนื้อแท้ของพวกเราทุกคนมีคว ามประภัสสร มีความบริสุทธิ์
มีธรรมชาติที่บริสุทธิ์อยู่
แต่เพราะความไม่รู้แจ้งแห่ง พระสัทธรรม
ถูกอวิชชาห่อหุ้ม
จากนั้นก็หลงเวียนว่ายตายเก ิด อยู่ในวัฏสงสาร
ก็จะหลงทำกรรมต่างๆไว้
ส่วนใหญ่แล้วก็ก่อการเบียดเ บียนต่างๆ ไว้
"กิเลส" ทำให้ เกิด "กรรม"
"กรรม" ทำให้ เกิด "วิบาก"
เป็นวงจรหมุนรอบตัว ขับเคลื่อนไป
สิ่งเหล่านี้ มันจะขับเคลื่อนให้เกิดการห มุนวนในวัฏสงสาร
มันคือกรรม แล้วก่อให้เกิดวิบาก
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า. ..
วัฏฏะ มันเป็น "บ่วง" ของมาร
ตอนพระพุทธองค์ ตรัสรู้
ทรงเปล่งอุทานขึ้นมาว่า...
"เราพ้นแล้วจากบ่วงของมนุษย ์ และบ่วงของทิพย์"
บ่วงทิพย์ ละยากกว่า
เรา มีจุดด้อยในใจอะไร
มันจะปรุงออกมาได้ทั้งหมด
ขับเคลื่อนด้วยพลังงานลบ
สิ่งที่เราเห็นมันคือ สิ่งลวง
เห็น กงจักร เป็น ดอกบัว
เพราะฉะนั้นถ้าเราปฏิบัติไป แล้วเราเห็น พระพุทธนิมิตขึ้นมา
ให้รู้เลยว่ามันเป็นสิ่งลวง ทั้งหมด
มันคือพลังงานในจักรวาลที่ข ับเคลื่อน ให้เราติดอยู่ในวัฏสงสาร
ตลอดระยะเวลาที่เราเวียนว่า ยในวัฏสงสาร
เราก็หลงทำกรรมต่างๆ
แต่ละคนจะมีวิบากกรรมที่ราย ล้อม
สิ่งนี้ มันขับเคลื่อนให้เราเกิดการ หมุนวน
ไม่มีใครอยากอยู่กับความทุก ข์ทรมานหรอก
ไม่มีใคร อยากจะเป็นคนไม่ดี ทำความชั่วหรอก
แต่วิบากกรรมมันชักนำสรรพสั ตว์
ให้หลงผิดให้หมุนวน
ติดอยู่ในวัฏสงสาร
การที่เราจะหลุดจากวงจรตรงน ี้ได้
เราต้อง สะสมบารมีธรรม ของตัวเอง
จนมันเต็ม
คำว่า บารมีเต็ม มันวัดจากอะไร?
ก็วัดจากวิบากกรรม ที่เราทำไว้ทั้งหมด
มันต้องชำระล้างกันทั้งหมดเ ลย
มันถึงจะหลุดจากวงจรตรงนี้ไ ด้
พระพุทธเจ้าตรัสว่า... สติปัฏฐานสี่ สามารถชำระล้างบาป และอกุศลธรรมให้หมดสิ้นไปได ้
ฝึกสติปัฏฐาน
โดยเฉพาะ ที่พาฝึกในทุกๆวัน
จะนำท่านทั้งหลายเข้าสู่เนื ้อธรรมที่บริสุทธิ์ได้
โดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
“บารมีธรรม” หรือ “อริยทรัพย์อันประเสริฐ”
มันจำเป็นกับพวกเราทุกคนอย่างไร?
ทำไม? เราถึงต้องสะสมสิ่งนี้
.
เปรียบเหมือนทางโลก
โยมก็ต้องใช้ปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตใช่ไหม?
ซึ่งยุคสมัยนี้ก็ต้องใช้ทรัพย์สินเงินทอง
ในการจับจ่ายใช้สอย ต้องรู้จักทำมาหากิน
ได้เงินมาเพื่อใช้ซื้อปัจจัย 4
อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค
.
เมื่อโยมมีหนี้มีสิน...
โยมก็ต้องชำระหนี้สินกันไป
ถ้าไม่ใช้หนี้เป็นไง?... ก็ติดคุกติดตาราง
หรือทำความผิด... ก็ต้องติดคุกติดตะราง
แต่ถ้ามีเงิน...ก็จ่ายค่าปรับไป ชำระกันไป
.
เพราะฉะนั้น...
เหตุที่มนุษย์ชาวโลกที่อยากมีเงิน ก็เพราะว่า
รู้สึกว่าเงินมันสร้างคุณค่าให้ตนกับตนเอง
มีบ้าน มีรถ มีทรัพย์สมบัติ
สามารถกินในสิ่งที่เราอยากกิน
ท่องเที่ยวไปในสิ่งที่เราอยากทำ
แต่เงินมันให้คุณค่าแก่เราได้
แค่ช่วงที่เรามีชีวิตอยู่เท่านั้น
.
เมื่อใดที่เราต้องละจากโลกนี้ไป
ทรัพย์สมบัติถึงจะมากมายสักเพียงใด
ก็ไม่สามารถให้คุณค่าอะไรแก่เราได้
บาทเดียว! เราก็เอาไปไม่ได้...
.
แล้วอะไรล่ะ?..
ที่มันจะติดตัวเราไปตลอดกาล?
ก็คือสิ่งที่เรียกว่า “อริยทรัพย์อันประเสริฐ”
เป็นทรัพย์ที่ติดตัวเราไปตลอดกาล
.
ทรัพย์สินเงินทองในโลก
มันใช้ได้แค่ในโลกมนุษย์
แต่สิ่งที่มันเป็นสากลในระบบธรรมชาติ
ก็คือ “อริยทรัพย์อันประเสริฐ” หรือ “บารมีธรรม”
.
ในเวลาที่เราติดอยู่ในวัฏสงสาร
ถ้าเราทำกรรมดีก็จะก่อให้เกิด...
เป็นพลังงานที่ดีสะสมไว้
พลังงานที่ดีจะคอยดึงเราให้ลอยขึ้นสูง
อยู่ในสุคติภูมิ
เป็นเทวดาบ้าง เป็นพรหมบ้าง
เสวยความสุขอันเป็นทิพย์บ้าง เป็นมนุษย์บ้าง
.
แต่ถ้าเราหลงทำกรรมชั่ว
มันจะก่อให้เกิดเป็นพลังงานด้านมืดอยู่ด้านล่าง
แล้วมันคอยจะดึงเราให้ตกต่ำ
จมสู่ความมืดมิด
.
มันจะคอยดึงกันอย่างนี้
พลังงานด้านสว่างกับพลังงานด้านมืด
ทุกคนมีทั้งด้านสว่างและด้านมืดอยู่แล้วในตัวเอง
ถ้าพลังงานด้านมืดมีกำลังมากกว่า
มันจะคอยดึงเราให้ตกต่ำ
ยิ่งทำกรรมหนักขึ้นไปเรื่อยๆ
เสวยความทุกข์ทรมานขึ้นไปเรื่อยๆ
.
เคยได้ยินคำว่า... เห็นกงจักรเป็นดอกบัวไหม?
กรรมหนักมันคอยดึงให้เราหลงผิด
หลงว่าสิ่งที่เราทำ... มันถูกต้อง!!
แต่ในความเป็นจริง
มันสร้างกรรมหนักให้แก่ตนเองขึ้นไปเรื่อยๆ
เสวยความทุกข์ทรมาน
.
การที่เราจะหลุดจากวงจรตรงนี้ได้
เราต้องเติมสิ่งที่เรียกว่า...
“พลังงานด้านสว่างให้เต็ม”
ที่เรียกว่า... “บารมีเต็ม”
เราถึงจะมีโอกาสหลุดพ้นจากวงจรตรงนี้ได้.
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
ที่เรียกว่า “บรรลุธรรม” นั้น
หมายความว่าอย่างไร?
เป็นพระอรหันต์เลยใช่หรือไม่?
คำว่า “บรรลุ” คือการเข้าถึง
“ธรรม” ก็คือธรรมชาติ
ซึ่งธรรมชาตินี่มีทั้งสังขตธรรม
และโลกุตตระ ก็คืออมตธรรม
การเข้าถึงตรงนี้ มันมีทั้งการเข้าถึงที่เรียกว่า
“หลุดพ้นชั่วคราว” เหมือนที่เราฝึกกัน
กับหลุดพ้นที่เป็น “สมุจเฉทประหาน”
ก็คือหลุดแล้วหลุดเลย ไม่ถอยหลังกลับ
คำว่า “พระอรหันต์” คือผู้ที่ดับรอบสนิทแล้ว
หลุดพ้นเป็นสมุจเฉทขั้นที่ 4 แล้ว
การจะไปถึงขั้นนั้นได้เนี่ย
โยมต้องฝึกจนหลุดพ้นชั่วคราวเนืองๆ
เพื่อสะสมบารมีธรรมจนมันเต็มรอบ
แล้วมันไปชำระล้างสิ่งดึงรั้งทั้งหมดทั้งสิ้น
ที่เรียกว่า...
ชำระบาปและอกุศลธรรมให้หมดสิ้นไปก่อน
โยมถึงจะสามารถหลุดพ้น
เป็นสมุจเฉทประหานได้
เรียกว่าดับรอบสนิทเลย
ไม่มีสิ่งยึดเหนี่ยวดึงรั้งใดๆทั้งสิ้น
จึงจะเข้าสู่นิพพานธาตุโดยสมบูรณ์ได้
เราจะไปถึงตรงนั้นได้เนี่ย
เราต้องฝึกสติปัฏฐานเพื่อชำระตรงนี้
จนสิ่งดึงรั้งมันเบาบาง จนมันหมดสิ้นไปก่อน
พระพุทธองค์ตรัสว่า “สติปัฏฐาน 4
หรือ อานาปานสติ สามารถชำระล้างบาป
และอกุศลธรรมให้หมดสิ้นไปได้”
ตรงนี้มันมีนัยยะที่ลึกซึ้งมากโยม
มันไม่ใช่เฉพาะแค่เคลียร์
จนเข้าถึงความบริสุทธิ์เท่านั้น
แต่มันชำระวิบากจริงๆเลย
มันไปชำระเหมือนน้ำดีชำระล้างน้ำเสียเลย
คนเรานี่มันมีวิบากเป็นพันธนาการ
ที่ห่อหุ้มดึงรั้งมากเลย
เวลาโยมเข้าสู่สภาวะสติปัฏฐานระดับสูง
เข้าสู่เนื้อที่เป็นอวกาศดั้งเดิม
โยมจะพบเลยว่า...
ทุกเรื่องที่เกิดในชีวิตของเราเนี่ย
มันไม่มีอะไรบังเอิญเลย
มันมีวิบาก วิบากมันก็จะส่งผล
ให้สัญญา สังขารทำงาน
เกิดเป็นจิตตสังขารขึ้นมา
ปรุงแต่งจิต ปรุงแต่งวาจา ปรุงแต่งกายขึ้นมา
มันเป็นกระบวนการตรงนี้หมดเลยโยม
มันมีตัวชักใยก็คือวิบากกรรม
เพราะฉะนั้นถ้าโยมถูกกระทำนะ
บางทีก็ถูกทำร้ายบ้าง ถูกโกงบ้าง
ให้แน่ใจได้เลยว่าเราเคยไปทำเขามาก่อน
สิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเราไม่มีอะไรบังเอิญเลย
เพราะฉะนั้นมันเป็นสิ่งที่เราต้องชดใช้
วางใจให้ถูกว่า...
เขามาทำเรา ก็เพราะว่าเราเคยไปทำเขา
ก็ถือว่าใช้เขาไป
แต่เราจะหลุดจากวงจรอุบาทว์ตรงนี้ได้
ก็ต่อเมื่อเราต้องชำระล้างให้หมด
แล้ววิธีที่จะชำระล้างให้หมดก็คือ
การฝึกสติปัฏฐาน 4
ฝึกสติปัฏฐาน 4 สามารถชำระล้างบาป
และอกุศลธรรมทำให้หมดสิ้นไปได้
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
ถ้าเป็นสิ่งที่ดี...มันก็เป็นบุญกุศลเหมือนกันนะ
...เรื่องของบุญกุศลเนี่ย...พระพุทธเจ้าก็จัดลำดับของอานิสงส์ไว้
ให้ทานกับสัตว์เล็กสัตว์น้อย มดปลวกต่างๆ เนี่ยก็มีอานิสงส์
..แต่ให้ทานกับสัตว์ที่ใหญ่ขึ้นมา ก็มีอานิสงส์ที่สูงกว่า...
ให้ทานกับมนุษย์...แม้ยังไม่มีศีล...มนุษย์ทุศีลก็มีอานิสงส์ที่สูงกว่า..
แต่ว่าให้ทานกับมนุษย์ที่มีศีล...ก็จะมีอานิสงส์ทีสูงกว่านั้นขึ้นไปอีก
ให้ทานกับมนุษย์ที่มีสมาธิ ทรงฌาน ก็จะมีอานิสงส์ที่พอกพูน ขึ้นไปกว่านั้น
ให้ทานกับพระอริยบุคคล พระโสดาบัน
ก็จะมีอานิสงส์ที่สูงกว่าขึ้นไปอีก เป็นลำดับไปเรื่อยๆ
ให้ทานกับพระสกทาคามี
อนาคามี อรหันต์ ก็จะสูงขึ้นไป
เรียกว่า ถวายทานกับพระอนาคามี 100 ครั้ง...
ยังไม่เท่ากับถวายทานแด่พระอรหนัต์ครง้ัหนึ่ง... ลำดับชั้นก็จะสูงขึ้นไป...
ถวายทานกับพระอรหันต์
ก็ยังไม่เท่ากับการถวายแด่..พระปัจเจกพุทธเจ้าครั้งหนึ่ง
ถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า 100 ครั้ง...
ก็ยังไม่เท่ากับการถวายแด่.พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้งหนึ่ง
ถวายแด่พระพุทธเจ้าอานิสงส์สูงกว่า...
แล้วก็สิ่งที่สูงกว่านั้นก็คือ...
การถวายเป็นสังฆทานแก่หมู่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน...
มีอานิสงค์สูงกว่าที่กล่าวมาทั้งหมดเลย...
เพราะว่าเริ่มเป็นสังฆมณฑลแล้ว
ถวายสังฆทาน 100 ครั้ง
ก็ยังไม่เท่ากับ...การถวายวิหารทาน...เสนาสนะที่อยู่อาศัย
ที่เป็นสาธารณประโยชน์เกื้อกูลแก่การปฏิบัติธรรมต่างๆ
ถวายวิหารทาน 100 ครั้ง...ก็ยังไม่เท่ากับการให้ธรรมเป็นทาน....มีอานิสงส์สูงกว่า...
ก็ไล่สเตปขึ้นมา...
.
เรื่องของอานิสงค์ของบุญกุศลน่ะนะ...
สูงสุดคือ...ธรรมทาน
อันนี้จัดอยู่ในหมวดรวมทั้งหมดของทานคือ...การให้
มีอานิสงค์ที่สูงกว่าทานไหม?....มี...
พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็ น “มหาทาน”
“มหา” แปลว่า “ใหญ่” เป็นการให้ทานอันยิ่งใหญ่ ...
ถ้าพูดถึง “มหาทาน” โยมจะนึกถึงอะไร???
ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็ นเรื่องของทาน...
พระพุทธเจ้าตรัสว่า...บุญที่สูงกว่านั้นคือ “มหาทาน”
“มหาทาน” คืออะไรรู้ไหม???
ก็คือ การรักษาศีล งดเว้นจากการเบียดเบียน....
ไม่ทำให้ตนเอง...และ....ผู้อื่นเดือดร้อน...
พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็น “มหาทาน” เป็นการให้อภัยทาน ...
ให้ความไม่เบียดเบียน...
ให้ความไม่มีเวรมีภัย...แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย...
ผู้ที่มีปกติไม่เบียดเบียนใคร ...
อยู่ที่ไหนที่นั่นก็ร่มเย็น จริงไหม?
ถ้าทุกคนในประเทศเรา ในโลกนี้มีศีล...
ไม่เบียดเบียนกัน...ร่มเย็นไหมล่ะ?
ต้องมีทหาร... ต้องมีตำรวจไหม... ต้องมีอาวุธสงครามต่าง ๆ ไหม?...
ก็ไม่จำเป็นต้องสิ้นเปลืองกับสิ่งต่างๆเหล่านี้...
เนี่ยการไม่เบียดเบียน พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นมหาทาน
...เป็นการให้ทานอันยิ่งใหญ่...
เพราะงั้น... เรื่องของบุญกุศล...อย่าไปคิดเรื่องของการต้องเสียเงินอะไร...
เจตนาที่งดเว้น...อานิสงค์ก็สูงกว่ามาก... มีอานิสงส์ที่สูงกว่านี้ไหม? ....
รักษาศีล อย่างนี้ 100 ปี... ก็ยังไม่เท่ากับจิตสงบเกิดสมาธิเพียงแค่ชั่วขณะหนึ่ง
เริ่มเข้าสู่ภาคของการภาวนาและสูงกว่า
เกิดสมาธิเพียงแค่ชั่วขณะหนึ่ง เนี่ยโยม อานิสงส์สูงกว่าที่กล่าวมาทั้งหมดเลย
ที่เราฝึกปฏิบัติกันเป็นการสร้างบารมีที่ไพบูลย์มาก
เจริญสมาธิฌานสมาบัติ 100 ปี ...
อานิสงส์...ก็ยังไม่เท่ากับ เกิดวิปัสสนาญาณ
เกิดการรู้ห็นตามความเป็นจรงิ แม้เพียงชั่วขณะหนึ่ง ... สูงกว่าไหม?
เจริญสติปัฏฐานจนเกิดวิปัสสนาญาณเพียงชั่วขณะหนึ่ง
บุญกุศลมากกว่าที่กล่าวมาทั้งหมดเลย
เพราะว่าอะไร? เพราะว่า จะเริ่มเป็นไปสู่การสลัดคืนเข้าสู่ความบริสุทธิ์แล้ว
เพราะงั้น...การที่พาฝึกในทุกๆวัน...
ฝึกสติปัฏฐานจนเกิดวิปัสสนาญาณและสลัดคืนเข้าสู่ความบริสุทธิ์..
มันเป็นการเพิ่มบารมีธรรมอย่างสูงสุด...ให้แก่ทุกคน เพราะงั้นฝึกตามในทุกๆวัน...
ท่านจะได้สามารถมีบารมีธรรมที่ใช้ชำระตน...
ชำระล้างบาปและอกุศลธรรมจนหมดสิ้นไปได้...
..................................................................................................
ตอบปัญหาธรรมโดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
16 เมษายน 2563
ชีวิตนึง พระพุทธเจ้าอุปมาเหมือนท่อน ไม้ ที่โยนขึ้นไป มันจะตกหน้าไหนก็ได้ ไม่มีความแน่นอนเลย
ถ้าเราตายจากโลกนี้ไป เราจะไปยังไงต่อ ไม่มีความแน่นอน
ถ้าจิตเศร้าหมอง ทุคติ เป็นอันหวังได้
ถ้าจิตผ่องใส สุคติเป็นอันหวังได้
แต่ถ้าโยมเติมบารมีธรรมให้เ ต็ม จนหลุดพ้นครั้งแรกได้ พระพุทธเจ้าการันตี ปิดอบายภูมิ เป็นผู้เที่ยงตรงต่อพระนิพพ าน
โยมว่า มันจะมีสิ่งใด สำคัญกว่านี้ ?
ไม่มี
นี่คือ โอกาสทองของทุกคน
ของความเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา
โอกาสแบบนี้ ไม่ได้มาบ่อยๆโยม
ยากมากๆ แต่โยมยังมีโอกาสอยู่
ตั้งใจให้ดี
เมื่อเติมเต็มครั้งแรก รอบที่สอง ที่สาม ที่สี่ มันต้องมาชำระล้างหนี้สินทั ้งหลาย
ก็ใช้ความบริสุทธิ์นี่โยม ชำระกันไป
จนกว่าโยมจะเคลียร์ทุกอย่าง หมดรอบ ดับรอบ
มันจึงจะดับรอบโดยสมบูรณ์ เป็นสมุทเฉทปหาร ได้
ทางโลกเค้าอยากจะเกษียณกันก ่อนใช่ไหม
โยมอยากเกษียณไหม
บางคนอายุน้อย ๆ อยากจะเกษียณ เป็นอิสรภาพทางการเงิน
อยากจะท่องเที่ยว เป็นอิสระ
จะดีกว่ามั้ย ถ้าโยมเกษียณทางวัฏสงสาร
พ้นดีกว่า
เกษียณทางโลก โยมยังต้องกลับมาทุกข์ต่อ
แต่เกษียณ ทางวัฏสงสาร จบแล้วจบกัน
ทำไมเราไม่ทำ สิ่งเหล่านี้ให้มันสมบูรณ์ซ ะล่ะ
หลายคนมีบารมีนะ สะสมมาดี
เพราะฉะนั้น ตั้งใจให้ดี ฝึกตามทุกวัน
เติมบารมีตัวเองให้เต็ม
แต่ถ้ามันไม่เต็ม โยมไม่ต้องพยายามเปล่งออกมา นะ
มันไม่เปล่งหรอก
ต้องกำลังมันเต็มก่อน พอเต็มแล้วมันจะเปล่งออกมาเ อง
โดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
เจริญสติปัฏฐาน4 คือ
ทางรอดของทุกคนในสมัยนี้
ท่ามกลางเภทภัย อันตรายต่างๆ
มรสุมที่รุมเร้าเข้ามา
ถ้าจิตใจเปราะบาง
มันจะหวั่นไหวไปกับสิ่งต่าง ๆที่รุมเร้าเข้ามา
ถ้าเราต้องหวั่นไหวในทุกๆเร ื่องที่เข้ามาในชีวิต
เราจะไม่สามารถพบเจอ
ความสงบสุขของชีวิตได้เลย
ชีวิต มันมีแต่ความวุ่นวาย
มีแต่ความสับสน มีแต่ความทุกข์ทรมาน
การเจริญสติปัฏฐาน4 อยู่เนืองๆ
จะทำให้ท่านทั้งหลาย
สามารถปลดเปลื้องจากเครื่อง ร้อยรัดทั้งปวง
ให้เป็นอิสระจากความทุกข์ทร มานทั้งปวง
มีจิตใจที่ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งต่างๆ
ที่กระทบเข้ามา
....คลายได้...วางได้... ปล่อยได้
ผู้ที่มีจิตใจตั้งมั่น คือคุณสมบัติ
ที่จะรอดอยู่ในยุคสมัยนี้
มันเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างย ิ่งยวดสำหรับทุกชีวิต
จิตใจ ที่ตั้งมั่น
ก็จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ที่ เกื้อกูล
ทั้งทางโลก และทางธรรม
ผู้ที่มีจิตใจที่ตั้งมั่น แกร่งจากข้างใน
จะทำอะไรก็ประสบความสำเร็จ
ฟันฝ่า กับทุกอุปสรรค ทุกสถานการณ์ที่ผ่านเข้ามาใ นชีวิตของเราได้
เปลี่ยนจากความอ่อนแอ
....เป็นความเข้มแข็งจากข้า งใน
แต่กลับมีความอ่อนโยน เมตตา
เปลี่ยนจากความหยาบช้า หยาบกระด้าง
...เป็นความอ่อนโยน มีเมตตา เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่
เปลี่ยนจาก จิตใจที่วุ่นวาย เร่าร้อน
...เป็นจิตใจที่สงบเย็น ตั้งมั่น จากข้างใน
แล้วท่านทั้งหลาย จะสามารถ
พบเจอความสงบสุขที่แท้จริงข องชีวิตได้
โดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
หนึ่งเลย โยมต้องมีบารมีเต็มรอบ
บารมีธรรม หรือ อริยทรัพย์
ถ้าเปรียบเหมือนทางโลก
ทางโลกเราก็ต้องมีเงินทอง ใช่ไหม?
ที่เราต้องทำมาหากิน เพื่ออะไร?
หาเงิน...หาเงินมาทำไม?
มาใช้จ่ายในการดำรงชีวิตปัจจัยสี่
อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค
ถ้าโยมมีหนี้มีสิน โยมก็ต้องใช้เงิน...
ชำระหนี้กันไป
แต่ถ้าโยมไม่มีเงินชำระหนี้ เป็นไง?... ติดคุก
.
เพราะฉะนั้นในโลกนี้เขาก็ใช้เรื่องของเงินทอง
ในการจัดการกับสิ่งต่างๆ
มันเป็นเครื่องในการดำรงชีวิต
จะซื้ออาหารก็ตามสิ่งต่างๆก็ตาม
แต่เงินทองเนี่ย ที่เราแสวงหากัน
มันให้คุณค่ากับเรา
เฉพาะช่วงเวลาที่เรามีชีวิตอยู่เท่านั้น
เมื่อใดที่เราต้องจากโลกนี้ไป
ทรัพย์สมบัติต่อให้มีมากมายสักเพียงไหน
มันก็ไม่ได้ให้คุณค่ากับโยมเลย
บาทนึงก็เอาไปไม่ได้
.
แล้วอะไรที่มันจะติดตัวเราไปล่ะ?
ก็คือ... อริยทรัพย์ อันประเสริฐ
อริยทรัพย์เป็นของสากลในระบบของธรรมชาติ
มันก็คือสิ่งที่เรียกว่า “บารมีธรรม” นี่เอง
เวลาที่โยมติดอยู่ในวัฏสงสาร
ถ้าโยมทำความดี
มันก็จะก่อให้เกิดอริยทรัพย์ หรือพลังงานที่ดี พลังงานที่ดีหรือพลังงานบริสุทธิ์ตรงนี้
มันจะคอยดึงโยมให้ลอยสูงขึ้นไป
แต่ถ้าโยมทำความชั่ว ทำการเบียดเบียน
มันจะก่อให้เกิดพลังงานด้านมืด อยู่ด้านล่าง
พลังงานด้านมืดนี้จะดึงโยมให้ตกต่ำลงไปเรื่อยๆ เสวยความทุกข์ทรมาน
แล้วส่วนใหญ่แล้ว คนมันทำกรรมที่ไม่ดี
สำรวจตัวเองดูในชีวิตนี้เคยเบียดเบียนใครมั๊ย?
เคยฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกามไหม?
มันต้องเบียดเบียนกันมา
พวกนี้มันเป็นกรรมที่ชักนำลงสู่อบายทั้งนั้น
เป็นพลังงานด้านมืด
เพราะฉะนั้นมันจะคอยดึงกันแบบนี้
พลังงานด้านสว่างก็ดึงเราขึ้นสูง
เข้าสู่สุคติภูมิ เสวยความสุข
พลังงานด้านมืดมันจะดึงเราลงต่ำ
เสวยความทุกข์ทรมาน จมสู่ความมืดมิด
โยมจะหลุดจากวงจรตรงนี้ได้
โยมต้องสะสมอริยทรัพย์
หรือพลังงานด้านสว่าง จนบารมีโยมเต็มเปี่ยม
บารมีเต็มตรงนี้ แต่ละคนไม่เท่ากัน
ขึ้นอยู่กับอะไร?
ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของกรรมที่โยมทำไว้
ถ้าโยมทำพลังงานด้านมืดไว้ใหญ่ขนาดไหน
โยมก็ต้องเติมพลังงานด้านแสงสว่าง
ให้เท่าขนาดนั้น ถึงจะมีโอกาสเต็มรอบครั้งแรก
เพราะฉะนั้น สรรพสัตว์ที่ติดอยู่ในวัฏสงสาร
การสร้างบารมีธรรมให้เต็มเพื่อการหลุดพ้น
แต่ละคน ไม่เท่ากัน
ขึ้นอยู่กับว่าหลงทำกรรมหนักมามากขนาดไหน
ถ้าทำมามากก็ต้องชำระกันมาก
เหมือนโยมเป็นหนี้เป็นสินน่ะ
ถ้าโยมไม่มีตังค์ใช้หนี้เป็นไง?
ติดคุก... ติดอบาย
แล้วโยมหลุดได้ไง?...
โยมก็ต้องเคลียร์หนี้ เคลียร์สินทั้งหมด
มันต้องชำระไป
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำไว้ไม่มีอะไรสูญเปล่า
มันไม่ใช่จบแล้วจบกันโยม
ถ้าโยมอยู่ในสภาวะที่ละเอียดมากๆ
โยมจะเห็นสิ่งที่เรียกว่า “กระแสวิบากกรรม”
มันลายล้อมตัวเรา แบบยาวเป็นหางว่าวเลย
ทุกเรื่องที่เกิดในชีวิตของเรา...
ไม่มีอะไรบังเอิญหรอก
มันมีวิบากกรรมที่คอยให้ผลเราอยู่
ถ้าโยมเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้น ให้รู้เลยว่า
เราเคยไปทำไว้ มันถึงต้องชดใช้
แล้วถามว่า มันจะชดใช้กันหมดเหรอ?
... ไม่หมดหรอก ...
เกิดมามันหลงทำกรรมเพิ่มอีก
เขาชดใช้กันด้วย สิ่งที่มีค่าที่สุด
เหมือนโยมมีเงิน หรือมีทรัพย์มากๆ
มันถึงจะเคลียร์หนี้เคลียร์สินได้หมด
สิ่งที่มีค่าที่สุดในระบบของธรรมชาติคืออะไร?
ก็คือ “พลังงานบริสุทธิ์”
หรือ “บารมีธรรม” นั่นเอง
พระพุทธเจ้าตรัสว่า...
สติปัฏฐาน 4 สามารถชำระล้างบาป
และอกุศลกรรมทำให้หมดสิ้นไปได้
เพราะว่าฝึกสติปัฏฐาน...
จนสลัดคืนเข้าสู่ความบริสุทธิ์
มันจะเข้าถึงแหล่งของพลังงานธรรมชาติ
แหล่งของความบริสุทธิ์
ถ้าโยมสภาวะละเอียด...
เวลานำเข้าสู่ความบริสุทธิ์
โยมสามารถสัมผัสกระแสพลังงานบริสุทธิ์ได้
พลังงานความว่าง ตรงนี้แหละถึงได้บอกว่า
ทำไมเราถึงควรฝึกทุกวัน?
เพราะว่า...มันจะทำให้โยม
เข้าถึงแหล่งความบริสุทธิ์เนืองๆ
มันจะเติมบารมีธรรมของโยมในทุกๆวัน
จนมันเต็มเปี่ยม มันจึงสำคัญมากๆ
.
.
.
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
มันเป็นสิ่งที่ยาก ที่เราจะสามารถใช้ชีวิตได้อ ย่างมีความสุขในยุคสมัยนี้
ทั้งปัญหาสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ
จิตใจผู้คนเกิดความเครียด
เกิดความกดดัน
เกิดความวิตกกังวล
เกิดความกลัว
คิดมาก บางทีแม้ขณะที่เรานอนหลับพั กผ่อน ก็คิดมาก นอนไม่หลับ คิดไปต่างๆ นานา
ตื่นขึ้นมาก็ งัวเงีย ไม่สดชื่น ไม่กระปรี้กระเปร่า เกิดความท้อแท้ใจ
เกิดความหดหู่ เบื่อหน่ายกับชีวิต
บางเหตุการณ์ ก็ทำให้รู้สึกเสียใจ เศร้าใจ น้อยเนื้อต่ำใจ มีแต่ความทุกข์ทรมาน
บางเหตุการณ์ ก็ทำให้รู้สึกโกรธ ขุ่นเคืองใจ คับแค้นใจ
เกิดความเกลียดชัง เกิดความอาฆาต พยาบาท
ถูกไฟแห่งความเกลียดชัง แผดเผาอยู่ทุกวี่วัน
ไม่สามารถที่จะดับไฟในใจของ เราได้
มีแต่ความเจ็บปวด มีแต่ความทุกข์ทรมาน
เราเกิดมาเพื่อจมปลัก อยู่กับความทุกข์ทรมานเหล่า นี้หรือ?
หรือเราจะตื่นขึ้น หลุดออก คลายออก
เป็นอิสระจากสิ่งเหล่านี้
ถ้าท่านทั้งหลาย ต้องการที่จะหลุดออก คลายออก เป็นอิสระจากสิ่งเหล่านี้
ธรรมะสามารถช่วยเหลือท่านทั ้งหลายได้
ธรรมะเยียวยาทุกสิ่ง!
ดับความเร่าร้อน ความหิวกระหาย ความทุกข์ทรมานทั้งปวงได้
ธรรมะ ก็คือ ธรรมชาติ เป็นธรรมชาติที่สงบเรียบง่า ย ร่มเย็น มั่นคง ไม่หวั่นไหวกับสิ่งต่างๆ
ถ้าท่านทั้งหลาย มีธรรมะ
จิตใจของท่านทั้งหลายจะคลี่ คลาย ความเร่าร้อนต่างๆ ออกไป
คลายจากความเครียด
คลายจากความวิตกกังวล
คลายจากความฟุ้งซ่าน
คลายจากความกลัว
คลายจากความเศร้า
คลายจากความเกลียดชัง
จะทำให้ท่านทั้งหลาย คลี่คลาย จากความเร่าร้อน ความทุกข์ทรมานทั้งปวง
จนเป็นอิสระจากสิ่งเหล่านี้
จะดีกว่ามั้ย ท่ามกลางมรสุมที่ถาโถมเข้าม า มีธรรมะเป็นที่พึ่ง มีจิตใจที่ตั้งมั่น
มีชีวิตที่ร่มเย็นเป็นสุข
พบกับความสงบสุข ที่แท้จริงของชีวิตได้
โดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
เข้าถึงเมตตาที่แท้จริง...
ต้องเมตตาตัวเองก่อน
อยากเป็นคนมีเมตตา....
ฝึกสติปัฏฐานนี่แหละ...
ทำความรู้สึกตัวอยู่เนืองๆ พอฝึกไปเรื่อยๆ เกิดความตั้งมั่น เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมขึ้นมา
เมื่อสามารถทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่เนืองๆ มันก็จะเกิดปิติ เกิดความแผ่ซ่านทั่วกาย...
จะรู้สึกเพลินสบาย...
ก็อยู่กับความรู้สึกตัวทั่วพร้อมไปเรื่อยๆ....
จนเกิดความเบากาย... เบาใจ...
เกิดความโปร่ง... โล่ง... เบาสบาย
สัมผัสความสุขที่ประณีตลึกซึ้งขึ้นไปเรื่อยๆ
พอพัฒนาสติ จนเกิดความโปร่ง... โล่ง... เบาสบาย...
จิตใจมันจะมีความแช่มชื่น... มีความเบา... มีความสบาย...มีความโล่งผ่องใส...
อันนี้แหละ... มันต้องเติมเมตตาให้แก่ตัวเองก่อนนะ...
ก็คือ ความสุข ความสบาย
พอเติมเมตตาให้แก่ตัวเอง จนมันชุ่มฉ่ำ...
ชุ่มไปด้วยปิติสุข... ซาบซ่าน... เอิบอาบทั่วกาย...
โล่ง โปร่งเบาสบายขึ้นมา มันก็จะเริ่มเอ่อล้น... ออกมา...
เข้าถึง "เมตตา" ที่แท้จริง มันต้องเมตตาตัวเองก่อน
ด้วยการ ปฎิบัติธรรม
เข้าถึงปีติ สุข... เกิดความโปร่ง โล่ง... เบาสบาย
ชุ่มไปด้วยปีติ สุข
พอเติม "เมตตา" ให้แก่ตัวเอง... จนมันชุ่มฉ่ำ... มันก็จะเอ่อล้นออกมา
มันก็จะเริ่มแผ่ออก... แผ่ความเบาสบายออกไป...
แล้วใจมันจะมีเมตตา... มีความรัก... ความกรุณา... แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น "พรหมวิหาร 4"
เมตตา... กรุณา... มุทิตา... อุเบกขา...
พระพุทธเจ้าจึงจัดไว้ในลำดับของสมาธิ ในระดับของฌาน
ต้องมี "สติตั้งมั่น" ก่อน
แล้ว เมตตา.. กรุณา.. มุทิตา.. อุเบกขา.. ที่แท้จริงจะเอ่อล้นออกมา
เมตตาตัวเองก่อน ด้วย "การปฏิบัติธรรม"
สติ ควรฝึกทุกวัน
เพราะจะทำให้โยมเข้าถึงแหล่ งความบริสุทธิ์อยู่เนืองๆ
เติมบารมีธรรมของโยมในทุกๆว ันจนเต็ม
-------------------------- --------------------
สติเป็นทักษะ ที่ต้องอาศัยการฝึกฝนอยู่เน ืองๆ
แต่ผลที่ได้มันคุ้มค่ามาก
เราก็อาศัยวิถีชีวิตของเราเ ป็นอุปกรณ์ของการพัฒนาสติ
ปลุกการตื่นรู้ขึ้นมา
ตั้งแต่ตื่นนอน ก็รู้สึกตัว
พับผ้า แปรงฟัน อาบน้ำ ขับถ่าย ก็รู้สึกตัว
ทำได้ไหม ?
อาบน้ำชำระกาย รู้สึกตัวได้ไหม ?
พลังงานความว่าง...
ตรงนี้แหล่ะ ถึงได้บอกว่า ทำไมเราถึงควรฝึกทุกวัน
เพราะจะทำให้โยมเข้าถึงแหล่ งความบริสุทธิ์เนืองๆ
มันจะเติมบารมีธรรมของโยมใน ทุกๆ วัน จนเต็มเปี่ยม
มันจึงสำคัญมากๆ
จะดีกว่ามั้ยในการที่เราใช้ ชีวิตในแต่ละวัน แทนที่เราจะมัวแต่ทำมาหากิน อย่างเดียว สะสมทรัพย์ทางโลก
เราควรที่จะสะสมอริยทรัพย์ใ ห้แก่ตัวเองด้วยหรือเปล่า
ควรไหม ?
ควรทำทุกวัน !!!!
ไม่ควรปล่อยโอกาสให้มันล่วง เลยไป
เพราะว่าเมื่อใดที่เราละจาก โลกนี้ไป...หมดโอกาส
ทำเสียแต่วันนี้
ทำไปทุกๆ วัน ทุกๆ วัน
เราไม่รู้หรอกว่า เราจะมีชีวิต มีลมหายใจไปถึงวันไหน
แต่ตราบใดที่เรายังมีลมหายใ จ มีชีวิตอยู่ สะสมอริยทรัพย์ให้แก่ตัวเอง ในทุกๆ วัน
เติมความบริสุทธิ์ให้แก่ตัว เองในทุกๆ วัน
นี่คือเหตุผลว่าทำไมต้องมีร ะบบถ่ายทอดสด
เพราะว่า ต่อไป มันจะเป็นประโยชน์ต่อคนหมู่ มาก
อยู่บ้านโยมก็ฝึกตามได้
ถ้าไม่มีเวลาก็ฝึกย้อนหลัง หรือ ฝึกตามคลิป
สะสมความบริสุทธิ์ให้แก่ตัว เองในทุกๆ วัน
อย่าปล่อยในแต่ละวันมันล่วง เลยไปเปล่าประโยชน์
ชีวิตหลังความตายเนี่ยมันไม ่ได้น่ารื่นรมย์เลย สำหรับคนที่ประมาทอยู่ มันมีแต่ความทุกข์ทรมานโยม
จิตคิดถึงสิ่งใด มันก็ติดอยู่กับสิ่งนั้น
จิตดวงสุดท้ายเวลาจากโลกไป มันติดอยู่กับสิ่งนั้น
โดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
อย่าเพิ่งไปทิ้งอะไร เพื่อคิดว่าจะทำอีกสิ่งได้ด ี
ทิ้งงานแล้วเราจะปฏิบัติธรรมได้ดี?
มันไม่ใช่เครื่องชี้วัดเลยน ะ
แม้กระทั่งนักบวชอยู่ป่า อยู่เขา
ก็ใช่ว่าเขาจะปฏิบัติได้ดีท ุกคน
การอยู่ในที่ปฏิบัติในที่ต่างๆ
ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะดี เสมอไป
บางคนเห็นแล้วสงสารนะ
ทิ้งทรัพย์สมบัติถวายวัดหมด เลย
บอกว่าทิ้งหมดแล้ว ถวายหมดแล้ว
ขอไปอยู่เป็นแม่ชีเพื่อปฏิบ ัติ
แต่สุดท้ายก็เจอปัญหา
สมัยนี้อย่าลืมว่าวัดวาอารา มต่างๆ
คนมันเยอะ มันนานาจิตตัง
จริงๆปัจจุบันอยากจะแนะนำว่า
ถ้าเรามีที่ส่วนตัวปฏิบัติข องเราเองดีที่สุด
ที่ที่เหมาะที่สุดก็คือบ้าน ของเราเนี่ยแหละ
ทำบ้านของเราให้เป็นวัดเนี่ ยดีที่สุดแล้ว
การที่เราดูแลตัวเองได้
ไม่ต้องไปอะไรกับใครมาก
ทำให้เราตัดกังวลเรื่องสิ่ง ต่างๆ
ทำให้เราปฏิบัติธรรมได้อย่า งมีความสุข
เราอาจจะไปเรียนรู้จากครูบา อาจารย์บ้าง
แล้วทำบ้านเราให้เป็นวัด เป็นที่ปฏิบัติส่วนตัว
อุปกรณ์การฝึกก็คือตัวของเร านี่เอง
ใช้ชีวิตประจำวันเป็นอุปกรณ ์การฝึก
ค่อยๆพัฒนาสติของเราไป
#เดินจิต #จิตว่าง #สุญญตา
-------------------------- -----
พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
ถ้าเพ่งมากๆ มันจะมีอาการอย่างหนึ่ง
ใครปฏิบัติแล้วขี้ลืมบ้าง
นั่นแหละติดเพ่ง จดจ่อ
มันขาดสติ ขาดสัมปชัญญะ
.
#วิธีแก้ให้เรากลับมารู้สึก ตัว
จนรู้สึกได้ทั้งตัวเลย มันจะหายเอง
แล้วเราจะพบว่าอาการขี้ลืมม ันจะหายไป
พอสติสัมปชัญญะเริ่มมีกำลัง
จะพบว่า ความรู้สึกมันไม่ได้มีแค่แข น
มือรู้สึก ศีรษะรู้สึก ตัวรู้สึก
ขารู้สึก ฝ่าเท้ารู้สึก จนมันรู้สึกได้ทั้งตัว
.
ก็จะเข้าสู่ความตั้งมั่นที่ ถูกต้อง
เกิดความสงบตั้งมั่นโดยธรรม ชาติเลย
พอเราฝึกจนสามารถรู้สึกได้ท ั้งตัว
ใจเป็นไง นิ่งขึ้น
มันนิ่งโดยธรรมชาติเลย
มันเป็นความสงบตั้งมั่นโดยธ รรมชาติ
.
นั่นแหละเริ่มเข้าสู่ความตั ้งมั่นที่ถูกต้อง
ไม่ใช่เกิดจากการกดข่ม
สิ่งที่เกิดจากการกดข่ม จะมีผลตามมา
ใครปฏิบัติไปแล้วโกรธง่าย หงุดหงิดบ้าง
นั่นแหละ ติดเพ่งทั้งนั้นแหละ
ต้องมานั่งแก้กันยาว
.
แต่ถ้าเราหลุดได้ คลายได้
จะเป็นไปเพื่อการหลุดออก สลัดออก
ไม่ได้กดข่มอารมณ์
แล้วจะเข้าสู่ความตั้งมั่นท ี่ถูกต้อง
ความสงบท่ามกลางการเคลื่อนไ หว
.
เราจะพบว่าแม้ขณะที่เราเคลื ่อนไหวกาย
สรรพสิ่งมีการเคลื่อนไหว
แต่ข้างในกลับมีความสงบตั้ง มั่น เนี่ยสภาวะของสมาธิ
ถ้าละเอียดขึ้นก็จะเกิดความ โปร่งเบา
เกิดความสงบขึ้นไปเรื่อยๆ
มันเป็นสภาวะของสัมมาสมาธิ
ความตั้งมั่นที่ถูกต้อง
.
สมาธิแบบนี้แหละ ที่จะเดินปัญญา วิปัสสนาญาณต่อได้
และเป็นสภาวะที่สงบ แต่รู้เห็นตามความเป็นจริง
รับรู้สรรพสิ่งได้ทั้งภายใน และภายนอก
#เดินจิต
#สติปัฏฐาน4 #อานาปานสติ16ขั้น
-------------------------- -----
พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
สติ สมาธิระดับไหน
จึงเหมาะกับการดำรงชีวิตประจำวัน
ของฆราวาส
ความละเอียดตั้งแต่ซาบซ่าน เบา เฉย เป็นต้นไป
ควรจะฝึกในที่ส่วนตัว
เพราะว่าจักระจะเปิด อายตนะจะเปิด
จะไปรับอารมณ์ภายนอกได้
ควรจะฝึกในที่ส่วนตัว ไม่เหมาะฝึกในที่ชุมชน
เพราะว่าอารมณ์คนรอบข้างส่วนใหญ่
เขาก็จะคิดเรื่องที่มันเป็นกิเลสวุ่นวายใจ
.
ถ้าเราต้องการจะปิดจักระ
หรืออยู่ในที่ชุมชนก็ลดระดับลงมา
จนอยู่ที่ชั้น #ความรู้สึกตัว
ความรู้สึกตัวนี้จักระจะปิดทั้งหมด
เหมือนเราปิดบ้านไม่ไปรับรู้อารมณ์ภายนอก
เป็นสภาวะที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต
.
แต่ถ้าความรู้สึกตัวที่มีกำลังสูง
จิตมันก็จะไม่ค่อยคิดปรุงแต่ง
ถ้าเราต้องทำงานทำการพูดคุยสื่อสาร
ก็ลดระดับความรู้สึกตัวลดมาอีก
.
จนจิตไม่สอดส่ายแต่พอนึกคิดปรุงแต่งได้
นั่นคือระดับที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต
ในเวลาที่เราทำงานพูดคุยสื่อสารปรกติ
.
แต่ถ้าเราลดความรู้สึกตัวลงมาต่ำกว่านั้น
จิตก็จะเริ่มฟุ้งสอดส่ายไป
ถ้าความรู้สึกตัวอ่อนไป จิตไหลไปกับอารมณ์
ก็เพิ่มความรู้สึกตัวขึ้นมา
จนจิตเริ่มนิ่งแต่ยังนึกคิดปรุงแต่งได้
นั่นคือระดับที่เหมาะสมกับการทำงานทำการต่างๆ
.
แต่ถ้าความรู้สึกตัวเพิ่มขึ้นสูงขึ้นไป
จิตเริ่มนิ่งไม่ค่อยนึกคิดปรุงแต่ง
อันนี้จะไม่เหมาะกับการเวลาที่เราต้องพูดคุยสื่อสารละ
กำลังสติสูงไป เราทำงานทำการได้
แต่ว่าลักษณะงานที่ต้องพูดคุยสื่อสารจะเริ่มไม่ค่อยเหมาะ
ก็ลดระดับความรู้สึกตัวลงมา จนสามารถนึกคิดปรุงแต่งได้
นั่นคือระดับที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต
.
เพราะฉะนั้นประโยชน์ของการฝึก #วสี นี้
จะทำให้เราปรับระดับความละเอียดของสติ
ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตได้
แต่ถ้าความรู้สึกตัวอ่อนไป
จิตก็จะเริ่มไหลไปกับอารมณ์
ก็เพิ่มความรู้สึกตัวขึ้นมา
ในระดับที่นิ่งพูดคุยสื่อสารได้
แต่เวลาเราอยู่ในที่ส่วนตัว ก็เร่งกำลังขึ้นไปได้
ความรู้สึกตัวที่มีกำลังสูง
จนเกิดความซาบซ่านทั่วทั้งตัว
.
ถ้าต้องการเรื่องสุขภาพพลังชีวิต
ก็อยู่กับความซาบซ่านเป็นหลัก
ความซาบซ่านจะปรับความสมดุลพลังงานในร่างกาย
ถ้าเราหลับไปกับความซาบซ่าน
.
ช่วงเราพักผ่อนร่างกายมันจะฟื้นฟูซ่อมแซมตัวเองได้
ถ้าละเอียดกว่านั้นก็จะเข้าถึงความสุขเบาสบาย
ถ้าเข้าถึงความสุขมันก็จะยิ้มมีความสุข
ควรจะเหมาะในที่ส่วนตัว มันประณีตกว่าชั้นความรู้สึกตัว
.
เพราะฉะนั้นการปรับความละเอียด
ให้เหมาะสมก็จะทำให้
#โลกไม่ช้ำ #ธรรมไม่ขุ่น
ถ้าละเอียดกว่านั้นมันก็จะเข้าสู่ความเฉยตั้งมั่น
อารมณ์ของ #อุเบกขา ตามชื่อเลย มันก็จะเฉย
อุเบกขานี้มันเป็นอารมณ์ที่วิเวก
ถ้าอยู่กับความเฉยตั้งมั่นมากๆมันจะเริ่มขี้เกียจ
ไม่อยากทำอะไร
มันเป็นอารมณ์วิเวก ปลีกวิเวก เฉยตามชื่อเลย
.
เพราะฉะนั้นถ้ารู้สึกมันวิเวก มันนิ่ง มันขี้เกียจ
ก็ถอยกลับมาอยู่ที่ความสุขเบาสบาย
ถ้าอยู่กับความสุขเบาสบายมันจะร่าเริงเบิกบาน
ใครว่าก็ไม่โกรธ ยิ้มได้ ร่าเริงเบิกบาน
เพราะฉะนั้นความละเอียดของสติในแต่ละระดับ
มันก็จะมีอารมณ์แตกต่างกันไป
เราสามารถปรับได้ที่ความละเอียดของสติ
#เดินจิต
------------------------------------------
พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
เวลาสวดมนต์ เห็นความคิด
ไม่ใช่ว่า จิตฟุ้งซ่าน
แสดงว่า มีสตินะ การเห็นความคิดได้
มีความรู้สึกตัว ถึงเห็นการทำงานของความคิดป รุงแต่งได้
อย่างบางทีเราปฏิบัติไป
ทำไมรู้สึกมันยิ่งปฏิบัติ มันยิ่งคิดเยอะ
นั้นคือมีสติ... มันเห็น
ปกติมันก็คิดปรุงอยู่ตลอดเว ลานั่นแหละ
แต่ว่า คนที่ไม่ได้ปฏิบัติ
ไม่เห็นความคิดตัวเอง
เค้าเรียกว่า ไหลไปกับความคิด
แยกออกไหมเวลาไหลไปกับความค ิด
กับเวลาเห็นความคิด
ถ้าเห็นได้ นั่นมีสติ
เห็นการปรุงแต่งของกาย ของใจ
ก็แสดงว่าโยมเริ่มมีสติ
ถึงเห็นความคิดได้
ให้สังเกต เวลามันไหลไปกับความคิด
กับเวลาเห็นความคิด มันต่างกัน
เวลาเห็น มันมีสติ
แต่เวลาไหลไปกับความคิดปุ๊บ
มันลืมตัว ...อันนี้ขาดสติ
ให้ลองสังเกตดู ในแต่ละวัน
มันก็จะไหลไปกับความคิดบ้าง
หลงไปกับความคิดบ้าง
แล้วก็เห็นความคิด
เห็นการปรุงแต่งของจิต
ให้สังเกตอาการมันต่างกัน
เวลาเห็นมันมีสติแล้ว
ให้ฝึกไปเรื่อยๆ
โดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
ถาม: เวลาสวดมนต์ นั่งสมาธิ
แล้วแผ่เมตตา อุทิศบุญกุศล
จะรู้สึกร่างกายแผ่ซ่าน ขนลุกไปทั่วตัว เป็นเพราะอะไรเจ้าคะ?
ตอบ:
มันเป็นอาการของปีติ
แสดงว่าโยมเป็นคนที่มีพื้นฐ านจิตใจ
ที่มีสมาธิ หรือมีใจที่ตั้งมั่น
เวลาสวดมนต์ หรือแผ่เมตตาไป
จะเกิดอาการแผ่ซ่าน ขนลุกออกไป
อันนี้เป็นสภาวธรรม
แสดงว่ามีพื้นฐานใจที่มีควา มตั้งมั่น มีสมาธิอยู่
ซึ่งถ้ามาฝึกสติปัฏฐาน
ก็จะสามารถพัฒนาได้ดี
ความแผ่ซ่านเป็นความรู้สึกต ัว
โดยเฉพาะถ้ามันซ่านทั้งตัวไ ด้
อันนี้เป็นพื้นฐานที่จิตจะเ ริ่มละเอียด
ถ้าฝึกสติปัฏฐาน
การปฏิบัติจะพัฒนาได้เร็วมา ก
โดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
ปุจฉา: ได้ยินเสียงพูดด่าว่าพระ
ทำให้รู้สึกแย่มาก และความคิดอกุศล
ที่ผุดขึ้นมาอีก โยมควรทำอย่างไรดี?
ภาวนามา 7 ปีกว่าแล้ว
แต่อาการแบบนี้ยังไม่หายไปเ ลยค่ะ
วิสัชนา:
อาการที่เป็นเหมือนเสียงพูด ในใจ
มันจะปรุงแต่งในเรื่องที่ดี บ้าง ไม่ดีบ้าง
เกิดจากวิบากกรรม ที่เราต้องเสวย
บางทีเวลาเราปฏิบัติไป
มันเหมือนมีเสียงพูดในใจ
อันนี้คือ จิตสังขาร
การปรุงแต่งของจิต
รากเหง้าจริงๆมาจากวิบาก
ก่อให้เกิด สัญญา สังขาร
ความปรุงแต่งขึ้นมา
....ก็แค่รู้เท่าทัน
สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น
มันก็เป็นเพียงสิ่งที่ถูกปร ุงแต่งขึ้นมา
เราไม่ได้มีเจตนาที่จะคิดไม ่ดี
พูดไม่ดี หรือทำไม่ดี
เป็นเพียงสิ่งที่ผุดขึ้นมา แล้วก็ดับไป
ก็ให้ฝึกสติสัมปชัญญะให้มาก
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอย ู่เสมอ
สรรพสิ่งที่เกิดขึ้น ก็เป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้
ถ้าเราฝึกไปเรื่อยๆจนสติมีก ำลังพอ
จะเข้าถึงระดับที่จิตสังขาร ระงับ
เสียงพูดในใจมันจะหายไปเอง
ถ้าสติเรามีความละเอียดพอ
ก็แนะนำให้ฝึกตามที่พาฝึก
จะช่วยในการชำระสิ่งเหล่านี ้ออกไปได้
ทุกอย่างมีทางแก้เสมอ
บางทีมันก็มีองค์ประกอบต่าง ๆ
เป็นเรื่องของอจินไตย
คนเราไม่ได้ประกอบด้วยกายเน ื้อข้างนอก
มันมีกระแสอยู่ เป็นพลังงาน
กระแสจะบอกทุกอย่างว่า
สิ่งที่เราเผชิญอยู่ คืออะไร
สมัยนี้จะมีปัญหาต่างๆมาก
ไปหาหมอ ไปตรวจที่โรงพยาบาล
ก็แก้ไม่ได้ หาสาเหตุไม่พบ
เพราะว่า อาการเจ็บป่วย
อาการผิดปกติต่างๆ
ไม่ได้มีแค่เรื่องกายภาพเท่ านั้น
มันมีเรื่องกระแสข้างในด้วย
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ในชีวิตของเรา
มันไม่มีอะไรบังเอิญหรอก
รากเหง้าจริงๆก็คือ
วิบากกรรมที่เราต้องเสวย
เพราะฉะนั้น วิธีที่จะชำระล้างสิ่งเหล่า นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า. ..
เจริญสติปัฏฐานสี่ ชำระล้างบาป
และอกุศลกรรมจนหมดสิ้นไป
พอฝึกสติปัฏฐาน
จนเข้าถึงความบริสุทธิ์ของธ รรมชาติ
ม้นจะไปชำระล้างพลังงานมืด
หรือบาป และอกุศลธรรมจนหมดสิ้นไป
นี่คือวิธีการชำระล้างตนเอง ให้หมดจด
จนบริสุทธิ์ได้
ก็ให้ฝึกปฏิบัติไปเรื่อยๆ
ทุกปัญหา ทุกอย่างมีวิธีแก้อยู่เสมอ
โดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
พระวิปัสสนาจารย์
ยุคสมัยนี้เป็นยุคที่มรสุมถาโถมเข้ามา
ผู้คนจิตใจเร่าร้อน วุ่นวาย
อย่างปัจจุบันก็มีเรื่องของ ไวรัสเกิดขึ้น
ผู้คนตื่นตระหนก เกิดความกลัว
เกิดความทุกข์ทรมานจิตใจ
เราจะผ่านสิ่งเหล่านี้ไปได้ อย่างไร?
พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า...
“ เธอจงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย”
ฝึกสติปัฏฐาน จนมีจิตใจที่ตั้งมั่น เข้าถึงธรรมที่บริสุทธิ์
แล้วท่านทั้งหลายจะพบกับความร่มเย็น ความสงบสุข
ความมั่นคงจากข้างใน
ชีวิตคนเราไม่ต้องการอะไรมากมายเลย
แต่ที่มันกระเสือกกระสนทุรนทุราย
เพราะว่าความทะยานอยากมันชักนำไป
แต่เมื่อไรที่เราตื่นขึ้น มีจิตใจที่ตั้งมั่น
"มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง"
สลัดความทุกข์ทรมานทุกอย่างออก
ท่านจะพบกับชีวิตที่มีความร่มเย็นเป็นสุข และสงบเย็น
เราสร้างได้ด้วยตัวของเราเอง
ด้วยการเจริญสติปัฏฐานสี่
อะไรมันจะเกิดก็เกิด อะไรจะดับก็ดับ
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตไม่มีการบังเอิญหรอก
เป็นไปตามปัจจัยที่เกิดขึ้น
จิตที่ไม่ได้รับการฝึกฝน จะหวั่นไหว ทุรนทุราย เหตุการณ์ยังไม่เกิดขึ้นก็ตื่นตระหนก
เกิดความเครียด ความกดดัน เกิดความกลัว เกิดความเร่าร้อน
แต่ถ้าท่านทั้งหลายฝึกสติปัฏฐานสี่อยู่เนืองๆ
จนมีจิตใจที่ตั้งมั่น มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ท่านจะไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น
อะไรมันจะเกิดก็เกิด อะไรจะดับก็ดับ
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นไม่มีการบังเอิญ
ความตายยังไงมันเกิดขึ้นแน่ นอน
ต่อให้ไม่ตายจากไวรัส ถึงคราวที่จะต้องตาย ท่านนอนอยู่กับบ้านก็ต้องตาย
มันเกิดได้กับทุกคน ในทุกโอกาส ทุกเวลา
ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ ้าตรัสถามพระอานนท์ว่า...อานนท์เธอระลึกถึงความตายวันละกี่ครั้ง
พระอานนท์กราบทูลว่า... ระลึกถึงความตายวันละ 7 ครั้งพระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า. ..ตถาคตระลึกถึงความตายทุกล มหายใจเข้าออก
นี่พระพุทธเจ้านะโยม ท่านระลึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออกมันเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
มันไม่สำคัญว่าเรามีอายุเท่าไหร่ 20 ปี 40 ปี 60 ปี หรือ 80 ปี
มันสำคัญว่าเมื่อไหร่เราจะตื่นขึ้นต่างหาก
ตื่นขึ้นแล้วก้าวเดินในเส้นทางที่ถูกต้อง
จนหลุดพ้นจากกองทุกข์ ตายก่อนตาย
ดับความทุกข์ทรมานทั้งปวง
เข้าถึงธรรมที่บริสุทธิ์
อันนี้สำคัญกว่า ถ้าท่านดับเป็น ตายก่อนตาย สังขารมันจะเกิดก็เกิด จะดับก็ดับ
มันไม่ใช่สิ่งที่ท่านต้องกังวล
เพราะกิจที่แท้จริง คือ...
การตายก่อนตาย
เข้าถึงความสงบเย็นของธรรมชาติ
แล้วท่านทั้งหลายจะมีชีวิตที่ร่มเย็น
พบกับความสงบสุขที่แท้จริง คือ
....พระนิพพานได้
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร